งานวิจัย E-Learning


นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์มากกว่า
มธ.ชี้ นศ. เรียนออนไลน์โต้ตอบดีกว่า
       
        ผศ.ดร.นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา จากภาควิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงงานวิจัยที่เคยทำเรื่อง "ผลกระทบของรูปแบบการเรียนในลักษณะออนไลน์ต่อความสามารถในการแก้ปัญหา" ว่า พฤติกรรมการโต้ตอบของนักศึกษาดีกว่าการเรียนในระบบปกติ
       
        งานวิจัยนี้ศึกษานักศึกษาที่เรียนบัญชีระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 51 คน ซึ่งใช้ eLearning เสริมการเรียนในห้องเรียน พบว่า การตอบคำถามของนักศึกษามีมากขึ้น เพราะการสื่อสารผ่านทางออนไลน์ไม่เห็นหน้ากัน ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์มากกว่า นอกจากนี้ ในการทำกรณีศึกษาที่ต้องมีการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างนักศึกษา ก็พบว่ามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
       
        ผศ.ดร.นิตยา อธิบายให้ฟังว่า ปกติพฤติกรรมของนักศึกษาไทยจะไม่กล้าแสดงออก ดังนั้นในการวิจัยจึงไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุลของนักศึกษา แต่ใช้เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีอาจารย์เท่านั้นที่ทราบว่ารหัสนี้เป็นใคร
       
        หลังจากพบว่านักศึกษาโต้ตอบระหว่างกันมากขึ้น ก็ได้วิเคราะห์กันว่า อาจเป็นเพราะไม่มีผู้นำกลุ่มในการทำกรณีศึกษา ซึ่งแตกต่างจากปกติที่อาจมีผู้นำ ทำให้บางคนไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง
       
        อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.นิตยา กล่าวว่า งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดตรงที่ ศึกษาจากนักศึกษาหลักสูตรบัญชีเท่านั้น จึงอ้างอิงได้เฉพาะการเรียนที่มีลักษณะคล้ายกัน และเลือกศึกษาจากผู้ที่ชอบการเรียนแบบ eLearning จึงเป็นไปได้ที่จะมีความกระตือรือร้นที่จะโต้ตอบ ซึ่งผู้ที่ไม่ชอบ ผลสรุปอาจไม่เป็นแบบนี้ก็ได้ นอกจากนี้ ผู้สอนไม่รู้ว่านักศึกษามีการไปพูดคุยกันนอกห้องเรียนหรือไม่
       
        ผศ.ดร.นิตยา แสดงความคิดเห็นเพิ่มว่า เนื่องจาก eLearning ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าการเรียนแบบปกติ และยังต้องเตรียมตัวก่อนเข้าห้องเรียนออนไลน์ด้วย บางคนอาจอ้างว่าไม่มีเวลา ทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนน้อยกว่าผู้อื่น
       
        และจากการเลือกวิจัยนักศึกษาในภูมิภาค จึงพบว่าเทคโนโลยีการสื่อสารยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าในกรุงเทพฯ และบางคนที่ไม่ชอบใช้คอมพิวเตอร์ พอเกิดปัญหาขึ้น และแก้ไขเองไม่ได้ จะยิ่งทำให้ไม่อยากเรียนผ่าน eLearning มากขึ้น ดังนั้นหลักสูตรที่ต้องการสอนผ่านระบบ eLearning ควรเตรียมความพร้อมกับปัจจัยข้างต้นด้วย
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8508เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รบกวนแนะนำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยครับ สามารถหาได้จากที่ไหนบ้างครับ

 

ขอบพระคุณครับ

ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย  E-Learning  ด้วยค่ะ 

ขอพระคุณล่วงหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท