KM กับหน่วยราชการต้นแบบ


KM กับหน่วยราชการต้นแบบ

         ในการประชุม อกพร. กระบวนทัศน์   วันที่ 28 พ.ย.48   มีการนำเสนอ "โครงการสร้างต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  วัฒนธรรม  และค่านิยม"  โดยมีเป้าหมาย
     1. เพื่อเสาะแสวงหาหน่วยงาน  ข้าราชการและทีมงานที่เป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ดี   เป็นกรณีศึกษาเพื่อนำมาเป็นรูปแบบเพื่อการขยายผล   โดยคัดเลือกหน่วยงานต้นแบบที่ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์   บนพื้นฐานการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่   และคัดเลือกข้าราชการและทีมงานต้นแบบ
     2. เพื่อศึกษาต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ดีว่ามีวิธีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างไร   เพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติ
     3. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น   เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

ผลผลิตของโครงการได้แก่
     1. รวมหน่วยงานตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้ (Excellent Model)
     2. กรณีศึกษา (Case Study)
     3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)
     4. รายงานผลการจัดงานเพื่อมอบรางวัล
     5. คู่มือการปรรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
     6. แนวทางการสนับสนุนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (คู่มือ)

ใช้แนวทางดำเนินการ 2 แนวทางประกอบกัน  คือ
     1. แนวดำเนินการเชิงทฤษฎี (Theory) จะทบทวนองค์ความรู้ด้าน
          - แนวคิดในการพัฒนาระบบราชการ New Public Management Model & Good Governance Model VS. Weberian Model ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
         - แนวคิดของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง   มีสมมติฐานว่า Paradigm Shift ขึ้นกับหลายปัจจัย  เช่น Socialization,  Learning,  Role Model, etc.
         - แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อการพัฒนา (Share Learning)
      2. แนวคิดด้านการปฏิบัติ (Practice) มีการดำเนินการ
         - เสาะหาหน่วยงานที่มี Best Practice มาประเมินและ short - list
         - ทีมวิจัยเข้าไปศึกษาหน่วยงานแบบฝังตัว
         - ทีมวิจัยร่วมทำ action learning กับหน่วยงาน
         - ได้องค์ความรู้จากองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรม

         โครงการนี้ระยะเวลา 19 เดือน   จะสิ้นสุดโครงการเดือน ธ.ค.49   ใช้เงินกู้ธนาคารโลก   มี ศ. ดร. ชาติชาย  ณ เชียงใหม่ รักษาการหัวหน้าโครงการ   นักวิจัยได้แก่ ดร. ชุติมา  หาญเผชิญ,   ดร. วิลาสลักษณ์  ชัววัลลี (ผอ. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.),  ดร. องอาจ  นัยพัฒ (มศว.),  ดร. วิรินธ์  กิตติพิชัย (มม.),  ดร. สมบัติ  กุสุมาวลี (นิด้า)   และ ดร. จุฑามาศ  แก้วพิจิตร (นิด้า)   มีที่ปรึกษา 2 คนคือ  รศ. ดร. อภิญญา  รัตนมงคลมาศ   กับผม

เรื่องนี้มี KM เป็นองค์ประกอบหรือเครื่องมือสำคัญอยู่อย่างน้อย 2 ตอนได้แก่
     (1) การทำ short - list หน่วยงานที่มี Best Practice   น่าจะใช้วิธีเลือกมา 3 - 4 เท่าของจำนวนหน่วยราชการที่ต้องการ   ให้นำ Best Practice ตามเกณฑ์ที่กำหนดมาทำ storytelling สู่กัน   ข้อมูลจากพื้นที่แลกเปลี่ยนกับจาก site visit จะนำไปสู่การได้หน่วยงานต้นแบบ
     (2) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ควรเป็น KM Network

วิจารณ์  พานิช
 28 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 8354เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2005 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบเรื่อง  การเรียนรู้แบบเครือข่าย

ไม่ทราบว่าจะหาได้ที่ไหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท