สัญญายืมใช้คงรูป1


ยืมใช้คงรูป1

สัญญายืมใช้คงรูป               

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๖๔๐ได้นิยามการยืมใช้คงรูปไว้ว่าคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ได้ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๑ ได้บัญญัติต่อไปว่าการให้ยืมใช้คงรูปนั้นบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม[1] 

หลักเกณฑ์ของการยืมใช้คงรูป ( มาตรา ๖๔๐ และ ๖๔๑ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ) 

๑. เป็นสัญญา คือเกิดจากการตกลงกันของบุคคลสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ให้ยืม และอีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ยืม

๒. ผู้ให้ยืมตกลงยินยอมให้ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า คือ ผู้ให้ยืมจะไม่เรียกค่าตอบแทนอันเกิดจากการได้ใช้ทรัพย์ที่ยืมจากผู้ยืมแต่อย่างใด หากมีการเรียกค่าตอบแทนจากการใช้สอยย่อมจะกลายเป็นสัญญาอื่น เช่น สัญญาเช่า จากหลักเกณฑ์นี้ทำให้เห็นได้ว่าผู้ให้ยืมย่อมจะไว้วางใจว่าผู้ยืมจะไม่ทำให้ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย

๓. ผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว โดยผู้ยืมต้องตกลงที่จะคืนทรัพย์สินอันเดียวกับที่ยืมเป็นสำคัญ ดังนี้หากเป็นอสังกมทรัพย์คือเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจจะนำเอาทรัพย์อื่นที่เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันมาทดแทนได้ย่อมเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป

๔. ผู้ให้ยืมต้องส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมแก่ผู้ยืม อันเป็นการทำให้การยืมใช้คงรูปมีความบริบูรณ์ อันมีผลเป็นการก่อให้เกิดหนี้ที่สำคัญแก่ฝ่ายผู้ยืม คือจะต้องคืนทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว 

ลักษณะเฉพาะแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 

๑.เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน  กล่าวคือ เป็นการให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า  ถ้ามีการชำระสิ่งตอบแทนก็ไม่เรียกสัญญายืม การได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมจะต้องไม่เสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด และด้วยเหตุนี้ทำให้สัญญายืมใช้คงรูปจึงเป็นสัญญาที่ถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญา กล่าวโดยเฉพาะคือ ผู้ให้ยืมต้องมีความมั่นใจในตัวผู้ยืมว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การไว้วางใจต่อการใช้สอยทรัพย์ที่ยืมนั้น และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ยืมเป็นการเฉพาะ ซึ่งหลักนี้ปรากฏอยู่ในมาตรา ๖๔๓,๖๔๘ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งผลแห่งการทำให้สิทธิในการใช้สอยทรัพย์ที่ยืมนั้นไม่ตกทอดไปสู่ทายาท

๒. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญา การส่งมอบทรัพย์ที่ยืมนั้นเป็นเพียงการส่งมอบการครอบครองเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับผู้เป็นเจ้าของซึ่งโดยปกติย่อมได้แก่ผู้ให้ยืม ผู้ยืมจึงมิอาจใช้สอยทรัพย์ที่ยืมเหมือนอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่จะอยู่ในฐานะผู้ครอบครองสามารถใช้สอยทรัพย์สินได้ทันที และมีสิทธิใช้สอยตามสัญญาเท่านั้น เมื่อการยืมไม่ใช่สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ได้               

ผลแห่งการเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ คือ               

๑.คู่สัญญาฝ่ายผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยืมก็ได้ สัญญายืมก็สมบูรณ์บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา กล่าวคือ หากถึงกำหนดเวลาคืนแล้วผู้ยืมไม่คืน ผู้ให้ยืมก็สามารถบังคับให้คืนได้ แม้ว่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยืมก็ตาม อย่างไรก็ตามในกรณีที่เองทรัพย์ไม่ยินยอม เจ้าของก็สามารถติดตามเอาทรัพย์คืนได้ และในกรณีนี้ผู้ยืมก็ไม่อาจเรียกร้องให้ผู้ให้ยืมรับผิดได้ เพราะสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ซึ่งก่อหนี้แก่ฝ่ายผู้ยืมเพียงฝ่ายเดียว                

คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๕/๓๘๐๙                จำเลยยืมรถยนต์ของโจทก์ไปตามโคที่หาย โดยเอานายต๊ะไปขับรถ เพราะคนขับรถของโจทก์ไม่อยู่ ขณะที่รถแล่นไปตามถนนมิตรภาพตามปกติทางด้านซ้าย ด้วยความเร็วสูง ๓๐ - ๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็มีรถโดยสารชนข้างท้าย รถโจทก์พลิกคว่ำตกข้างทาง เหตุที่เกิดขึ้นเพราะคนขับรถโดยสารซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่เกิดเพราะความผิดของจำเลย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถ การยืมใช้คงรูปนั้นผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ในสภาพเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๐ ก็จริง แต่นั่นเป็นบทบัญญัติทั่วไป ในเรื่องที่เป็นไปตามปกติ ยิ่งกว่านั้นยังได้มีบทบัญญัติไว้อีกว่า หากผู้ยืมนำไปใช้การอย่างอื่นผิดปกติ หรือให้คนภายนอกใช้ ผู้ยืมต้องรับผิดในอันตรายเสียหาย แม้ในเหตุสุดวิสัยตาม มาตรา ๖๔๓ และได้บัญญัติหน้าที่ของผู้ยืมไว้ตามมาตรา๖๔๔ว่า ผู้ยืมมีหน้าที่สงวนทรัพย์สิน เช่น วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน หากกระทำเช่นนี้แล้วเกิดอันตรายเสียหายขึ้น ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องการชำระหนี้อันเป็นหลักทั่วไปมาวินิจฉัย โดยเหตุนี้เมื่อปรากฏว่า จำเลยผู้ยืมมิได้มีส่วนในการกระทำให้เกิดอันตรายเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ จำเลยใช้ตามปกติดังวิญญูชนพึงกระทำแล้ว จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๑๙                  

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๕๑ /๒๕๒๕                โจทก์ในคดีนี้ไม่ได้เป็นเจ้าของรถที่ถูกชน เพราะโจทก์เป็นแต่เพียงผู้ยืมเท่านั้น ในการยืมใช้คงรูปนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๓ ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อ ผู้ให้ยืมเฉพาะแต่ในกรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติ แก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวเลย และการที่รถที่โจทก์ ขับได้รับความเสียหาย ก็มิใช่เป็นเพราะความผิดของโจทก์หากแต่เป็นความผิดของบุคคลภายนอก ฉะนั้นโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ และแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อม รถคันที่โจทก์ยืมมาไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้

๒.ในกรณีที่ทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือบุบสลายอันเป็นผลมาจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้ยืมจะไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าวได้ในนามของตนเองเลย เพราะผู้ยืมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์แต่อย่างใด               

๓.ถ้าเกิดความวินาศแห่งทรัพย์ที่ยืม โดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมย่อมหลุดพ้นความรับผิดอย่างสิ้นเชิง ตามหลักความวินาศแห่งทรัพย์ย่อมตกแก่ผู้เป็นเจ้าของ ( ตกเป็นพับแก่ผู้ให้ยืม) (Res Perit Domino               

.ดอกผลของทรัพย์สินที่ให้ยืมเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ เช่นนาย ก เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในช้างเชือกหนึ่ง นาย ข ยืมช้างเชือกนั้นจากนาย ก ระหว่างที่ช้างเชือกนั้นอยู่กับนาย ข ช้างตกลูกมา ๑ เชือก ดังนี้ลูกช้างตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่นาย ก               

๓. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป จากถ้อยคำในมาตรา ๖๔๐ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ใช้คำอันเกี่ยวกับวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปว่า ทรัพย์สิน ทำให้เกิดปัญหาตามมาว่า อสังหาริมทรัพย์และบรรดาสิทธิต่างๆที่ไม่มีรูปร่างอันถือว่าเป็นทรัพย์สินนั้น จะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้หรือไม่ ส่วนสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีปัญหาใดๆในการเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป เพราะสามารถที่จะส่งมอบให้ใช้สอยและส่งคืนเมื่อใช้สอยเสร็จแล้วได้                สำหรับปัญหาที่ว่า อสังหาริมทรัพย์จะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้หรือไม่ มีความเห็นแตกต่างกันดังนี้               

ความเห็นที่ ๑ เห็นว่า อสังหาริมทรัพย์ไม่อาจเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้ เพราะไม่อาจส่งมอบกันได้ และในเรื่องการใช้สอยหรือการได้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นมีบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ลักษณะ ๕ ว่าด้วยสิทธิอาศัยอยู่แล้ว จึงไม่สามารถบังคับกันได้ในลักษณะสัญญายืมใช้คงรูป               

 ความเห็นที่ ๒ เห็นว่า อสังหาริมทรัพย์เป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้ เพราะอาจมีการส่งมอบและส่งคืนได้ตามหลักของสัญญายืมใช้คงรูป เนื่องด้วยการส่งมอบมีหลายวิธีและไม่ได้มีแบบพิธีในกฎหมาย ( ส่งมอบโดยปริยาย ) ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิอาศัยเป็นเรื่องการก่อตั้งทรัพยสิทธิ อันเป็นคนละเรื่องกับการก่อบุคคลสิทธิ                                

สำหรับวัตถุที่ไม่มีรูปร่างอันถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิทธิการเช่า จะสามารถเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้หรือไม่ มีความเห็นแตกต่างดังนี้               

 ความเห็นที่ ๑เห็นว่า ไม่อาจจะนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้ เพราะไม่สามารถส่งมอบและส่งคืนให้แก่กันได้เนื่องด้วยไม่มีรูปร่างไม่สามารถจับต้องได้ความเห็นที่๒ เห็นว่า สิทธิต่างๆ ย่อมนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้ เพราะสามารถกระทำการส่งมอบโดยปริยายได้                โดยหลักแล้วการส่งมอบย่อมอาศัยการแสดงออกทางกายภาพ จึงไม่น่าที่จะมีการส่งมอบวัตถุที่ไม่มีรูปร่างได้ หรือในเรื่องที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญายืมก็เป็นหนี้ที่เกี่ยวกับวัตถุมีรูปร่างทั้งสิ้น เช่น การบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม ( มาตรา ๖๔๗), การใช้ทรัพย์ที่ยืมตามสภาพ ( มาตรา๖๔๐, ๖๔๓ ), การสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืม ( มาตรา ๖๔๔ )  ดังนี้หากจะมีการให้ใช้สิทธิที่ไม่มีรูปร่างเหล่านี้ ก็จะมีลักษณะเป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อ ที่เรียกกันทั่วไปว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ซึ่งต้องอาศัยกฎหมายที่ได้ก่อตั้งสิทธินั้นๆ ด้วย               

 . เป็นสัญญาซึ่งถือคุณสมบัติของผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ   สำหรับในประเด็นนี้ เนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน ผู้ยืมเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวจากสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ผู้ให้ยืมจะให้ผู้ใดยืมทรัพย์สินของตนจึงมักจะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้ยืมว่าเป็นผู้ที่น่าไว้วางใจที่จะได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นหรือไม่ ซึ่งหลักดังกล่าวปรากฏอยู่ในมาตรา ๖๔๓, ๖๔๘  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  

อสังเกตของสัญญายืมใชคงรูปมีดังนี้ 

๑.       สัญญายืมใชคงรูปไมจํากัดวาจะตองทําเปนหนังสือ หรือวาจา เพียงแตมีการสงมอบทรัพยสินที่ยืมก็เปนสัญญายืมที่บริบูรณแลว ดังนี้สัญญายืมใชคงรูปที่คูสัญญา ตกลงทําเปนหนังสือลงลายมือชื่อเปนสําคัญแตยังไมมีการสงมอบทรัพยสินที่ยืม สัญญายืมยอมไมบริบูรณแตไมถึงกับเป็นโมฆะหรือไมบริบูรณเพราะคําวาไมบริบูรณไมใชความหมายเดียวกัน กับโมฆะหรือไมสมบูรณกล่าวคือไมบริบูรณในที่นี้ คือ ไมสามารถตอสูกับบุคคลภายนอกไดเทานั้นเอง แตยังสามารถกลาวอ้างตอคูกรณี ไดอยูามีการยืมกัน                

ตัวอยาง นายเอกตกลงใหนายโทยืมมาไปขี่ ๓ วัน โดยไมคิดคาตอบแทนใด ๆ ซึ่งในการตกลงกันไดทําเปนหนังสือลงลายมือชื่อนายเอก และนายโทแตยังไมมีการสงมอบมาที่ยืมกัน ต่อมานายเอกไดขายมาดังกลาวใหนายตรีไป โดยนายตรีไมเคยทราบมากอนเลยวา นายโทไดยืมมา ตัวนี้กับนายเอก ดังนั้น สัญญายืมมา ระหวางนายเอกและนายโทยอมไมบริบูรณเพราะยังไมมีการส่งมอบมาที่ยืม แตสัญญายืมมาก็ยังคงกลาวอางกันไดระหวางนายเอกและนายโท เพราะคําวาไมบริบูรณ  ไมไดหมายความวา ไมสมบูรณหรือโมฆะ เพียงแตการที่ไมบริบูรณเพราะเหตุไมไดงมอบมาที่ยืม นั้นจะตอสูอบุคคลภายนอกผูทําการสิ่งใด คือ นายตรีไมไดกลาวคือ นายโทจะอางต่อนายตรีใหงมาแกตน เพราะตนไดยืมมาดังกลาวจากนายเอกแลวเชนนี้ นายโททําไมไดวนว่าความรับผิดตามสัญญายืม ระหวางนายเอกกับนายโทก็ไปวากันเปนอีกเรื่องตางหาก                 

. สัญญาจะใหยืมมีไดหรือไมเรื่องนี้ มีนักกฎหมายใหความเห็นแตกตางกันดังนี้คือ

ายที่หนึ่ง  เห็นวาสัญญาจะใหยืมหรือคํามั่นจะใหยืมมีไมไดเพราะสัญญายืมเปนการใหยืมไดใชทรัพยสินไดเปลาดังนั้นจึงไมาจะใหภาระใด ๆ ตกอยูแกผูใหยืม

ายที่สอง  เห็นวาสัญญาวาจะใหยืม หรือคํามั่นวาจะใหยืมสามารถมีไดเพราะถือเปนสัญญาชนิดหนึ่งในประมวลกฎหมายแพงพาณิชยบรรพ 1 หลักทั่วไป ไมใชสัญญายืม ในเอกเทศสัญญา แตเปนสัญญานอกบรรพ ๓วาดวยเอกเทศสัญญา คือเปนสัญญาไมมีชื่อ อยางหนึ่ง ซึ่งเปนเพียงแตแสดงเจตนา ตกลงกันก็สามารถบังคับกันไดไมจําตองนําเรื่องการสงมอบในเรื่องสัญญายืมมาใช               

. วัตถุแหงสัญญายืมใชคงรูปวัตถุแหงสัญญายืมใชคงรูป ไดแกทรัพยสิน กลาวคือ วัตถุที่มีรูปรางหรือไมมีรูปรางที่อาจมีราคาและอาจถือเอาไดไมาจะเปนอสังหาริมทรัพยหรือสังหาริมทรัพยก็ตาม เชน ปากกาหนังสือ ฯลฯ แตอยางไรก็ตามมีนักกฎหมายบางทานเห็นวาเฉพาะวัตถุที่มีรูปราง และไมใชอสังหาริมทรัพยจึงจะยืมใชคงรูปไดเพราะเปนทรัพยที่สามารถสงมอบกันไดวนทรัพยที่ไมมีรูปรางหรือ อสังหาริมทรัพยเปนทรัพยสินที่ไมสามารถสงมอบกันไดจึงไมอาจจะยืมใชกันได   



๒ สุธีร์  ศุภนิตย์, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑ , น.๔๓. 
หมายเลขบันทึก: 87883เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท