บทบาทของ Knowledge Facillitator: KF หรือคุณอำนวย คือ?


ถ้าใช่ ผมจะต้องกลับไปทำอะไรบ้าง ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน

     จากรางวัลจตุรพลังเดือน กันยายน 2548 (ดูประกาศรางวัลจตุรพลัง ประจำเดือนกันยายน 2548) ที่ผมได้รับมา และผมได้พยายามบันทึกบอกว่าไม่ค่อยเข้าใจในบทบาทตัวเองสักเท่าไหร่ไว้ที่ อ้างถึงจาก รางวัลจตุพลัง แห่งเดือนกันยายน 2548 นี่เป็นโจทย์อีกโจทย์หนึ่งที่ผมต้องพยายามทำความเข้าใจให้ได้ จากงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 2 นี้ ผมจึงยังไม่กล้าใส่เสื้อสามารถที่ได้รับจาก สคส. ไปด้วย

     วันนี้ผมเริ่มมองว่าหากผมได้ทำหน้าที่อย่างเป็นระบบในฐานะคุณอำนวย หรือ Knowledge Facillitator แล้ว ผมจะต้องกลับไปทำอะไรบ้าง ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ดังนี้ครับ (บางส่วนมีบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นระบบ และไม่เกิดจากฐานคิด KM มาก่อน)

          1. เล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ KM ให้หมอ (นพ.ยอร์น จิระนคร) ได้ทราบ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย “ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ซึ่งน่าจะเป็นบทบาทคุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer: CKO) และต่อไปท่านในฐานะนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ก็จะได้นำไปขายต่อให้ทีมผู้บริหารของ สสจ. (รวมตัวท่านเองด้วย) และผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ซึ่งน่าจะเรียกว่าผู้บริหารสูงสุด (CEO) ต่อไปในการให้การสนับสนุน และเชื่อมต่อจนเป็นไตรภาคีฯ

          2. ระดมสมองร่วมกันของนักวิจัยหลักและนักวิจัยในพื้นที่ ซึ่งแท้ที่จริงคือผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว แต่กำลังทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย หรือ R2R เพื่อกำหนดว่า “เราทำ KM ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพชุมชนไปเพื่ออะไร” ทั้งนี้ให้น้ำหนักแก่นักวิจัยในพื้นที่ ในฐานะคุณกิจในการกำหนดเป้าหมายส่วนนี้ขึ้นให้มากที่สุด

          3. จัดเวทีเพื่อเชื่อมโยงคุณกิจ (นักปฏิบัติ/นักวิจัยในพื้นที่) กับคุณเอื้อ (นักวิจัยหลัก) เชื่อมโยงคุณกิจกับคุณกิจในแต่ละพื้นที่ให้เกิดการ ลปรร.กัน การนำ Best Practics มาขายให้กันและกันในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ส่วนรูปแบบจะใช้การนำเสนอแล้วให้ช่วยกันเลือกร่วมกันจากทีมงาน

          4. จัดเวทีเพื่อเชื่อมโยงให้คุณกิจในพื้นที่ได้พบปะกับคุณกิจต่างศาสตร์ที่มีแนวทางการดำเนินงานคล้าย ๆ กัน หรือแบบเดียวกัน ศาสตร์เดียวกัน นอกพื้นที่

          5. พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ หรือ Community of Practice: CoP ของนักพัฒนาสุขภาพชุมชน สร้างให้เกิดเป็นขุมความรู้ เน้นที่เป็นความรู้จากการปฏิบัติ ด้วยการจัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเก็บรวบรวมเป็นบุมความรู้ ตลอดจนการเชื่อมต่อกับการจัดการความรู้ภายนอก เพื่อให้คึกคัก และสร้างเป็นพลังความรู้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 8677เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2005 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท