รองเท้าแตะกับผู้ป่วยเบาหวาน


Fit the foot to the shoe, Not fit the shoe to the foot

         แม้ว่าปัจจุบัน หลาย ๆ โรงพยาบาล จะมีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างครบถ้วน บางแห่งมีทีมงานดูแลสุขภาพเท้าที่มีประะสิทธิภาพ แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือ ไม่สามารถจัดหารองเท้าที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ เนื่องจากองค์กรที่สนับสนุนรองเท้ามีน้อย ส่วนมากจะเป็น บริษัทเอกชน ที่ราคาค่อนข้างแพง อีกทั้งรูปแบบรองเท้าเบาหวาน มักจะเป็น  รองเท้าหุ้มส้นมิดชิดที่ตัดเฉพาะราย(Custom molded shoe) รองเท้ากีฬา (sport shoe)  ซึ่งเหมาะสมกับชีวิตเมืองมากกว่าชนบท เพราะประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้รองเท้าแตะ ทำให้รองเท้าเบาหวานไม่สามารถ เข้าถึงผู้ป่วยเบาหวานระดับรากหญ้าได้           

                  บทความนี้จะกล่าวถึงรองเท้าแตะที่มีคุณสมบัติ อย่างน้อยที่สุดที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทปลายเท้าเสื่อม ซึ่งเราสามารถนำคุณสมบัตินี้ไปเปรียบเทียบกับรองเท้าที่มีในท้องตลาดเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับความนิยม และลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

คุณสมบัติที่ดี

                1.จำเป็นต้องนุ่ม(cushioning)  ความนุ่มที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานคือ 15 องศาชอว์ วัดไม่ยาก คือ ความนุ่มที่เอามือบีบแล้วยุบลงครึ่งหนึ่งของความหนาเดิม เพราะผู้ป่วยมักมีความผิดปกติเช่น นิ้วเท้าจิกงอ (Claws toes)  การโปนของปุ่มกระดูก ( Bony prominent) บริเวณนี้จะมีแรงกดสูงกว่าปกติ อันจะส่งผลให้เกิด ตาปลา หนังแข็งนำไปสู่การเป็นแผลได้ เราต้องการความนุ่มเพื่อลดแรงกระแทก และหนังแข็ง

foam

                absorber

     2.จำเป็นต้องปรับสายคาดได้(Adjustable) เพราะเท้าคนเราขนาดไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยเบาหวานที่มี ปัญหาหลอดเลือด โรคแทรกซ้อนทางไต มักจะมีการบวมได้ง่าย การปรับได้จะทำให้ลดการกดบริเวณหลังเท้า ซึ่งอาจไปขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่เท้า (blocked Dorsalis pedis artery)     

       3.ต้องมีสายรัดส้น(back strap)  เนื่องจากกล้ามเนื้อในเท้าอ่อนแรงจากปลายประสาทเสื่อม ส่งผลให้รองเท้าหลุดออกจากเท้าได้ง่าย ผู้ป่วยจะพยายามจิกนิ้วเท้ากับรองเท้าเพื่อไม่ให้หลุด อันเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะนิ้วงอ (Claw Toe) ตามมาอันส่งผลให้เกิดเป็นความผิดปกติระดับทุติยภูมิ (Secondary Impairment) ตามมาจากภาวะปลายประสาทเสื่อม อันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

        4. รูปแบบต้องเป็นที่ยอมรับสำหรับตัวผู้สวมใส่เอง ลักษณะอาชีพ สังคม

                Footwear

                รองเท้าที่ดีใสแล้วต้องรู้สึกสบาย และสิ่งที่พิสูจน์ในขั้นสุดท้ายว่ารองเท้านั้นดี คือ เท้าต้องไม่มีแผล ไม่ว่าแผลเก่าหรือแผลใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ทีมงานดูแลผู้ป่วยเบาหวาน คาดหวังกับรองเท้า คือ Injury prevention

หมายเลขบันทึก: 85006เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่หาข้อสรุปที่เหมาะสมให้กับเท้า

 โดยเฉพาะเท้าเบาหวานในชนบท

 

ยาสมุนไพรที่ว่ามีจริงหรือครับ

 

http://www.thaifootcare.com/

รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สนใจ โทร 087 357 6476

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท