วิธีรักษานาฬิกาชีวิต


วิธีรักษานาฬิกาชีวิต

สาระสุขภาพ: วิธีรักษานาฬิกาชีวิต

คนเรามีเวลาวันละ 24 ชั่วโมง คุณเทียนหลาง(นามปากกา)เขียนเรื่อง “นาฬิกาชีวิต เพื่อสุขภาพ” ในสารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขลำปาง ท่านแบ่งเวลาในแต่ละวันออกเป็น 12 ช่วงๆ ละ 2 ชั่วโมง

ผู้เขียนอ่านแล้วรู้สึกประทับใจว่า เรื่องนี้ดูจะเข้ากับแนวโน้ม (trend) ใหม่ของโลก ซึ่งจะเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบเท่ๆ หรือมีการพลิกแพลงให้ดูดี ไม่ใช่ยกมาแบบทื่อๆ เรื่องนี้คล้ายกับที่อาจารย์ระเด่น อดีตผู้บริหารธนาคารฯ ท่านกล่าวว่า ต่อไปอะไร(สินค้าและบริหาร)ที่ ordinary (ธรรมดา)จะขายไม่ออก ของที่จะขายออกไปได้จะต้อง extraordinary (ไม่ธรรมดา)

ใครทำตามหลักนาฬิกาชีวิตได้น่าจะมีสุขภาพดี โดยเฉพาะการนอนเร็วหน่อย ตื่นเช้าหน่อย ถ่าย(อุจจาระ)ทุกเช้า กินข้าวเช้า ออกกำลังทุกวัน และที่โดดเด่นมากคงจะเป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ(19.00-21.00 น.) ซึ่งควรจะทำใจให้ดี เป็นบุญเป็นกุศล เตรียมเข้านอน จะได้หลับดีฝันดี

  • 01.00-03.00 น. ช่วงเวลาของตับ ควรนอนพักผ่อน ใครนอนหลับดีในช่วงเวลานี้จะทำให้หน้าอ่อนวัย
  • 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ และรับแสงแดดยามเช้า คนที่ตื่นเช้าจะมีปอดดี ผิวดี
  • 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ จึงควรขับถ่ายให้เป็นนิสัย โดยดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว หรือดื่มน้ำผสมมะนาว ลำไส้ใหญ่จะได้แข็งแรง
  • 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ควรกินข้าวเช้า คนที่ไม่กินข้าวเช้าจะเป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล หน้าแก่เร็ว
  • 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะทำงานหนัก ให้พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนในช่วงนี้
  • 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด และหาทางระงับความตื่นเต้น
  • 13.00-15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ควรงดอาหารทุกประเภท(ยกเว้นน้ำ) เพื่อให้ลำไส้เล็กได้ทำงานเต็มที่
  • 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ควรออกกำลังกาย หรืออบตัวให้เหงื่อออกมากๆ และไม่กลั้นปัสสาวะ
  • 17.00-19.00 น. ช่วงเวลาของไต ควรทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
  • 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ หลีกเลี่ยงเรื่องเร้าใจ เช่น ไม่ควรดูหนังโทรทัศน์ ไม่ควรดูข่าวนราธิวาส(ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง “ฆ่า-เชือด-เผา”) ฯลฯ เป็นการเตรียมกายเตรียมใจไว้สำหรับการเข้านอน
  • 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาของระบบความร้อน ไม่ควรอาบน้ำเย็น เพราะจะป่วยง่าย
  • 23.00-01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ โดยดื่มน้ำให้พอตลอดทั้งวัน ถ้าร่างกายขาดน้ำในช่วงนี้ น้ำดีจะข้น ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียว จามตอนเช้า หรือปวดหัวได้ง่าย

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > เทียนหลวง. สรรหาเรื่องมาเล่า. สารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขลำปาง. ปีที่ 8. ฉบับที่ 48. กันยายน-ตุลาคม 2548. หน้า 4.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
  • เชิญอ่านสาระน่ารู้ที่นี่...www.gotoknow.org/talk2u
  • โปรดปรึกษาแพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่านก่อนนำคำแนะนำไปใช้
    โดยเฉพาะท่านที่มีโรคประจำตัว // ขอขอบคุณ
หมายเลขบันทึก: 8375เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2005 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
มีประโยชน์มากจริง ๆ ครับสำหรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ขอขอบคุณอาจารย์และชาว nuqakm blog... ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีครับ

อ่านแล้วได้นำไปบอกเล่าให้เพื่อนร่วมงานในห้องฟังค่ะ หลายคนบอกว่าต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตามนาฬิกาชีวิตของอาจารย์ โดยเฉพาะช่วงเวลา ดังนี้ค่ะ

07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ควรกินข้าวเช้า คนที่ไม่กินข้าวเช้าจะเป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล หน้าแก่เร็ว

01.00-03.00 น. ช่วงเวลาของตับ ควรนอนพักผ่อน ใครนอนหลับดีในช่วงเวลานี้จะทำให้หน้าอ่อนวัย

(เพราะแต่ละคนอายุเหลือน้อยเต็มที)

โอ้โฮดีมากเลยค่ะ  ดิฉันกำลังต้องการข้อมูลนี้ที่จะนำไปเขียนบทความ  เรื่อง  ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน  ขอบคุณมากเลยค่ะอาจารย์หมอ
ขอขอบคุณอาจารย์ p.porn + อาจารย์สิริพร + ท่านผู้อ่านทุกท่าน... >>> ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพดี มีเวลาให้กับนาฬิกาชีวิตทุกท่านครับ...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะครับ

สวัสดีปีใหม่คุณหมอค่ะ

คุณหมอให้คำแนะนำในเรื่องสุขภาพที่ดีๆ แก่ทุกๆคนมามากแล้ว ขอให้บุญนี้ จงสนองกลับไปสู่คุณหมอ ให้คุณหมอและครอบครัวมีแต่ความสุข ความเจริญนะคะ และสุขภาพแข็งแรง อายุยืน 120 ปีเลยค่ะ

ได้อ่านความรู้ที่คุณหมอนำมาฝากแล้วค่ะ นับว่าเป็นของขวัญปีใหม่ที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขออนุญาตส่งต่อเพื่อเป็นวิทยาทาน แก่เพื่อนด้วยนะคะ

เป็นความรู้ที่ใหม่ดีค่ะ  ขอบคุณค่ะที่สรุปมาให้ได้ร่วมเรียนรู้ด้วยคน 

มีคำถามค่ะ นาฬิกาชีวิตที่กล่าวถึง เป็นคำเดียวกับคำว่า  biological clock ใช่ไหม

แล้วคนที่ผ่านกาลเวลา ไปอยู่คนละเส้นรุ้งเส้นแวง จะปรับนาฬิกาชีวิตให้สอดคล้องอย่างไรดี

คนที่มีนาฬิกาชีวิตคนละเวลากับที่กล่าวไว้ เพระหน้าที่การงาน จะปรับนาฬิกาของตนเองยังไงดีค่ะ 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณภูคา

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับภาพ และความปรารถนาดีในโอกาสปีใหม่
  • ขอให้ท่านอาจารย์ได้รับพรนี้ และขอท่านผู้อ่านทุกท่านทุกคน... โปรดได้รับพรจากท่านอาจารย์ sasinanda เช่นกันครับ

ขอขอบคุณ... คุณ Maisky.s

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ
  • ขออนุโมทนาที่คิดจะเผยแพร่ความรู้เป็นวิทยาทาน (ให้เพื่อน หรือใครก็ได้) ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณ... คุณ "หมอเจ๊"...

  • เรื่องการแพทย์ตะวันออกนี่... หลายๆ เรื่องมีมิติ มุมมองที่ต่างจากวิทยาศาสตร์สายตะวันตก

แพทย์จีนมีแนวคิดเกี่ยวกับเวลาต่างออกไปจากนาฬิกาเวลา (biological clock)

  • ผมเพิ่งไปอินเดีย-เนปาลมา
  • อาจารย์ใหญ่(ชื่อพระ)ท่านบอกว่า อินเดียเขาก็มีความคิดอะไรเป็นแบบของเขา เช่น แขกชอบอาบน้ำตอนเช้า ไม่ชอบอาบน้ำตอนเย็น อ้างว่า สุริยะ(พระอาทิตย์)อยู่ในขาขึ้นตอนเช้า อยู่ในขาลงตอนเย็น ฯลฯ

เหตุผลที่ลึกลงไปเกี่ยวกับแพทย์แผนจีนนี่... ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ ขออภัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท