หอสมุดรัฐสภาอเมริกันขอเอกสารจาก สคส.


หอสมุดรัฐสภาอเมริกันขอเอกสารจาก สคส.

         สคส. ได้รับจดหมายจาก Library of Congress Office (ซึ่งอยู่ในสถานทูตอเมริกันที่ถนนวิทยุ) ลงวันที่ 14 พ.ย.48   ลงนามโดยคุณสุนันทา  เมืองนิล  ผู้แทนหอสมุดรัฐสภาอเมริกันประจำประเทศไทย   แจ้งว่าหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน  สำนักงานใหญ่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี มีความสนใจในการรวบรวมข้อมูล  ข่าวสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีคุณค่าจากเมืองไทย   ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ   โดยมอบหมายให้ผู้แทนหอสมุดฯ ประจำประเทศไทยเป็นผู้จัดหาและรวบรวมภายในประเทศ

สำนักงานหอสมุดฯ ได้ขอเอกสารต่อไปนี้จำนวนอย่างละ 1 เล่ม
     1. ประชาคมน่านกับการจัดการความรู้   โดยชาตรี  เจริญศิริ
     2. จดหมายข่าวราย 2 เดือน  ถักทอสายใยแห่งความรู้

ซึ่ง สคส. ได้จัดส่งให้แล้ว   โดยได้แถมเอกสารอีก 3 เล่ม
     (1) 1 ปี สคส. จัดการความรู้สู่สังคมแห่งปัญญา
     (2) พลังเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้   รายงานประจำปี 2547  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
     (3) รายงานประจำปี KM ประเทศไทย (สคส.) 2548

         นอกจากนั้นยังได้แจ้งด้วยว่า   ยังมีเอกสารที่ สคส. จัดพิมพ์เผยแพร่ที่อาจหาซื้อได้ทั่วไป   โดยเฉพาะที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ  โดยอาจดูรายการได้ที่ www.kmi.or.th

วิจารณ์  พานิช
 29 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 8910เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2005 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เมื่อได้ทราบข่าวว่าหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Office) ได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกิจการของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)ของเรา ผมรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ประเทศไทยได้รับเกียรติในระดับโลก
โดยเฉพาะผู้คนจากทั่วโลกที่ได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งนี้จะได้มีเอกสารข้อมูลด้านการจัดการความรู้ของไทยไว้อ้างอิงโดยตรง

ผมต้องขออภัยที่บังอาจใช้คำว่า สคส. "ของเรา" เพราะมีความรู้สึกเช่นนั้นจริงๆว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของ สคส. ซึ่งผมได้รับประสบการณ์ ความรู้ด้านการจัดการความรู้จากท่านผู้รู้หลายท่านโดยเฉพาะท่านศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ,ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด พร้อมทั้งคณะและได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของคุณหมอวิจารณ์ พานิช เรียบร้อยแล้ว 

ผมคิดว่าการได้รับเกียรติจากหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทำให้มีมุมมองอย่างน้อย 2 ประการ คือ
- ประการแรก สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) คงจะทำงานหนักขึ้น สร้างสรรค์ผลงานมากขึ้น สร้างเครือข่าย/โครงข่ายการจัดการความรู้ให้มากขึ้น เพราะจะได้มีเอกสารผลงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น
-ประการที่สอง ในฐานะที่เป็นคนไทยผมคิดว่ายังมีคนไทยอีกหลายคน หลายหน่วยงาน หลายองค์กร ที่ยังไม่มีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร หรือได้อ่านหนังสือดีๆของ สคส. โดยส่วนตัวผมเองได้พยายามช่วยเผยแพร่ไปยังเพื่อนฝูง ผู้ร่วมงาน และลูกศิษย์ลูกหาในโรงเรียน  วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย แต่ยังไม่ทั่วถึง  เป็นไปได้หรือไม่ที่มวลสมาชิกเครือข่ายของ สคส.จะได้ช่วยกันบอกกล่าว ส่งต่อข้อมูลเผยแพร่ผลงานของ สคส.ไปยังลูกข่ายของท่าน  ผมเชื่อมั่นว่าจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่วงการ "การจัดการความรู้" ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศไทยให้สอดรับกับยุคเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ต่อไป

แจกอยู่ครับ เอกสารที่ สคส มอบให้ผมก็แจก ห้องสมุดโรงเรียน เคยเอาไปให้ สพบ. ส่วนเอกสาร Articles ส่วนตัวที่ี่ผมหาไว้ บางอย่างผมก็ทยอยๆแจก แต่ก็ไม่ได้แจกแหลกครับ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ให้ไปแบบที่เค้าถามหาหละครับ คุณปฐมพงศ์ สนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษก็ลองถามดูอาจจะมี

ป.ล. ท่าน อ. วิจารณ์ คงได้รับของแพง (draft คู่มือฯ KM) แล้วนะครับ

แจกอยู่ครับ เอกสารที่ สคส มอบให้ผมก็แจก ห้องสมุดโรงเรียน เคยเอาไปให้ สพบ. ส่วนเอกสาร Articles ส่วนตัวที่ี่ผมหาไว้ บางอย่างผมก็ทยอยๆแจก แต่ก็ไม่ได้แจกแหลกครับ ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ให้ไปแบบที่เค้าถามหาหละครับ คุณปฐมพงศ์ สนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษก็ลองถามดูอาจจะมี

ป.ล. ท่าน อ. วิจารณ์ คงได้รับของแพง (draft คู่มือฯ KM) แล้วนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท