เวทีแลกเปลี่ยนหลังรายงานความก้าวหน้างานวิจัย(ตอนที่ ๑)


สำหรับการที่จะให้เล่าเรื่องจุดแข็ง จุดเด่น หรือสิ่งใดก็ตาม ต้องหาเทคนิคและมีกติกาในการคุย
                เริ่มต้นด้วยอาจารย์สีลาภรณ์ จากทาง สกว. อธิบายเรื่อง “Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวเอง” หากจะแบ่งพื้นที่การเรียนรู้ได้ ๒ พื้นที่ ๑) เรียนรู้ในตัวเอง ๒) เรียนรู้จากคนอื่น การเรียนรู้จากบทเรียนตัวเองเป็นเรื่องง่าย (จริงหรือ) ส่วนเรียนรู้จากคนอื่นคืองัดให้เค้าคายความรู้ออกมา เมื่อคายแล้วต้องตั้งคำถามว่าจะเคลื่อนไปทางไหน
                แม้งานในเมืองจะทำยาก เพราะ มีแต่คนเก่ง และมีego ในตัวเองสูง  การจะเล่าเรื่องแล้วให้เกิดผลประสบความสำเร็จต้อง scan ก่อนแล้วนำมาใช้ เพราะการ scan แล้วถอดออกมาจึงจะกระตุ้นถูกจุด เช่น การขยายเครือข่าย การทำสวัสดิการ การทำ....เก่ง
                บทบาทของทีมวิจัย คือ เข้าไปจัดการกับงานวิจัย นำความรู้ที่คายออกมา สะท้อนออกมา ตัวอย่าง เช่นคุณพัช บอกว่าต้องมีลูกเล่นหลาย Style ก็ต้องบอกตั้งแต่ วิธีการสร้างทีมว่าทำอย่างไร ทั้งทีมคุณวิจัยและคุณอำนวย จากนั้นถอดบทเรียนตัวเอง และต้องดูว่าเครื่องมือที่จะทำให้คาย tacit knowledge ตัวไหนที่ work บางกลุ่มอาจจะเอาปลาไปใช้ไม่ได้ แล้วปรับอย่างไร งานวิจัยนี้ว่าด้วยตัวเครื่องมือ การเน้นความรู้ของคนอยู่ในชุมชน ส่วน Explicit knowledge เป็นการนำความรู้จากภายนอกเข้าไปใช้
                คำถามการสร้างให้เกิด Tacit knowledge และ explicit knowledge แล้วทำอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร เสริมแรงกันอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 8730เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2005 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท