นิราศ


ความหมาย และลักษณะบังคับของกลอนนิราศ

นิราศ                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕  ให้ความหมายของนิราศไว้ว่า  ก.  ไปจากระเหระหน  ปราศจาก  น.  เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือการที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น  มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง  เช่น  นิราศนรินทร์  นิราศเมืองแกลง           สันนิษฐานกันว่าการแต่งนิราศนั้นเนื่องจากในสมัยก่อนการเดินทางต้องใช้เวลานาน  ดังนั้นเมื่อกวีต้องเดินทางผ่านสถานที่ต่าง ๆ จึงคิดแต่งขึ้น  ทั้งคร่ำครวญถึงนางที่รักเมื่อได้เห็นสิ่งต่าง ๆ สำหรับการตั้งชื่อนิราศนั้น  มีดังนี้

๑.       ตั้งตามชื่อผู้แต่ง  เช่น  นิราศนรินทร์

๒.     ตั้งตามเนื้อเรื่อง  เช่น  ทวาทศมาส

๓.     ตั้งตามสถานที่ปลายทางที่ผู้แต่งไป  เช่น  นิราศพระบาทในระยะแรกนิยมแต่งนิราศเป็นโคลง  ต่อมาจึงนิยมแต่งเป็นกลอน  นิราศที่แต่งเป็นโคลง  เช่น  กำสรวลศรีปราชญ์  ทวาทศมาส  นิราศที่แต่งเป็นกลอน  เช่น  นิราศภูเขาทอง  นิราศลอนดอน  สำหรับนิราศพระบาทนั้นแต่งเป็นกลอน  ขึ้นต้นด้วยวรรครับ  ลงท้ายด้วยคำว่า  เอย  มีลักษณะสัมผัส  ดังนี้        

                                                

                                                                                                 

           กลอน   บท  มี   วรรค   วรรค  มี    พยางค์ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่   สัมผัสกับพยางค์ที่   หรือ   ของวรรคที่ ๒  พยางค์สุดท้ายของวรรคที่   สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่    พยางค์สุดท้ายของวรรคที่   สัมผัสกับพยางค์ที่   หรือ   ของวรรคที่   พยางค์สุดท้ายของวรรคที่   สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่   ในบทต่อไป สัมผัส               

 สัมผัส  คือ  ลักษณะบังคับที่ให้ใช้คำคล้องจองกัน  ร้อยกรองทุกประเภทจะบังคับสัมผัสเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของร้อยกรอง  ลักษณะสัมผัสมีดังนี้๑.       สัมผัสนอก  คือ  สัมผัสบังคับตามลักษณะฉันทลักษณ์ของร้อยกรองแต่ละประเภท  สัมผัสนอกนี้จะเป็นสัมผัสสระ

๒.     สัมผัสใน  คือ   สัมผัสที่ไม่ได้บังคับ  แต่ถ้ามีก็จะทำให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น  สัมผัสในนี้เป็นสัมผัสภายในวรรค อาจเป็นสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรก็ได้ ๓.     สัมผัสสระ  คือ  คำที่มีสระเสียงเดียวกัน  เช่นกิน  สัมผัสกับ  บิน  ดิน  หิน  รินขา  สัมผัสกับ  กา  มา  ตา  ยาทาน  สัมผัสกับ  การ  นาน  ปาน  ยานเดียว  สัมผัสกับ  เขียว  เรียว  เสียว  เชียวชอบ  สัมผัสกับ  กอบ  ตอบ  สอบ ลอบ๔.    

 สัมผัสอักษร  คือ  คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน  เช่นกิ่ง  สัมผัสกับ  แก้ว  กาง  เกด  การน้อง  สัมผัสกับ  นาง   นิ่ง  นอน  แนบราก  สัมผัสกับ  รัก  รอย  รูป  รวนเรโดด  สัมผัสกับ  เดียว  ดื่ม  ดาบ  ดึกปูน  สัมผัสกับ  ป่า  ปิ้ง  ปาด  ปวด          

คำสำคัญ (Tags): #นิราศ
หมายเลขบันทึก: 89181เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท