ระดมความคิดเห็น


วิธีการป้องกัน
ท่านใดมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการเกิดโรคระบาดในสัตว์น้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8809เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2005 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
รังสิมันตุ์ สุวรรณจ่าง

ถ้ามีอะไรดี ๆ  ดีกว่าเรื่องประมง   เช่น  เรื่องน้องปลา   จะรีบส่งให้ท่านทันที    ด้วยความเคารพ

กิตติพงศ์ ประที่ป ณ ถลาง

ถึงพี่แสงคนดี อยากรู้อะไร โหลดได้จากแอบดูเชียงใหม่

ถ้าอยากทราบว่าการส่งออกนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง  และสถานที่ติดต่ออยู่ที่ไหน  ท่านช่วยชี้แนะด้วยนะคะ   ขอบคุณมากคะคุณชายเล็ก  ของพจมาร  แสงสว่าง

   ของชื้อลิขสิทธ  พ่อเลี้ยงเชี่ยงใหม่
รังสิมันตุ์ สุวรรณจ่าง
“Aggrevating the Soil" A Royal Theory During the royal visit to the people in Narathiwat Province in 1981, His Majesty the King observed that after the swamp lands had been drained to expand agriculturally productive areas and to reduce flooding problem, the soil had grown strongly acidic and that crops planted by the farmers had failed. His Majesty then called on all government agencies to search together for ways in which to improve these swamp lands of perennially stagnating water for maximum use in agriculture, bearing firmly in mind the impacts of such improvements on the ecology. The strong acidity was due to the fact that the swamp soil was composed of a 1-2 metre layer of organic matter or decomposed plant residue underlain by bluish grey mud with high content of pyrite (FeS2). When the soil dries, pyrite releases sulphuric acid as it oxidizes. The Pikun Thong Royal Development Study Centre was put in charge of the Project which His Majesty named Klaeng Din. The Project studied the naturally-occurring process of acidification of the sulphur-bearing peat soil. The activities consisted of the alternate drying and flooding of the soil to accelerate the reaction of pyrite, to the point where the soil becomes extremely acidic and crops cannot be grown productively. The next step was to search for counter-measures. The methods of solving the strongly acidic soil problem based on His Majesty's idea are as follows: 1. Solution by controlling the ground-water level. To prevent the release of sulphuric acid by the soil, the ground water must be kept above the layer of mud to prevent the pyrite from oxidizing. 2. Soil improvement according to His Majesty's "Klaeng Din" Idea. There are 3 methods to be chosen according to the conditions of the soil: 2.1 Using water to remove soil acidity. Besides reducing cidity and increasing the soil pH, flooding the soil also dilutes the toxic iron and aluminum solutions. Additional applications of nitrogenous and phosphatic fertilizers will make the crops productive. 2.2 De-acidifying soil by using lime mixed with topsoil such as marl and lime dust. The amount of lime used depends on the degree of soil acidity. 2.3 Using lime in combination with soil flooding and control of ground-water level. This comprehensive method yields the best results for very strongly acidic soil that has lain idle for a long time. 3. Adjusting the lie of the land. There are two principal methods to do this. 3.1 Adjusting the soil surface by: - Making it slope sufficiently for the area to be drained. - Reshaping or rearranging the paddy field or its boundary ridges and bunds in such a way that water can be stored and/or drained at will. 3.2 Cultivating crops on raised beds. This method can be used for cultivating field crops, vegetables, fruit or other tree crops that generate a high cash return. However, to be sure of obtaining a good return on crops grown on raised beds, irrigation water is needed for filling and refilling the ditches with fresh water to reduce acidity. Cultivating crops on raised beds should take into consideration the flooding in the area. If the danger of flooding is too great, planting tree crops should not be risked on raised beds or the height of the beds should be reduced and the tree crops replaced by annual or vegetable crops, grown in rotation with rice. Improving strongly acid soil for agricultural use 1. Rice Cultivation In Irrigated Areas - Soil with pH under 4.0, apply 1.5 tons of lime per rai - Soil with pH from 4.0 to 4.5, apply 1 ton of lime per rai In Rainfed Areas - Soil with pH under 4.0, apply 2.5 tons of lime per rai - Soil with pH from 4.0 to 4.5, apply 1.5 ton of lime per rai Procedure After applying lime, turn the soil over. Then cover with water for 10 days. Drain water to remove toxic substances and re-flood prior to transplanting. 2. Cultivation of Annual Crops 2.1 Vegetables 1) Raise beds, 6-7 metres across, with 1.5 metre-wide drainage ditches that are 50 centimetres deep. 2) Turn the soil over and leave to dry for 3-5 days. 3) Make ridges, each 1-2 metres wide and 25-30 centimetres high, on the raised beds to facilitate drainage and prevent the beds from being slushy when watering or raining. 4) Apply liming material to reduce soil acidity. Use 2-3 tons of lime dust or marl per rai. Mix with the soil and let stand for 15 days. 5) Apply 5 tons of compost or organic fertilizer per rai, one day before sowing. This makes the soil more friable and improves its structure. 2.2 Selected Field Crops. These can be grown in two ways: - Growing field crops on raised beds involves one single cropping and preperation of the land according to the method discussed above for vegetables. - Growing field crops as a second crop after the rice-growing season follows much the same method as used for field crops in general. However, it may be necessary to raise the beds about 10-20 centimetres higher than those on higher ground in order to prevent any unseasonal rain water being retained in the area. If lime has already been applied, probably no more needs to be added. 3. Cultivation of Fruit Trees 3.1 Build a big earthen embankment around the entire area to be cultivated to prevent rainy season flooding and install a pump to provide a drainage when needed. 3.2 Raise beds for cultivation as described earlier for strongly acidic soil. 3.3 As the water in the drainage ditches will be acidic, pump in fresh water when acidity becomes strong, approximately every 3-4 months. 3.4 Keep the water in the drainage ditches above the level of the pyrite-bearing mud and thus prevent the oxidation process from increasing acidity in the soil. 3.5 Scatter 1-2 tons per rai of lime, either calcium oxide, marl or lime dust, over the entire area to be cultivated. 3.6 Use the spacing appropriate for the crop to be cultivated. 3.7 Dig holes 50-100 centimetres deep and 50-100 centimetres wide where each tree will be planted. Keep the excavated topsoil and subsoil separated, and expose them to sunlight for 1-2 months to kill germs in the soil. Mix the topsoil with compost or manure and also with some subsoil, and re-fill the hole with the mixture. For this purpose, use 1 kilogramme of compost per ton of soil, mixing it well with 15 kilogrammes of lime per hole. 3.8 Control weeds, diseases, insect pests, and water the plants in the usual manner. Fertilizer use depends on the requirements and type of tree grown. ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุ เพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้ ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือ 1. ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้ 2. การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน 3. การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการ ที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือ การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ • ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ • ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้ • การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้ วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร 1. เพื่อใช้ปลูกข้าวเขตชลประทาน • ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ • ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่ เขตเกษตรน้ำฝน • ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่ • ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว หลังจากหว่านปูนให้ทำการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดำ 2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุก การปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือ ยกร่อง กว้าง 6-7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม. • ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน • ทำแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25-30 ซม. กว้าง 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะเมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก • ใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2-3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วัน • ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดิน การปลูกพืชไร่บางชนิด กระทำได้ 2 วิธี คือ แบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทำนา การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่เช่นเดียวกับการปลูกพืชผัก การปลูกพืชไร่หลังฤดูทำนา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดอน 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการปรับปรุง โดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก 3. เพื่อปลูกไม้ผล 1. สร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ 2. ยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล 3. น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัด และสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3-4 เดือนต่อครั้ง 4. ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลน ที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น 5. ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ 6. กำหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช 7. ขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50-100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./หลุม 8. ดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก

สวัสดีพี่แสงอยูใก้ลสาวๆอบอุ่นดีนะครับ

พี่แสงที่น่ารักของน้องๆเสมอ  ดีใจกับพี่มากที่มีคนตอบกะทู้เยอะแยะไปหมด  หากผมมีข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่พี่กำลังสนใจทำวิทยานิพนธ์อยู่ผมจะส่งให้พี่แสงทันทีนะครับ

นับถือพี่แสงมาก........

พรมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท