ความรู้เรื่องโรคเรื้อน


โรคเรื้อนไม่มีแล้วจริงหรือ ?

 
เชื้อ  Mycobacterium  Leprae
โรคเรื้อน                                   
                                                                  

โรคเรื้อน  หรือ  โรคผิวหนังเนื้อชา 

     เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  Mycobacterium  Leprae  โรคนี้จะเกิดกับเส้นประสาท  เยื่อบุตา  กระดูกและอวัยวะภายในร่างกายและเกิดรอยโรคที่เส้นประสาทส่วนปลาย  จะก่อให้เกิดความพิการและนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเชื้อโรคเรื้อน  Mycobacterium  Leprae  เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในสกุล  Mycobaterium  เช่นเดียวกับเชื้อวัณโรค โดยสามารถย้อมติดสีทนกรด  (acidfaststain) เหมือนกัน
           โรคเรื้อนเป็นโรคที่ติดต่อจากคนไปสู่คนเท่านั้น โดยแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อนในระยะ  Lepromatous ที่ยังไม่ได้รับการรักษาในปัจจุบันเชื่อว่า ผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายสามารถแพร่เชื้อโดยทางเดินหายใจมากที่สุด โดยเชื้อเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายผู้ป่วยได้ถึง  9  วัน เชื้อโรคเรื้อนเป็นเชื้อที่มีระยะฟักตัวช้ามาก คือ ประมาณ (3 – 5 ปี)
               
ภูมิต้านทานของคนไข้เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการเกิดโรคซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์  (CMI)  หากผู้ที่รับเชื้อ  Mycobacterium  Leprae  มี  CMI  ที่สามารถทำลายและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ Leprae  ได้ผู้นั้นก็จะไม่เกิดอาการของโรคเรื้อน ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคเรื้อนก็คือ ผู้ที่มี CMI ต่อ M.Leprae  ที่ผิดปกติ

สาเหตุ   

                                      โรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ชื่อ  ไมโครแบคทีเรียม เลเปร (Mycobacterium leprae)  ทำให้เกิดอาการที่ผิวหนัง  เส้นประสาทส่วนปลาย และ เยื่อบุท่อทางเดินหายใจส่วนบน   เช่น จมูก ปาก คอ   เป็นต้น

ในปัจจุบันได้แบ่งโรคเรื้อนออกเป็นระยะ ๆ โดยถือความสัมพันธ์กับ CMI โดยแบ่งเป็น

      1.  Tuberculoid  (TT) จะเกิดในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานสูง
2.  Borderline (B)  จะเกิดในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานอยู่กึ่งกลาง  ระหว่าง Tuberculoid (TT) และ  Lepromatous (LL)  ซึ่งระยะนี้สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีก  3  ชนิด คือ
     2.1    Borderline  tuberculoid  (BT)
     2.2    Borderline  borderline  (BB)
     2.3    Borderline  lepromatous  (BL)
3. Lepromatous  (LL)  จะเกิดในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิต้านทาน
4.  Indeterminate  (I)  พบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานไม่แน่นอนสามารถหายเองได้หรือเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอื่นได้

ในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการวางแผนรักษาจะจำแนกผู้ป่วยเป็น  2  ประเภท คือ

      1.   โรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย หมายถึง โรคเรื้อนชนิด I , TT , BT  ที่ตรวจไม่พบเชื้อ
       2.
  โรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก หมายถึง โรคเรื้อนชนิด BT ที่ตรวจพบเชื้อ BB , BL , และ LL

อาการและการติดต่อ  

               เกิดจากการสัมผัสคลุกคลีอย่างใกล้ชิด หรือ ใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะติดต่อเป็นเวลานาน ๆ  ผู้ป่วยที่มีแผลโรคเรื้อนเชื้อโรคอาจปะปนมากับน้ำเหลือง   น้ำหนอง   น้ำมูก  และสามารถติดต่อไปถึงผู้อื่นได้โดยการสัมผัส   ระยะฟักตัวนานประมาณ 3 - 5  ปี    จึงจะปรากฏ

อาการลักษณะอาการทางผิวหนัง  ที่สังเกตุได้ง่ายคือ

  1. เป็นวง สีซีดจางหรือเข้มกว่าผิวหนังปกติ   มีอาการชา  ผิวหนังแห้ง   เหงื่อไม่ออก  
2. เป็นผื่นรูปวงแหวนหรือแผ่นนูนแดง  ขอบเขตผื่นชัดเจน มีอาการชา  บางผื่นมีสี
  เข้มเป็นมัน  บริเวณที่พบมาก คือ  แขน ขาหลัง  และสะโพก
3. เป็นตุ่มและผื่นนูนแดงหนา ผิวหนังอิ่มฉ่ำเป็นมัน ไม่คัน ผื่นมีจำนวนมาก รูปร่าง
  และขนาดแตกต่างกัน  กระจายไปทั่วตามส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย  เช่น ใบหน้า
  ลำตัว แขน และขา
 การดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ  ใช้เวลาเป็นปี  หากไม่รักษาตั้งแต่เริ่มเป็น  เมื่อเส้นประสาทถูกทำลาย  จะทำให้เกิดความพิการที่ตา  มือ และเท้า
 

อาการที่น่าสงสัย

  1. ผิวหนังเป็นวงด่าง สีจางกว่าผิวหนังปกติ มีอาการชา
  2. มีผื่นที่ผิวหนัง ของเขตชัดเจน มีอาการชา ผิวแห้ง เหงื่อไม่ออก ขนร่วง
  3. ผิวหนังเป็นผื่นนูนแดงหนา หรือ ตุ่ม ไม่มีอาการคัน
  4. ตุ่มและผื่นนูนแดง จำนวนมาก ผิวหนังอิ่มฉ่ำเป็นมันไม่มีอาการคัน
  5. มือเท้าชา อ่อนกำลัง กล้ามเนื้อลีบ นิ้วงอ

อาการทางผิวหนัง
         -  วงด่างขาวสีจางกว่าผิวหนังปกติ  ไม่คัน
         -  ผื่นวงแหวนขอบแดงผิวแห้ง  มีอาการชา
         -  ตุ่มและผื่นนูนแดง  กระจายสองข้างของร่างกาย

อาการที่แสดงว่าเส้นประสาทส่วนปลายเริ่มถูกทำลาย  คือ
    1. ความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าลดลง กระจกตา (ตาดำ) ชา
    2. กล้ามเนื้อมือ เท้า ตา อ่อนกำลังลง
    3. ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าแห้ง เหงื่อไม่ออก
    หากอาการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันเวลาจะไม่เกิดความพิการ

  การติดต่อ

             เชื้อโรคเรื้อนอาศัยอยู่บริเวณใต้ผิวหนัง  เส้นประสาทส่วนปลาย และ เยื่อบุจมูกของผู้ป่วยระยะติดต่อ  ผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคเรื้อน  หากคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระยะติดต่อ  มีโอกาสเป็นโรคเรื้อนได้     ประชาชนส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคเรื้อนเมื่อได้รับเชื้อโรคเรื้อน  โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคมีเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น  เด็กมีโอกาสติดโรคมากกว่าผู้ใหญ่  เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่า  ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ถ้าร่างกายแข็งแรงดี จะไม่เป็นโรค 

ความพิการ

                   เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงบริเวณใบหน้า ตา มือ และเท้าถูกทำลายจนสูญเสียหน้าที่  ทำให้เกิดความพิการ  เช่น  ตาหลับไม่สนิท  มือเท้าชา อ่อนกำลัง  กล้ามเนื้อลีบ  นิ้วงอ  เป็นแผลที่ฝ่ามือฝ่าเท้า  เท้าตก  ความพิการเหล่านี้สามารถป้องกันได้  โดยรีบมารับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น  และดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ 

โรคเรื้อนรักษาหายได้

                โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้  ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ  ผู้ป่วยชนิดไม่ติดต่อ  ใช้เวลารักษาเพียง 6 เดือน   ส่วนผู้ป่วยชนิดติดต่อ  ใช้เวลารักษา 2 ปี  ขณะรับการรักษา  ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและทำงานได้ตามปกติ  ไม่จำเป็นต้องแยกตัวไปรักษาในโรงพยาบาล  หรือนิคมโรคเรื้อน  ยกเว้นกรณีที่เกิดอาการโรคแทรกซ้อนอย่างรุนแรง 

การวินิจฉัย : ทำได้โดย

      1. ใช้อาการและอาการแสดงทางคลินิก (ตรวจพบรอยโรคผิวหนังที่มีลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อน , มีอาการชาที่รอยโรค , พบว่ามีเส้นประสาทโต)
2.
 ใช้วิธีกรีดผิวหนัง  (slit skin smear) ไปทำการย้อมด้วยสีทนกรด (acid fast stain)
3.
  ใช้วิธีตัดชิ้นเนื้อไปดูพยาธิสภาพ (biopsy) การรักษาโรคเรื้อนหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วตั้งแต่แรกก็จะสามารถป้องกันผู้ป่วยจากความพิการได้ การรักาโรคเรื้อนใช้ multi – drug (MDT) ซึ่งแนะนำโดย WHO จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ผู้ป่วยประเภทเชื้อน้อย  (Paucibacillary Leprosy) ระยะเวลารักษานาน  6  เดือน  โดยใช้
1.1
Refampicin  600มก.  เดือนละครั้ง (กินต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
1.2
Dapsone  100  มก.  ต่อวันทั้งเดือน

2.  ผู้ป่วยประเภทเชื้อมากระยะเวลาการรักษานาน  2  ปี  โดยให้
2.1
 Refampicin  600มก.  เดือนละครั้ง (กินต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
2.2
 Dapsone  100  มก.  ต่อวันทั้งเดือน
2.3
 Clofazimine  300  มก.  เดือนละครั้ง  (กินต่อหน้าเจ้าหน้าที่)  และทานต่อที่บ้าน  50  มก.ต่อวันทั้งเดือน  

ขนาดยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อนในผู้ป่วยเด็ก

      1. Daposone  คิดตามน้ำหนักตัว  :  1 – 2  มก. ต่อร้ำหนักตัว  1  กก.
2.
 Rifampicin  คิดตามน้ำหนักตัว  :  10  มก.ต่อน้ำหนักตัว  1  กก.
3.
 Clofazimine  คิดตามอายุดังนี้

updateanimat.gif (670 bytes)   ดูรายละเอียดต่อที่นี่ 

หมายเลขบันทึก: 8415เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 02:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท