แม่ชีอาจารย์ในวัดปากน้ำ (ตอนที่ 2)


แม่ชีอาจารย์ในวัดปากน้ำ (ตอนที่ 2)

 

ประวัติคุณยายทองสุข สำแดงปั้น

     แม่ชีทองสุข สำแดงปั้น อดีตวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง เกิดวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2443 ปีชวด ที่บ้านสะพานเหลือง อำเภอบางรัก กรุงเทพ ฯ เป็นลูกคนที่ 3 ของนายร่ม และนางวัน ชีวิตวัยเด็กกำพร้าบิดามารดาแต่เยาว์วัย ท่านอยู่ในอุปการะของคุณลุงและคุณอา

     แต่งงานกับคุณหมอชื้น สำแดงปั้น ศัลยแพทย์โรงพยาบาล จุฬา ฯ มีบุตร 2 คน แต่อยู่ไม่นานคุณหมอสามีถึงแก่กรรม ท่านประกอบการค้าขายเลี้ยงบุตรและตนเองโดยไม่ฝืดเคือง     อายุ 30 ปีเริ่มศึกษาสมถวิปัสสนาแนววิชชาธรรมกาย ที่วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่สอนให้ จะยืน เดิน นั่ง นอน อย่าทำใจให้คลอน ให้หยุดนิ่งอยู่ที่ ศูนย์กลางกาย โดยบริกรรมภาวนาว่า"สัมมาอะระหัง"

     วันหนึ่งขณะที่เดินไปซื้ออาหารที่ตลาดประตูน้ำใกล้วัด ใจของท่านก็ตรึกนิ่งจรดที่ศูนย์กลางกายตามคำสอนของ หลวงพ่อ ระหว่างที่เดินท่านก็เห็นดวงธรรม ดวงใส สะอาดอยู่ศูนย์กลางกายมองครั้งใดที่ใดเห็นสว่างไป หมด ท่านจึงรีบกลับวัดกราบเรียนหลวงพ่อ ฯ

     ท่านได้ธรรมกายอายุ 35 ปี ท่านศรัทธามากจึงบวช เป็นชีวัดปากน้ำ ฯ อายุ 40 ปี เมื่อศึกษาจนความรู้มั่นคง แล้วหลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้มอบหมายส่งท่านออกเผยแพร่ ธรรม สอนพระกัมมัฏฐาน แม่ชีทองสุข เป็นครูชั้นเลิศ มีวิธี การสอนที่ละเอียดละออ ท่านเน้นและทบทวนธรรมที่สอนอยู่ เสมอไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์รู้ จำได้ เข้าใจจริง จนประสบความสำเร็จ สมกับที่หลวงพ่อ ฯ วางใจให้เป็นครู

     แม่ชีทองสุขมีความสามารถในการสอน เมื่อถามก็ตอบ ให้เข้าใจ และจะแนะนำแก้ไขข้อขัดข้องอุปสรรคต่าง ๆ ด้วย เมตตา ท่านสอนหลักการแก่ศิษย์ว่า "อย่างเกร็งตัว อย่ากด ลูกนัยน์ตา กำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาเรื่อยไป กำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย รู้เฉย ๆ ว่าใจเรานี้ อยู่ที่ศูนย์ ฯ รู้เพียงเท่านี้ก่อน ไม่ต้องร้อนใจ ทำใจให้ เฉย ๆ เรื่อย ๆ ตัดความอยากรู้อยากเห็นเร็ว ๆ นั้นเสีย ตัดความกังวล ยังไม่เห็นก็อย่าเสียใจ ขอให้ทำให้ถูก ต้องและมีความเพียรเถิด ธรรมะเป็นของจริง ถึงเวลาแล้ว เห็นเอง เมื่อเห็นแล้วก็อย่าดีใจเกินไป เพราะจะทำให้ นิมิตนั้นหายได้

     ขณะที่ท่านสอนจะเรียบเรียงถ้อยคำ ลำดับเหตุ ลำดับ ผลจัดวางความยากง่ายอย่างเหมาะสมกับศิษย์จนเข้าถึงแก่น และการนำเรื่องเปรียบเทียบที่ให้ความกระจ่างแจ้งแก่เนื้อหา ดังเช่นคำสอนของท่านที่ว่า "ใจของเราเป็นของละเอียด ไม่ใช่ของหยาบ ถึงแม้ใจเราจะไม่วอกแวกไปไหนต่อไหน แล้วก็ตาม แต่หากจะบังคับให้หยุดทันทีก็ยังลำบาก เราต้องใช้วิธีตะล่อมใจทีละเล็กทีละน้อย ใจเราก็จะยอม หยุดเอง อุปมาเหมือนเราจะจับไก่เข้าเล้า หากใช้วิธีวิ่ง พรวดพราดเข้าไปจับ ไก่จะหนีไปจับตัวไว้ไม่ได้ แต่หากใช้ วิธีค่อย ๆ ตะล่อมเข้าหาไก่ เรียกไก่เข้ามา ไก่นั้นจะเชื่อง ยอมให้เราจับได้โดยง่าย จึงเปรียบเหมือนเรา เมื่อเพ่งแรง เกินไปใจก็จะไม่ยอมหยุด ก็หากค่อย ๆ ภาวนาประคับประ คองนิมิตให้เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ในที่สุดใจนั้นก็จะเชื่องหยุด ในที่ตั้งของใจ คือ ที่ศูนย์กลางกายนั้นเอง"

     ท่านกับศิษย์แม่ชีเธียร ธีรสวัสดิ์ ได้จาริกเผยแพร่ สมถวิปัสสนา ตามแนววิชชาธรรมกาย ตามบัญชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ในสถานที่หลายแห่ง แห่งละนานบ้าง ไม่นาน บ้าง มี วัดปากน้ำ บางปะกง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บ้านบึง พนัสนิคม พนมสารคาม ปราจีนบุรี ท่าเรือ ท่าประชุม หาด ยาง ระแหง นครปฐม ราชบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ ตะพาน หิน พิษณุโลก และเชียงใหม่ ท่านจึงมีลูกศิษย์มากมาย เฉพาะเข้าถึงธรรมได้ธรรมกาย มีจำนวนเป็นพัน

     ท่านมิได้ละทิ้งหน้าที่ที่พระอาจารย์ของท่านมอบหมาย ไว้ให้เลย จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2506 เวลา 19.35 น.

     ในที่พักวัดปากน้ำ ท่ามกลางญาติมิตรและศิษยานุศิษย์ สิริอายุย่าง 63 ปี อยู่ในเพศผู้ทรงศีลประมาณ 23 ปี

พัฒนะ และ สุนีรัตน์ รวบรวมและเรียบเรียง 

มีต่อ >>

----------------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท