เวทีแลกเปลี่ยนหลังนำเสนอรายงานความก้าวหน้า(ตอนที่ ๖)


คนสมัยก่อนเก่ง เพราะใช้ปัญญาไม่ใช่ความรู้ “มีปัญญาทำหรือเปล่า”
อาจารย์ทรงพล ได้ให้ความคิดและความเห็นอย่างมากมาย ทำให้เห็นภาพการจัดการความรู้ชัดขึ้น เริ่มต้นด้วยการให้คุณอำนวยและคุณประสานเริ่มถอดจากสิ่งที่ไปเจอ

 

การจัดการความรู้ เป็นทั้งแนวคิดและเครื่องมือ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะอยู่ในวิถีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การขับรถเป็นเกิดขึ้นเพราะใจอยากจะขับเป็นจากนั้นก็เริ่มสังเกตชิ้นส่วนของรถเป็นอย่างไร หากมีรู้ก็ถาม ถามคนที่เป็นกัลป์ยานมิตรที่ต้องคอยเอื้ออำนวยความรู้ ทำให้เกิดการ share ความรู้ หากบางคนใฝ่รู้มากก็จะอ่านคู่มือขับรถ แต่สิ่งสำคัญของการขับรถ ต้องใช้ใจ กล้าได้กล้าเสีย ในการหัดขับต้องขับบ่อยๆจนชำนาญ เริ่มแรกเมื่อหัดขับรถต้องมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำบ่อยๆ

 

หากการจัดการความรู้เป็นปัจเจก ก็จะทำให้เห็นขั้นตอน วงจรจัดการความรู้เริ่มจากการสังเกต ถาม share ความรู้ อ่าน จากนั้นก็บันทึก(เล่าประสบการณ์)เป็นการจัดระบบความคิด เพียงเท่านี้ แต่พอเอามาทำเป็นศาสตร์วิชาการ ทำให้เราเพลี่ยงพล้ำ จับเอาเครื่องมือเป็นตัวหลัก

 

ลำดับขั้นของความรู้ จากปัจเจก สู่ ครอบครัว สู่กลุ่ม และเครือข่ายในการจัดการความรู้หากจะอธิบายเพิ่มเติมก็คือ การทำอะไรแล้วใช้ความรู้ ปัญญา ความชำนาญ และ ทักษะ การเรียนรู้ก็ต้องประเมินทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ พอเอา KM เข้าไปใช้ พี่ภีมหนักมากเลย

 

อุปสรรคการเรียนรู้ คือ มีร่องการเรียนรู้ มาจากความเคยชิน การจัดการความรู้เหมือนเป็นคำศัพท์ใหม่ เราคิดว่าเราเข้าใจเพราะคิดว่าเราเข้าใจ การจัดการความรู้ต้องแทรกสถานการณ์ปัจจุบัน การวางตัวละครคุณกิจ คือ ชาวบ้าน เป็นสมาชิก ตัวละครที่สำคัญมี ๒ ตัวคือ คุณอำนวยและคุณลิขิต มีหัวปลาคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อKM เข้ามาแล้วเพิ่มมูลค่าต้องเห็นความต่าง ความต่างอยู่ที่คุณอำนวยจะกระตุ้นกลุ่มด้วยประสบการณ์ ทำให้น่าติดตามในมุมมองใหม่ หลุดจากร่องความเคยชินเดิม อาจจะใช้สุนทรียสนทนา เพราะต้องฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังแล้วต้องคิดแบบเชื่อมโยง คิดต่อยอด โดยอาศัยประสบการณ์และจินตนาการเป็นสำคัญซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ ต้องเป็นความรู้ใหม่ของผู้ที่เข้าร่วมกระบวนวิจัย ถ้าทำได้คุณอำนวยและคุณลิขิตมีการสร้างทำให้เห็นว่าปิ๊ง! ชอบ ทำให้เกิดพลังการเรียนรู้ (หมุนเกลียวแน่นขึ้น) คุณลิขิตต้องจับประเด็น team work อย่างเข้มแข็ง

 

ส่วนคุณวิจัย ไม่ใช่ คุณอำนวยและคุณลิขิต แต่ต้องเป็นกระจกสะท้อน สังเกตกระบวนการ มองภาพใหญ่และย่อย ให้ทุกคนเล่นตามบทบาทของตนเอง และดูว่าดีหรือยัง เติมความสามารถ ประเมินว่าดีแล้วหรือยัง ไม่ดีตรงไหน เป็นกระจกสะท้อนกลับ คุณวิจัยต้องทำการสังเกตแล้วตอบว่าติดร่องตรงไหน สะท้อนให้คุณกิจและคุณอำนวยได้รับรู้ แต่ถ้าคุณวิจัย เก็บไว้รู้คนเดียวตัวผู้ให้ข้อมูลไม่รู้อันนี้ไม่ใช่การจัดการความรู้

 

ความเข้าใจในตัวละครเป็นสิ่งสำคัญ ต้องรู้ตัวเองว่า เป็นคุณอะไร คุณกิจ คุณเอื้อ คุณประสาน คุณอำนวย คุณลิขิต หรือกระทั่งคุณวิจัย รวมทั้งรู้ว่าต้องมีสมรรถนะอย่างไรบ้าง เช่นการเล่นละคร บทพระเอก หากต้องแสดงเป็นลิเก ก็ต้องเรียนรู้การเป็นลิเก แต่โดยทั่วไปแล้วคือใส่หมวกแล้วทำเลย ด้วยความเคยชิน ชาวบ้านมีร่องคิดเดิม แบบเดิม ไม่ออกจากวังวนต้องเข้าใจนิสัยการเรียนรู้ที่เป็นอยู่ เจอปัญหาเยอะมาก ต้องทำให้เค้าละเอียด ประณีต ครุ่นคิด จริงจัง แต่ชาวบ้านรอไม่ได้ เพราะมีร่องงานต่างๆชอบเอาผลลัพธ์เป็นที่ตั้ง ต้องทำให้ฟังอย่างลึกซึ้ง คิดเป็นระบบเชื่อมโยง เพราะหากยังคิดไม่เป็นขั้นเป็นตอน ความรู้จะเกิดใหม่ไม่ได้ ต้อง คิดแล้วทดลองปฏิบัติ จากนั้นถอดความรู้จากสิ่งที่ทำ (ต้องตั้งสติมองสิ่งที่ผ่านมาอย่างละเอียด ใคร่ครวญ) ความสำเร็จ ความล้มเหลว ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง (การตั้งคำถามที่ดี ทำให้เป็นการแซะร่องใหม่) ใช่หรือไม่ จริงหรือไม่ แซะร่องใหม่ทำให้คิดใหม่ในอีกเรื่องหนึ่ง แม้กระทั่งการเป็นคุณอำนวยหรือคุณลิขิตก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณอำนวยต้องมีความรู้ ทักษะมากมาย ซึ่งควรมีการประเมินก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ เพราะถ้าใช้ปัญญาทุกอย่างก็จะสำเร็จได้ด้วยปัญญา

 

คนสมัยก่อนเก่ง เพราะใช้ปัญญาไม่ใช่ความรู้ มีปัญญาทำหรือเปล่าขอให้ดูแนวคิดหลักของความรู้แท้จริง เช่น ตา มองแล้วเกิดปัญญาใหม่ๆ หู ฟังแล้วเกิดปัญญาใหม่ๆ เปรียบเหมือน หากเข้าใจและรู้จักใช้ขวาน อีโต้ อย่างชำนาญแล้วก็จะรู้ว่า เหมาะไหม ควรใช้เมื่อไหร่ อย่ามองเป็นท่อนแต่ก็อย่าเอาไปใช้ทั้งดุ้น ใช้สื่อกับชาวบ้านแต่ใจต้องยังอยู่ ใช้ในภาษาที่สื่อใช่วัฒนธรรมเราหรือเปล่า

 

การเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนความคิด จากระบบการศึกษาเดิมทำให้มีความรู้อย่างไร ชุมชนไม่มีสถาบันจัดการความรู้ตั้งแต่ดั้งเดิม เพราะฉะนั้นต้องทุ่มเท ฝึกฝน และทำความเข้าใจ เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นปัญญาปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงแค่การอ่าน ต้องทำจริงและทำบ่อยๆ สำหรับคุณวิจัยมีประโยชน์มากตามขอบเขต หน้าที่ของนักวิจัย นักวิจัยไม่ใช่คุณอำนวยเพราะมีหน่วยงานเดิมที่ทำอยู่แล้วแต่คุณวิจัยต้องสังเกตให้ละเอียดแล้วต้องสะท้อน แตกกิจกรรมให้ละเอียด ไม่เช่นนั้นในรายงานก็จะไม่เห็นความรู้ใหม่

 

การพัฒนาคนอยู่ที่เจตคติเป็นเรื่องใหญ่ ต้องชี้ให้เห็นว่าก่อนมีการจัดการความรู้ตลอดถึงหลังมีการจัดการความรู้ต้องทำประเด็นให้ชัดแล้วการจัดการความรู้จะสามารถยกระดับได้จริง
หมายเลขบันทึก: 8739เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2005 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท