บทเรียนกลุ่มการเงิน3ตำบลเพื่อเตรียมขยายผล(แนวคิดผู้ว่าวิชม ทองสงค์)


การบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาครัฐโดยให้ชุมชนเป็นแกนกลางของการพัฒนาจะช่วยให้พลังที่มีอยู่โฟกัสอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งการรวมพลังกันทำงานและวิธีการจัดการความรู้ซึ่งช่วยให้การรวมพลังกันทำงานมีเป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนคือแก่นสำคัญที่ท่านผู้ว่าเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมากและต้องทุ่มเทหมดหน้าตัก

เมื่อวาน(28พ.ย.)มีประชุมสรุปบทเรียนการเรียนรู้ของคุณกิจโครงการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐจัดการความรู้กลุ่มการเงิน 3 ตำบล มีท่านผู้ว่า ผอ.ธกส. และอ.จำนงซึ่งเป็นคณะวิทยากรที่จะขึ้นเวทีเล่าประสบการณ์วันที่ 2 ธ.ค.ในงานมหกรรมจัดการความรู้ขึ้นมาเล่าแนวคิดและสรุปบทเรียนในส่วนของคุณเอื้อและคุณอำนวย ผมเองก็ได้เล่าความเป็นมาได้หน่อยหนึ่งด้วย จึงเป็นการซักซ้อมการนำเสนอของพวกเราในงานมหกรรมจัดการความรู้วันที่2ไปในตัว ท่วงทำนองและเนื้อหาที่พูดเมื่อวาน คนฟังข้างล่างชมว่า ดีมากโดยเฉพาะการเล่าแนวคิด ความใฝ่ฝันของท่านผู้ว่าซึ่งผมสรุปได้ 2 ประเด็นคือ 1)ท่านมีกรอบคิดกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง 6 ขั้นตอน 2)ท่านเห็นปัญหาการทำงานของส่วนราชการที่ต่างคนต่างทำตามแผนงานโครงการของตนเอง

โครงการนี้ท่านทุ่มเทสุดตัวอาจเรียกว่าหมดหน้าตักก็ได้เพื่อมาเชื่อมโยงกับฐานคิดและคอขวดของปัญหาการพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งท่านประสบอยู่  


  การจัดการความรู้เข้ามาเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในขั้นตอนที่2-4หรืออาจจะตลอดกระบวนการทั้ง 6 ขั้นตอนก็ว่าได้ การบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาครัฐโดยให้ชุมชนเป็นแกนกลางของการพัฒนาจะช่วยให้พลังที่มีอยู่โฟกัสอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งการรวมพลังกันทำงานและวิธีการจัดการความรู้ซึ่งช่วยให้การรวมพลังกันทำงานมีเป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนคือแก่นสำคัญที่ท่านเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมากและต้องทุ่มเทหมดหน้าตัก ท่านได้นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ 3 วงคือวงคุณกิจ คุณอำนวยและคุณเอื้อในที่ประชุมทุกที่ที่ท่านมีโอกาสพูดจนกลายเป็นวาทกรรมการพัฒนาของท่านไปแล้ว โดยเสนอให้ขับเคลื่อนงานด้วยแนวทางดังกล่าวลงไปต่อยอดเสริมทัพการขับเคลื่อนของภาคชุมชนซึ่งน้าประยงค์ รณรงค์กำลังดำเนินการอยู่ใน 400 หมู่บ้านในปี 2549 นี้ ปีต่อไป 600 หมู่บ้าน ถัดไปอีก600หมู่บ้านให้ครบทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการเสริมพลังระหว่างภาคชุมชนกับภาคราชการซึ่งเป็นแนวคิดที่สมบูรณ์มาก

เรื่องที่ต้องเข้ามาเสริมคือ กลไกการดำเนินงาน ซึ่งการจัดการความรู้กลุ่มการเงิน 3 ตำบลที่พวกเราร่วมกันดำเนินการจะเป็นบทเรียนสำคัญให้พวกเราดำเนินการขยายผลโครงการ 400 หมู่บ้าน  ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น เราจะจัดทีมคุณเอื้อ คุณอำนวยและคุณกิจและระบบประสานงานกันอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องหารือกันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 8371เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2005 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความคิดขณะอ่านเนื้อหา

   ๑. กรอบคิดกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ๖ ขั้นตอนคืออะไรบ้างหนอ และโทษในใจว่า ก็เราไม่ไปฟังเองนี่นา

   ๒. ภาคใต้บ้านเรา ดูเหมือนจะคึกคักดีจริงๆ "อยากกลับบ้าน แต่ อ.สุรางค์เคยบอกว่า อย่าทำงานที่บ้านเลย เพราะจะเกิดปัญหาหลายอย่าง ใจหนึ่งก็อยากกลับอยู่ดี อยากทำอะไรหลายๆ อย่างให้กับหมู่บ้านที่ยังก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ยังมีเวลาว่างให้กับการเล่นไพ่ แทนที่จะตั้งกลุ่มทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่ดีกว่านั้น (อาจไม่ดีกว่าก็ได้) จำนวนหนึ่ง ให้เวลาว่างกับละครโทรทัศน์ ซึ่งน่าจะมีอะไรที่ดีมากกว่านั้นก็เป็นได้ ฯลฯ

กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ๖ ขั้นตอน คือ
๑.ความเป็นประชาคม

๒.ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ การจัดการความรู้

๓.ความมีประสิทธิภาพของชุมชน

๔.เกิดแผนแม่บทชุมชน

๕.การปฏิบัติตามแผน

๖.มีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ

คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท