โครงการวิทยาศาสตร์


หลักการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

 สายเลือดญี่ปุ่น

                สิงห์ กับ แสง   เดินทางไปโรงเรียนด้วยกันทุกวัน  ระหว่างเดินทางก็จะคุยกันไปตาม           ประสาเพื่อน                    สิงห์        :      เธอรู้มั๊ย  ว่าฉันมีสายเลือดญี่ปุ่น……เชียวนะเธอ                   แสง        :       ก็พ่อก็เป็นคนไทย  แม่ก็เป็นคนไทย   แล้วเธอจะมีสายเลือดญี่ปุ่น                                           ได้อย่างไร  ……เอาอะไรมาพูด                    สิงห์       :       ได้ซิ !  ก็ตอนที่เราไปเที่ยวญี่ปุ่น  เราเกิดอุบัติเหตุอาการสาหัส                                   เสียเลือดมาก หมอเลยเอาเลือดของชาวญี่ปุ่นมาให้ฉันนะซี                 แสง       :      ………….?                                   

โครงการมาสนุกกับวิทยาศาสตร์

      โดย นายวิบูลย์  จงใจสุรธรรม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์   โรงเรียนอู่ทอง  สพฐ. สพ. 2                                                                  3  เมษายน   2550   1.      หลักการและเหตุผล             ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากขึ้นทุกขณะ    เพราะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำความเจริญ   ความสะดวกสบายและการดำรงชีวิต

แก่มนุษย์ มนุษย์จึงพยายามค้นคว้าพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง      จึงมีผลทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว     และมนุษย์เองก็ต้องติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการให้ทัน พร้อมทั้งปรับตัวและยอมรับความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย   การที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบสิ่งใหม่ ๆ  ได้นั้นต้องกระทำอย่างมีระบบระเบียบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   

ดังนั้นการพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะกระบวนการทางวิทาศาสตร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง   เพื่อเยาวชนจะได้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการเสาะแสวงหาความรู้   การแก้ปัญหาอย่างมีหลักการ   เพื่อคิดประดิษฐ์สิ่งของใหม่ ๆ  ให้มีคุณภาพดีกว่าเดิมอยู่เสมอ             โครงการมาสนุกกับวิทยาศาสตร์เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ   รวมทั้งให้เกิดเจตนคติทางวิทยาศาสตร์    ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไปอย่างมีระบบระเบียบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์    2.      วัตถุประสงค์2.1      เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ2.2      เพื่อให้นักเรียนรู้จักเป็นนักคิด  นักประดิษฐ์  ค้นคว้า    ทดลอง  ด้วยตนเอง2.3      เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน2.4      เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์3.      เป้าหมาย            ได้ผลงานของนักเรียนที่ชนะการประกวดโดยแบ่งเป็นกลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 3กลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่  4 – 6  และกลุ่มระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3  กลุ่มละ 3 รางวัล4.      ระยะเวลา              เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่  10 กันยายน  2550  ถึงวันที่  28  กันยายน 2550  เล่านิทานสัปดาห์ละ  2 วัน คือ วันจันทร์และวันพุธ  ระหว่างเวลา  12.00 – 13.00 .5.      สถานที่             ห้องโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน   หรือห้องสมุดโรงเรียน  6.      ผู้รับผิดชอบโครงการ           ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์              ครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน    7.      ขั้นตอนการดำเนินงาน7.1      เสนอขออนุมัติโครงการ7.2      ขอความร่วมมือจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อเป็นกรรมการตัดสิน   และขอความคิดเห็นในการดำเนินงาน7.3      ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทุกระดับทุกคนทราบเพื่อส่งผลงานเข้าประกวด7.4      จัดโครงการมาสนุกกับวิทยาศาสตร์  โดยมีรายละเอียดดังนี้7.4.1   บรรณรักษ์คัดเลือกหนังสือนิทาน    และหนังสือที่จะส่งเสริมให้เด็กเป็น              นักคิด  นักทดลอง   และนักประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ  เช่น  รถไม้ของขวัญ   กระดาษเจาะรุ   ซำเหมารัก   วิทยาศาสตร์   หนังสือชุดทดลอง  คิด   ประดิษฐ์สนุก  ฯลฯ   นำหนังสือเหล่านี้จัดนิทรรศการ    พร้อมของตัวอย่างเพื่อให้เด็กสนใจ7.4.2        จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนฟังนิทานและส่งผลงานเข้าประกวด  เพื่อชิงรางวัล  โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม  คือ   กลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 3  กลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่  4 – 6    และกลุ่มระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3  7.4.3        จัดเตรียมแผ่นซีดี      เกี่ยวกับการทดลองหรือประดิษฐ์สิ่งของทางด้าน  วิทยาศาสตร์เพื่อฉายให้นักเรียนดู                          7.4.4     นำหนังสือบางเล่มที่จัดนิทรรศการเล่าให้เด็กฟัง   และแนะนำหนังสือ    เล่มอื่น ๆ  ด้วย  เพื่อส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือ  และเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์        7.5            ประกาศผลและมอบรางวัล7.6            ประเมิลผล   สรุป  และรายงานผล  8.   งบประมาณ              ได้จากเงินบำรุงการศึกษา   หรือเงินอื่น ๆ  ประมาณ  3,000  บาท  ใช้เป็นค่ารางวัลและ    การประชาสัมพันธ์   โดยกำหนดรางวัลดังนี้                        -   กลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่ 1–3  รางวัลที่ 1  500  บาท                                                                            รางวัลที่ 2  300  บาท                                                                            รางวัลที่ 3  100  บาท                               -   กลุ่มระดับประถมศึกษาปีที่ 4–6  รางวัลที่1   500  บาท

                                                                            รางวัลที่ 2  300  บาท

                                                                            รางวัลที่ 3  100  บาท                        -   กลุ่มระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3   รางวัลที่ 1    500   บาท                                                                              รางวัลที่ 2    300   บาท                                                                              รางวัลที่ 3    100   บาท                       -    การประชาสัมพันธ์        300   บาท9.      ผลที่คาดว่าจะได้รับ             9.1   นักเรียนรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ  อย่างมีระบบระเบียบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์9.2      นักเรียนสามารถคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง9.3      นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน9.4      นักเรียนเห็นคุณค่าผลงานทางวิทยาศาสตร์9.5      นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  10.  การประเมินผล 10.1    สังเกตจากจำนวนนักเรียนที่ชมนิทรรสการ  ซีดี  และฟังการเล่านิทาน10.2    สังเกตผลงานนักเรียนที่ส่งเข้าประกวด10.3    สังเกตความสนใจของนักเรียนในการอ่านหนังสือที่นำมาจัดนิทรรศการ                     
หมายเลขบันทึก: 88477เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณครูคะ

   การเขียน blog ถ้าคุณครูคิดว่าเป็นงานที่ต้องใช้เวลา   คุณครูอาจจะใช้วิธีเขียนทั้งหมดไว้ แล้วนำลง

ที่ละตอน  เหมือนเป็นเรื่องสั้น เช่นข้อเขียนนี้อาจจะแยกได้เป็น 3 ตอน  เพิ่มหัวเรื่อง

และขมวดท้ายไว้ให้อยากติดตาม

   ไม่แน่นะคะ  คุณครูอาจจะพบว่าตนเองกลายเป็นนักเขียนจนได้   ศน.ประวีณา ยังเก่งขึ้นอย่างมห้ศจรรย์เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท