ความรู้สู่ศรัทธา


รสชาติของชีวิตที่ไม่ต้องเติมผงชูรส อุมมุ มุญาฮิด สูงสุดแห่งความรู้...ที่ ชีวิตแสวงหา ครั้งแรกที่สัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้าได้ ส่งผ่านสู่มนุษยชาติโดยท่านนบีนั้น อัลลอฮฺได้ทรงชี้นำและสั่งใช้ใน เรื่องความรู้จากการอ่าน และเรื่องการเรียนการสอน “จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรง บังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้า
ของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ใน สิ่งที่เขาไม่รู้” (อัลอะลัก :1-5)จะเห็นได้ ว่า อายะฮฺแรกๆที่ ประทานลงมานั้นอัลลอฮฺทรงเปิดเผยสัจธรรมให้กับ มนุษย์ ด้วยการสั่งใช้ให้หาความรู้และขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเปิดเผย ให้มนุษย์ได้รู้ถึงความรู้ที่สำคัญที่สุด นั่นคือใครคือผู้สร้าง และผู้ที่ทำให้เขามีความรู้นั้นคือใคร เหตุผลที่ความรู้นี้เป็นความรู้ที่สำคัญที่สุดก็เพราะเป็นคำตอบของการมีอยู่ทั้งหมดของทุกสรรพ สิ่งรวมถึงการมีอยู่ของมนุษย์ทุกคน ชีวิตของเขา และทุกสรรพสิ่ง ด้วยความรู้ที่ให้คำตอบต่อคำถามแห่งชีวิต เป็นที่มาของแนว ทางแห่งสัจธรรม ด้วยเหตุนี้ความรู้เรื่องพระเจ้า (เตาฮีด) จึงถือเป็น ความรู้ที่สูงที่สุดและสำคัญที่สุดในอิสลามจากความรู้....สู่วิถีแห่งการยอมจำนน เมื่อความรู้ได้ผ่านกระบวนการของสมองและหัวใจจนกลายเป็น ความศรัทธาแล้ว การปฏิบัติต่อความรู้ที่ได้คือวิถีแห่งศรัทธาในรูปแบบของการปฏิบัติ(การบูชาหรืออิบาดะฮฺ)ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนจากความรู้ เรื่องเตาฮีด ด้วยความรู้สึกที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ เป็นความสอด คล้องแห่งการสร้างที่สมบูรณ์แบบยิ่ง “และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใดเว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า (อิบาดะ ฮฺ)”(อัลกุรอาน 51:56)และดังคำพุดของท่านอิบนิตัยมิยะฮฺ ที่อธิบายถึงความรู้สึกของมนุษย์ที่มีต่ออัลลอฮฺ ว่า  “ความโหยหาของมนุษย์ที่มีต่ออัลลอฮฺ นั้นคือความ ต้องการที่จะบูชา(อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ”วิธีการและรูป
แบบต่างๆที่มนุษย์จะปฏิบัติเพื่อตอบสนองการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺนั้นพระองค์ได้ทรงชี้นำและกำหนดโดยแบบอย่างที่ประเสริฐที่สุดคือท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.)ไว้อย่างชัดเจน ในฐานะผู้นำสาสน์แห่งสัจธรรมามาสู่มวล มนุษยชาติ “โดยแน่นอนในผู้นำสาสน์ของอัลลอฮฺ(มูฮัมหมัด)มีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว”(อัลกุรอาน 33: 21)  “และอันใดที่ศาสนทูตนำมมา ก็ให้ยึด ไว้ และอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย”(อัลกุรอาน 5:97)จากศรัทธา...สู่การสะท้อนคุณค่า แห่งการมีชีวิต การยอมสยบต่อสัจธรรมด้วยการอิบาดะฮฺนั้น ทำให้ชีวิตของมนุษย์พบกับความสงบ แต่วิถีทางที่ทำ  ให้ชีวิตมนุษย์มีคุณค่าก็คือการยืนหยัดในการเรียกร้องหรือเชิญชวนสู่สัจธรรม (ดะวะฮฺ) เพราะ“มันคือการสะท้อนความศรัทธาที่เชื่อมั่นจากจิตวิญญาณ” ของเขาเอง ในความรู้แห่งสัจธรรมที่เขามีอยู่ซึ่งเป็นภารกิจที่ท่านนบีได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าเพื่อนำมนุษย์ออกจากความมืดมนสู่แสงสว่าง  “คัมภีร์เล่มหนึ่งที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า (มูฮัมหมัด)เพื่อให้เจ้านำมนุษย์ออกจากความ มืดมนทั้งหลายสู่แสงสว่าง” (อัลกุรอาน14:1) และภารกิจแรก และภารกิจหลักในการเรียกร้องเชิญชวนก็คือการเรียกร้องให้มนุษย์รู้ว่าอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มนนุษย์ต้องยอมสยบ  “สิ่งแรกที่ท่านต้องเชิญชวนพวกเขาก็คือให้พวกเขายืนยันในเอกภาพของอัลลอฮฺ (เตาฮีด)” บันทึกโดยบุคอรียฺ    นั่นคือเนื้อหาหรือหัวใจหลักในภารกิจ นี้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือผู้เรียกร้องทุกคนต้องตระหนักถึงขอบเขตของคนว่ามีหน้าที่เพียงประกาศเท่านั้น  ส่วนการยอมรับ หรือตอบรับในศรัทธานั้นเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺที่ประสงค์จะให้หัวใจเขายอมรับหรือ ไม่ขอบเขตเรื่องนี้อัลลอฮฺก็ทรงเน้นย้ำไว้อย่างชัดเจนต่อผู้ที่เป็นแบบ อย่างแห่งการประกาศสัจธรรมว่า หน้าที่ของท่านคือเป็นผู้เรียกร้องและ ประกาศความจริงเท่านั้น “แท้จริงเจ้าเป็นเพียง ผู้ตักเตือนเท่านั้น”(อัลกุรอาน 11 :12)“จงกล่าวเถิดว่า (มุอัมมัด) ว่าฉันไม่มีอำนาจที่จะครอบครองประโยชน์ใด ๆและโทษใด ๆ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตัวของฉันได้นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์เท่า นั้น ......   ....ฉันมิใช่ใครอื่น นอกจากผู้ตักเตือนและผู้ประกาศข่าวดีแก่กลุ่มชนที่ศรัทธาเท่านั้น”(อัลกุรอาน 7 :188)นี่คือวิถีทางแห่งความรู้ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกถึงการมีชีวิตอยู่ เป็นวิถีแห่งการตอบสนองต่อศรัทธาที่ทำให้ชีวิตรู้สึกว่ามีคุณค่านั่นเองความรู้ดุนยา...มีค่า...หรือว่าเพียงผงชูรส  แม้ความรู้ที่สำคัญที่สุดในอิสลามคือเรื่องพระเจ้า แม้อิสลามจะให้น้ำหนัก และให้ความ สำคัญกับความรู้ที่เป็นแนวทางแห่งชีวิตเป็นหลัก แต่อิสลามก็ไม่ได้จำกัด การแสวงหาความรู้เพียงเรื่องดังกล่าวเท่านั้น อิสลามอนุญาติและส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ซึ่งต้องไม่ขัดกับหลักศรัทธาที่เราได้ยอมรับแล้วว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า  รวมถึงการให้ความสำคัญกับความรู้นั้นอิสลามอิสลามทั้งสั่งใช้และรับรองผู้แสวงหาความรู้ไว้อย่างชัดเจนจากคำยืนยันจากท่านนบีว่า  “ผู้ใดอยู่บนหนทางของการแสวงหาความรู้แน่แท้อัลลอฮฺ จะทรงประทานหนทางที่ง่ายดายสู่สรวงสวรรค์ให้แก่ เขา” (ติรมีซียฺ)อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวิทยาการด้านความรู้มีความแพร่หลายมาก มีทั้งวิชาการที่เกี่ยวกับความรู้อิสลาม และความรู้ สาขาต่างๆ รวมถึงมีทั้งนักวิชาการที่มีความรู้ในสาขาต่างๆ ทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมมากมาย วิชาการเหล่านี้บางครั้งเราเรียน รู้ตามสาขาวิชาที่ศึกษา หรือบางครั้งก็แสวงหาตามความชอบซึ่งการเอาประโยชน์จากความรู้ล้วนเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันชี้ให้เห็นถึงการ เอาใจใส่ในความรู้ เช่นคนหนุ่มสาวบางคนอาจจะชอบนักเขียน ติดตามผลงานวิชาการ หรืองานวรรณกรรมของนักเขียนชื่อดัง จะด้วยเนื้อหา ความ รู้ที่มีสาระปนวิชาการที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ทำให้รู้สึกอร่อย หรือ ย่างไรก็ตาม  จงอย่าลืมว่าการที่เราศึกษาความรู้อื่นๆหรือชอบการนำเสนอความรู้แบบอื่นๆ (ที่อาจน่าสนใจและไม่ขัดกับหลักการ) แล้วปล่อยให้บุคคลหรือผลงานของนักวิชาการเหล่านั้นมามีอิทธิพลกับเรามากกว่า ความรู้อิสลาม  หรือนักวิชาการมุสลิม (ซึ่งพวกเขาชี้นำเราสู่อิสลาม)และที่สำคัญความรู้นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับงานดะวะฮฺหรือสังคมมุสลิม ก็ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทบทวนและตรวจสอบดูว่า ความ อร่อยในความรู้อื่นจากอิสลาม หรือนักวิชาการที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น แม้จะ เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในแง่ของดุนยาแต่หากมันไม่ได้นำสมองและหัวใจเราไปสู่อัลลอฮฺมันก็ไม่มีค่าอะไรและยังเป็นผลร้ายกับเราในท้ายที่สุด “บุคคลใดศึกษาหาความรู้ (ทางศาสนา)เพื่อความพึงพอใจของอัลลอฮฺแล้วเขาจะต้องไม่ศึกษาเพื่อจะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินในโลกนี้(หรือเพียงเพื่อผลประโยชน์ในดุนยา) หาไม่แล้วในวันกียามะฮฺเขาจะไม่ได้พบกลิ่นสวรรค์เลย ”โดยอบูดาวูด ด้วยสายสืบที่ศอหิฮฺ เพราะที่จริงแล้ว ความรู้ที่เรารู้สึก “อร่อย” แต่ไม่ได้นำเราไปสู่อัลลอฮฺ มันก็คือ “ผงชูรส” ดีๆนั่นเอง!
หมายเลขบันทึก: 83340เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท