พุทธประยุกตวิทยาว่าด้วยการจำแนกคนในชุมชน


ชุมชนคือกลุ่มครอบครัวหลายๆครอบครัวรวมกัน ในแต่ละครอบครัวก็มีหลายๆคนรวมกัน หากสลายความเป็นครอบครัวออก ไม่มีบ้าน ไม่มีที่พัก ไม่มีที่อยุ่อาศัย ส่วนชุมชนก็เหมือนกับสนามหญ้า ที่แต่ละคนกำลังดำเนินชีวิตของกันและกันอยู่ คนแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกันก็มี เหมือนกันก็มี ใกล้เคียงกันก็มี เราไม่สามารถพัฒนาคนทุกคนให้มีความคิดเหมือนกันได้ หากทำได้ นั้นคือความสำเร็จสูงสุดในการสร้างความสามัคคี อีกมุมมองหนึ่ง ถ้าทำได้ เราจะทำไปทำไม เพราะถ้าคนมีความคิดเหมือนกัน ใครเล่าจะเป็นผู้โต้แย้งให้เกิดความเห็นที่แตกต่าง เพื่อแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดนั้น

แต่ละชุมชน เมื่อถอดปลอกความเป็นครอบครัวออก นำคนเหล่านั้นมารวมกันบนสนามหญ้า โดยให้แต่ละคนทำอะไรก็ได้ตามที่ตนปรารถนา เราพอจะจัดคนในชุมชนออกเป็น ๖ กลุ่มใหญ่จากฐานความคิดทางพุทธศาสนา คือ

  กลุ่มที่ ๑ กลุ่มคนผู้มุ่งแต่จะแสวงหาสิ่งต่างๆ มาบำเรอชีวิตให้สุขสบาย แยกออกเป็น ๑) แสวงหาสิ่งต่างๆ มาบำเรอชีวิตส่วนตัวเพียงอย่างเดียว ๒) แสวงหาสิ่งต่างๆ มาบำเรอชีวิตบุคคลอื่น (สังคม) เท่านั้น ๓) แสวงหาสิ่งต่างมาบำเรอชีวิตทั้งส่วนตนและส่วนบุคคลอื่น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รับทุกอย่างให้ชื่อว่า กลุ่มโลภะมูล

  กลุ่มที่ ๒ กลุ่มคนผู้ไม่เคยพึงพอใจกับการกระทำของใครอื่น คอยแต่บ่อนทำลายนโยบาย หรือตั้งแก๊ง ตั้งกลุ่มอิทธิพลคอยกีดกันสิ่งต่างๆที่ผู้อื่นคิดก็ดีกระทำลงไปก็ดี กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่รับอะไรทั้งสิ้นให้ชื่อว่า กลุ่มโทสะมูล

  กลุ่มที่ ๓ กลุ่มคนผู้ถูกชักชวนไปข้างใดข้างหนึ่งแล้วจะตัดสินใจจมลึกในข้างนั้น โดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องเหตุผลใดๆ ในด้านการพัฒนา แม้ฝ่ายหนึ่งจะพัฒนาไปดีอย่างไร หากอยู่ตรงกันข้ามก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนพัฒนานั้นดีกว่า รวดเร็วกว่า เป็นต้น

  กลุ่มที่ ๔ กลุ่มผู้มีความคิดฟุ้งซ่าน กระวนกระวายใจ เหมือนกระต่ายตื่นตูม ในคราวที่มีอะไรใหม่ๆ เข้ามา หรือในคราวที่ตนต้องได้รับผิดชอบอะไรบางอย่าง ให้ชื่อว่า กลุ่มวิตักกมูล

  กลุ่มที่ ๕ กลุ่มผู้มีความเชื่อมั่นในทุกเรื่อง ทุกนโยบาย ทุกความคิด แต่ไม่ค่อยจะได้พิจารณาอะไรอย่างมีเหตุมีผล ให้ชื่อว่า กลุ่ม

  กลุ่มที ๖ กลุ่มผู้มีความคิด ความสามารถ ความยุติธรรม มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างดี แต่ในคราวที่ต้องตัดสินใจอะไรขึ้นมาต้องใช้เวลาจำนวนมากเพื่อการใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ให้ชื่อว่า กลุ่มพุทธมูล

  การที่จะทำให้คนทั้ง ๖ ผนึกเป็นหนึ่งเดียว ในความเป็นมนุษย์ผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่ให้ทุกคนอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทั้งหมด หากแต่ต้องหาจุดร่วมหรือความเป็นกลางของทุกกลุ่มอย่างเสมอเหมือนกัน เพราะทุกกลุ่มมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกัน และการหาจุดร่วมที่ดีก็ขึ้นอยู่กับความเป็นไปของชุมชนนั้นๆด้วย อย่างบางชุมชน ไม่ต้องการคนเก่งเกิน เพราะฐานความรู้ของชุมชนโดยรวมไม่ใช่คนเก่งความรู้ บางชุมชนต้องการคนเฉลียวฉลาด ล้ำลึกที่สุด เพราะฐานความรู้ของชุมชนมีความฉลาดล้ำลึกเป็นเลิศ

  นอกจากนั้น การจัดการชุมชนยังอาจแบ่งคนในชุมชนออกไปเป็น ๔ จำพวกคือ

  ๑)  ประเภทบัวพ้นน้ำ ชุมชนนี้พาตัวเองไปรอด หากแต่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะบรรลุเป้าหมายหลักกลาง

  ๒)  ประเภทบัวปริ่มน้ำ ชุมชนนี้ต้องการพัฒนา ปรับปรุง อีกสักระยะหนึ่ง ก็จะกลายเป็นชุมชนที่พึงประสงค์

  ๓)  ประเภทบัวใต้น้ำ ชุมชนนี้ยังต้องพัฒนาอีกมาก เมื่อประเมินแล้วมีความเป็นไปได้กับการสัมผัสเป้าหมายกลาง แต่ก็ไม่แน่นอน หากชุมชนนั้นไม่ยอมพัฒนาตนเอง เพราะว่าการหยุดนิ่งอยู่กับที่ก็คือการไม่เติบโต

  ๔)  ประเภทบัวใต้โคลนตม ชุมชนนี้มีอยู่ ๒ ประเภทคือ ก) เป็นชุมชนล้มเหลว ไร้ความสามารถ ไร้ศักยภาพในการพัฒนา ถึงพัฒนาก็มีอันแต่เหนื่อยเปล่า สิ้นเปลืองในสิ่งที่ไม่ควรสิ้นเปลือง ข) ชุมชนที่คิดว่าตนเองเก่งแล้ว โดยไม่ยอมรับความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพใดๆ ของตน หลงอยู่ในความเก่งของตนโดยมิได้มองความจริงในปรากฎการณ์ทางสังคมที่มีอันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ คิดว่าสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ดีที่สุดแล้ว ชุมชนดังกล่าวนี้ คงต้องปล่อยไปตามเวรตามกรรมจนกว่าเขาจะเกิดความสำนึกรู้ด้วยตนเองเพื่อจะโผล่ออกมาจากโคลนตม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8987เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2005 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท