การจัดการเทคโนโลยีด้วยกฎหมาย(6) ตอน การวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับ Interconnection และ Interconnection charge


มาตรา4 “เชื่อมต่อ” เป็นความตกลงทางเทคนิคและทางพาณิชย์ , สรุปในแต่มาตราให้เห็นว่ามีประเด็นสำคัญอย่างไร

โดยเริ่มต้นขอเพิ่ม 1 มาตราสำคัญที่เป็นตัวกำหนดความหมายของการเชื่อมต่อโครงข่ายในทางโทรคมนาคม โดยมีใจความดังนี้

มาตรา4เชื่อมต่อหมายความว่า การเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคมภายใต้ความตกลงทางเทคนิคและทางพาณิชย์เพื่อให้ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมฝ่ายหนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมอีกฝ่ายหนึ่งได้                

 ซึ่งใจความสำคัญที่เราเห็นก็คือ เป็นความตกลงทางเทคนิคและทางพาณิชย์ ซึ่งจากประโยคนี้ทำให้เราเห็นได้ว่า รูปแบบของสัญญาที่เกิดขึ้นต้องมีลักษณะสำคัญคือในรูปแบบทางเทคนิคที่ระบุวิธีการเชื่อมต่อและทางพาณิชย์ที่ระบุค่าเชื่อมต่อนั่นเอง                               

จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้นำกฎหมาย พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 หมวดที่2 การใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย ที่เป็นตัวกำหนดแนวทางของการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน มาถึงบทความนี้ผมจะสรุปในแต่มาตราให้เห็นว่ามีประเด็นสำคัญอย่างไร ดังนี้

ประเด็นสำคัญมาตรา25 บอกว่าการเชื่อมต่อนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องทำและต้องยินยอมให้ผู้อื่นเชื่อมต่อ ส่วนการปฏิเสธจะทำได้ต่อเมื่อโครงข่ายไม่เพียงพอให้เชื่อมต่อหรือมีปัญหาทางเทคนิคที่ทำให้ทำไม่ได้ โดยการปฎิเสธนั้นต้องที่การพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถเชื่อมต่อได้จริงๆ นอกจากนั้นก็มีการบอกถึงการคิดค่าเชื่อมต่อว่าต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมเท่าเทียมกัน ซึ่งต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้รับใบอนุญาตด้วย

ประเด็นสำคัญมาตรา26 บอกถึงการเกิดขัดแย้งในข้อตกลงที่เจรจากันไม่ได้ ให้ทำการร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยตัดสินให้ ซึ่งคำตัดสินของคณะกรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม และในระหว่างที่รอผลการพิจารณาคณะกรรมการอาจจะสั่งให้เชื่อมต่อกันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไปพลางก่อนได้

ประเด็นสำคัญมาตรา27 บอกถึงรูปแบบของสัญญาว่าต้องมีลักษณะคือ ไม่ทำให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน, ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ, ข้อกำหนดทางเทคนิค ณ. จุดที่มีการใช้หรือเชื่อมต่อต้องชัดเจนและไมก่อให้เกิดภาระแกผู้ขอใช้, มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบว่าใครต้องทำอะไรและรับผิดชอบอะไร, มีการกำหนดอัตราค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 25, ในส่วนรูปแบบสัญญาอื่นๆนอกเหนือจากนี้ต้องจัดส่งสำเนาสัญญาให้กับคณะกรรมการภายในสิบวันนับแต่วันที่ไดมีการลงนามในสัญญา โดยถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่เป็นไปตามลักษณะที่กำหนด คณะกรรมการสามารถสั่งให้ดำเนินการแกไขภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ แต่ถ้าเจ้าของโครงข่ายเห็นว่าไม่พอใจในคำสั่งสามารถนำความในมาตรา 65 มาขอยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากที่ได้รับคำสั่ง และถ้าผลออกมาเป็นแล้วเจ้าของโครงข่ายยังไม่ยอมแก้สัญญาอีกให้ถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ

ประเด็นสำคัญมาตรา28 บอกว่าในการตกลงเชื่อมต่อต้องมีการแจ้งข้อมูลต่อกัน และห้ามการทำการที่ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อกันโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ส่วนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงข่ายของฝั่งใดก็ตามที่จะกระทบต่อการเชื่อมต่อกันต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

ประเด็นสำคัญมาตรา29 บอกว่าสัญญาที่ตกลงกันต้องมีการเปิดเผย แสดงว่าห้ามทำการกันแบบเก็บเป็นความลับนั่นเอง

ประเด็นสำคัญมาตรา30 บอกว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามที่ทำให้ค่าตอบแทนการเชื่อมต่อไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ ให้คู่สัญญานั้นสามารถยื่นขอปรับปรุงค่าตอบแทนดังกล่าวกับคณะกรรมการได้ โดยคณะกรรมการจะพิจารณาโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้

ประเด็นสำคัญมาตรา31 บอกว่าถ้าในกรณีความมั่นคงหรือเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีอำนาจในการสั่งให้คณะกรรมการดำเนินการเพื่อให้มีการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างผู้รับใบอนุญาตและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ

หมายเลขบันทึก: 84898เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท