MSU KM สู่นิสิต ยกที่ 1 : ปูพรมทางความคิด - ก่อนการออกเดินทางของ “ค่ายภาคฤดูร้อน”


“นิสิต หรือผู้นำนิสิตเหล่านี้มีความรู้ฝังแน่นตกตะกอนอยู่ในตัวตนของพวกเขาอยู่แล้ว” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจริง”

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมและทีมงานตื่นเต้นเป็นพิเศษกับการจัดโครงการการจัดการความรู้ด้านกิจกรรมสู่นิสิต :  ภาคค่ายฤดูร้อน  ประจำปีการศึกษา  2549  เพราะนี่คือครั้งแรกที่ขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ด้านกิจกรรมไปสู่นิสิต เป็นครั้งแรกของคณะเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตที่จะนำนิสิตเข้าสู่เวทีจัดการความรู้</p>

ผมยอมรับว่าตื่นเต้นไม่แพ้คนอื่น  แต่มิได้วิตกกังวลกับความใหม่ที่ไม่คุ้นเคยเลยแม้แต่น้อย  เพราะเหนือสิ่งอื่นใดผมเชื่อและตระหนักว่า นิสิต หรือผู้นำนิสิตเหล่านี้มีความรู้ฝังแน่นตกตะกอนอยู่ในตัวตนของพวกเขาอยู่แล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้และประสบการณ์ด้านกิจกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจริง   เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีใครชวนคิด !  ชวนทำ !  และชวนสร้างเวทีเกี่ยวกับการจัดการความรู้อย่างเป็นทางการเท่านั้นเอง !

</span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p>ผมไม่เคยลังเลต่อการเชื่อว่านิสิตของ มมส  มีศักยภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่านิสิตของสถาบันอื่น ๆ  เพราะจากชีวิตที่ฝังตัวอยู่ใกล้ชิดกับพวกเขา   การได้มีโอกาสรับรู้และสัมผัสความคิด หรือแม้แต่การปฏิบัติจริงในวิถีกิจกรรม  ยิ่งทำให้ผมมั่นใจว่า ขุนพลกิจกรรม  ทั้งหลายต่างมี ความรู้ที่ฝังอยู่ในตน  (Tacit  Knowledge)  อย่างมากมายมหาศาล  อัดแน่นด้วยทักษะ  (Skill)  จัดเจนด้วยประสบการณ์  (Experience)  และเรื่องบางเรื่องของกิจกรรมแห่งยุคสมัยเช่นนี้  ผมก็เชื่ออยู่ไม่น้อยว่า  บางที,  พวกเขารู้และจัดเจนมากกว่าผมด้วยซ้ำไป !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภายหลังการหารือร่วมระหว่าง  ผม คุณวัฒนพงษ์  คงสืบเสาะ (หัวหน้างานกิจกรรม)  และคุณวิฑูรย์   เหลือพล (จนท. หนุ่มใหม่ไฟแรง)  ผมไม่ชักช้าและโยเยที่จะสั่งให้ขับเคลื่อนแนวคิดเช่นนี้อย่างทันที  พร้อมกับสั่งโละแนวคิดโครงการปฐมนิเทศการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ที่เคยจัดต่อเนื่องมาทิ้งไป   หันมาปรับแต่งรูปลักษณ์โครงการเสียใหม่จากการนั่งฟังในแบบปฐมนิเทศมาเป็น นั่งฟัง นั่งคิด  ร่วมคิด ร่วมสร้าง  ตามสไตล์ของกระบวนการจัดการความรู้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กรอบแนวคิด :  ที่มาที่ไปและวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนในยกที่ 1</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่านิสิตที่ทำกิจกรรมมีความรู้ฝังแน่นอยู่ในตัวตนกันทุกคน  หากแต่ยังขาดเทคนิคและความเข้าใจในการขับถ่ายผลึกความรู้ หรือ พลังทางปัญญาเหล่านั้นออกมาสู่สาธารณชน  เราในฐานะคนดูแลและเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพของนิสิต  จึงจำเป็นต้องเร่งระดมการสร้าง เวทีทางความคิด  ให้พวกเขาอย่างไม่ล่าช้า  โดยถือเอาช่วงที่นิสิตเหล่านี้กำลังจะเคลื่อนองค์กรออกไปจัดกิจกรรมนอกสถานที่ (ค่าย)  หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เทศกาลค่ายภาคฤดูร้อน  ภายใต้ชื่อโครงการ   การจัดการความรู้ด้านกิจกรรมสู่นิสิต :  ภาคค่ายฤดูร้อน  ที่มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1. เพื่อให้นิสิตเกิดองค์ความรู้และตระหนักในความสำคัญของการจัดการความรู้ทั้งต่อตนเองและองค์กร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>2. เพื่อให้นิสิตได้แลกเปลี่ยนทัศนะว่าด้วยการบริหารและดำเนินการด้าน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมระหว่างองค์กรต่าง ๆ  เพื่อก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างมีกระบวนทัศน์และทิศทางที่ชัดเจน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">3.  เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้วัฒนธรรมแห่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตนเองและองค์กร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">4.   เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์และศิลป์ของการจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งระหว่างนิสิตกับนิสิตและนิสิตกับชุมชน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">5. เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริการชุมชน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><h1> รูปแบบ KM ยกที่ 1  :   นั่งฟัง นั่งคิด  ร่วมคิด ร่วมสร้าง    </h1><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมสร้างกระบวนงานการจัดการความรู้ด้านกิจกรรมสู่นิสิตในแบบฉบับของผม  ,  โดยอาศัยวิธีคิดที่คลุกคลีอยู่กับนิสิตมายาวนาน  ไม่เน้นนำวิชาการว่าด้วย KM  เต็มรูปมาชูประเด็น  แต่ผมเน้นการสร้างแรงเร้าให้เกิดความสนใจด้วยการนำ บันทึก ของตนเองที่เขียนไว้ในบล็อกมาเรียกน้ำย่อย  พร้อมกับบอกกล่าวต่อพวกเขาว่า นี่คือส่วนหนึ่ง  หรือวิธีการหนึ่งของการจัดการความรู้  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้ยังเน้นย้ำว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรง,   เกิดขึ้นจากพลังกาย พลังสมองและสองมือของพวกเขาทั้งสิ้น  ผมทำหน้าที่แต่เพียงผู้นำสารไปสู่สาธารณะ  และเฝ้าหวังเสมอมาว่า สักวันหนึ่ง,   พวกเธอทั้งหลายจะลุกขึ้นมาเล่าเรื่องราวเหล่านี้ด้วยตนเองเพราะเรื่องของเธอ  เธอก็ควรเล่าด้วยวิธีของเธอเอง ! ”  </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เชื่อหรือไม่ครับ…ได้ผลไม่น้อย,  หลายคนให้ความสนใจต่อเรื่องราวเหล่านั้น  ตั้งหน้าตั้งตาอ่านและขบคิดชวนฝันอยู่อย่างใจจดใจจ่อ  บางคนมีแว้บมาคุยมาถามผมว่า เขียนได้ไง .., อยากเขียนบ้าง,…  ซึ่งผมก็ย้ำหนักแน่นว่ามันเป็นเพียงวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีเท่านั้น  แต่การเขียนเราทำได้ง่าย  เพราะเป็นเสมือนการเขียนบันทึกประจำวันดี ๆ นี่เอง  เพียงแต่เรื่องราวที่เขียนดูจะเป็นวิชาการและสาระมากกว่าบันทึกลับส่วนตัวที่เราขีด ๆ เขียน ๆ ระบายอารมณ์และชื่นชมบางคนบางเรื่องที่ผ่านเข้ามาในวันต่าง ๆ  ของเราเป็นที่ตั้ง  (เท่านั้นเอง)</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ครั้งนี้ผมและทีมงานกำหนดรูปแบบกิจกรรม 2  ส่วน  คือ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1.  ภาคเช้า :  นั่งฟังและนั่งคิด  </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทีมงานของเราเน้นรูปแบบภาคเช้าด้วยการ ปูพรมทางความคิด  โดยการเรียนเชิญ รศ.สุรชา  อมรพันธุ์  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและเขตพื้นที่มาให้โอวาทและข้อคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมค่ายนอกสถานที่  รวมถึงการเรียนเชิญอาจารย์มงคล  คาร์น  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต  มาบรรยายเรื่อง กิจกรรมนิสิตกับมิติการเรียนรู้ชุมชน   ซึ่งอาจารย์มงคล คาร์น  ก็นำเรื่อง KM  มาสอดแทรกไว้อย่างไหลลื่น  พร้อมพูดคุย ซักถามและแลกเปลี่ยนกันประปราย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">รศ.สุรชา  อมรพันธุ์  ประธานเปิดงาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ.มงคล  คาร์น : ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  2.  ภาคบ่าย :  ร่วมคิดและร่วมสร้าง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังการปูพรมทางความคิดในภาคเช้า  ทีมงานได้แบ่งกลุ่มระดมความคิด 4 กลุ่มใหญ่  โดยไม่เน้นการบังคับจับกลุ่ม  แต่ให้เลือกที่จะไปเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ  ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของกิจกรรมเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในค่ายตนเองสู่เพื่อนต่างองค์กรได้ร่วมรับฟัง  เป็นการทะลายกำแพงความคิด,  ทุบกะลาที่ครอบองค์กรตนเองออกแล้วก้าวมาสู่การแบ่งปันและรับรู้เรื่องราวของกันและกัน  ซึ่งอาจก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่กว้างไกลและหลากหลาย  เพื่อนำไปสู่การบูรณาการทางความคิดที่สามารถประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมองค์กรต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ประกอบด้วย  กลุ่มที่ 1  (การบริหารและการจัดการค่าย)  กลุ่มที่  2 (ทิศทางของค่ายในอนาคต)  กลุ่มที่ 3  (ศิลปะการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน)  กลุ่มที่  4  (เรื่องเล่าเร้าพลังคนชาวค่าย)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในทุกกลุ่ม แต่ละคนจะได้บอกเล่าเรื่องราวของตนเอง รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กรตนเองให้เพื่อนฟัง  จากนั้นก็จะเข้าสู่การระดมความคิดในประเด็นที่กำหนดให้  พร้อมการนำเสนอในเวลาถัดมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โปรดติดตามตอนต่อไป ….</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     

หมายเลขบันทึก: 83272เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ทำไงหรอค่ะ ฉากหลังเป็นสีชมพู ลายตาข่ายอย่างงี้ สีสวยมาก 

ว่าจะพูดหลสยทีแล้ว สงกะสัย 

(ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่บันทึกเลยนะ แต่ว่าอยากรู้นะค่ะ)

ไมว่ากันเนาะ สงสัย แล้วอดถามไม่ได้ค่ะ

คุณกาเหว่า ครับ
P

ผมก็ไม่ทราบเลยว่าฉากหลังนี้ได้แต่ใดมา  เพราะน้องนุ้ย เจ้าหน้าที่แสนดีเป็นคนจัดการให้  เพื่อให้บันทึกผมดูเบาสบายลง 

เพราะเธอเกรงว่า  บางทีผมอาจจะเขียนข้นแข็งไปหน่อย สีสันเหล่านี้จะได้ช่วยให้ซอฟ ๆ ลงบ้าง

พรุ่งนี้ผมจะให้น้องนุ้ยจัดการบอกกล่าว...และส่งข้อมูลให้นะครับ

ยินดีเสมอครับ...

 

มีกิจกรรมดีๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกแล้ว...กิจกรรมนิสิตของ มมส โดดเด่นมากค่ะ ต้องขอปรบมือและแสดงความชื่นชม กับการทุ่มเททำงานของทั้งคุณแผ่นดินและทีมงานนะค่ะ...จะติดตามอ่านตอนต่อไปค่ะ

สวัสดีครับ  อ.แป๋ว

P

กิจกรรมนี้ผมและทีมงานจัดกันง่าย ๆ  ประหยัดงบที่สุดเท่าที่จะทำได้  อีกทั้งเราเชื่อว่านิสิตมีศักยภาพอยู่แล้ว  พอพาเขาเริ่ม อีกหน่อยเขาก็จะจัดการกิจกรรมลักษณะเช่นนี้ได้เอง

สำคัญคือ ช่วงที่ 2  เราจะตามไปเยี่ยมค่ายต่าง ๆ จัดเก็บข้อมูล ถ่ายทำเป็นสารคดี  นำมาประมวลเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

ช่วงที่ 3  เปิดเทอมเราจะนำองค์กรเหล่านี้มารวมกันอีกครั้ง  จัดเวทีให้นำเสนอผมลงานและประสบการณ์กันอย่างเต็มที่  จัดในช่วงปี 1 กำลังตื่นเต้นกับกิจกรรม  เพื่อดึงดูดให้ปี 1 เข้าร่วมกิจกรรมและตามไปเยี่ยมค่ายกับองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้

เสียดายตอนแรกผมยังอยากทำเป็น "ตลาดปัญญาชน คนชาวค่าย"  จัดนิทรรศการเรื่องราวที่จะไปออกค่าย  ให้นิสิตได้เลือกชมและเลือกที่จะเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่  แต่คราวนี้มารับงานใหม่ อะไรต่ออะไรยังไม่พร้อม เลยชะลอไว้ก่อน  รอทั้งคนของเราและรอทั้งองค์กรของนิสิต

ยังมีแรงทำกันไหวครับ

ขอบคุณครับ....

ขอชื่นชมกับกิจกรรมดีๆที่เหล่าอาจารย์มอบให้แก่นิสิต MSUค่ะได้เบ้าหลอมที่ดีผลที่ได้ย่อมดีแน่นอน..เป็นกำลังใจให้ทั้งอาจารย์และนิสิตนะคะ..

คุณโก๊ะ  ครับ

ขอบคุณแทนนิสิตและทีมงานผมทุกคนนะครับที่กรุณาให้เกียรติและให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา

เราต่างปรารถนาสร้างเบ้าหลอมที่ดีให้นิสิตเสมอครับ..ถึงแม้จะรู้ว่ายังไม่สมบูรณ์  และนิสิตส่วนหนึ่งก็เร้นหายไปจากเบ้าหลอมเหล่านี้  ..ยังไงก็ไม่สิ้นหวัง และมีความสุขที่จะทำต่อไป

ขอบคุณ (อีกครั้ง)  ครับ

 

ตามตอนต่อไป ก่อนตอนนี้เสียอีก "ผมนี่ถนัดขึ้นต้นไม้ทางปลาย"  ไม่ไหวจริง ๆ
สวัสดีครับ...
P

ตอนนี้เห็นลูกศิษย์อาจารย์มาเป็นชาวบล็อกหลายคนแล้ว...น่าชมเชยครับ

บันทึกของผมอ่านตอนไหนก่อนก็ได้..แต่สำหรับคนที่ถนัดขึ้นต้นไม้ทางปลายได้ต้องยอมรับว่าเยี่ยมยุทธ์

หรือผมจะลองเขียนบันทึกจากตอนจบมาสู่ตอนเริ่มต้นดี....ครับ   ใช้กลวิธีนี้ราวกับเขียนวรรณกรรมเรื่องสั้น นวนิยายเลย   สงสัยคนอ่านมีอันสับสน เวียนหัวเป็นแน่

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ขอบคุณครับ เจ้..

P

นำเสนออย่างนี้ในแบบสไตล์เรื่อย ๆ ของผมเข้ารูปเข้ารอย Km  บ้างอยู่ใช่ไหมครับ

  • สุดยอดค่ะ ขอชื่นชมจริงๆ
  • นิสิต มมส. โชคดีมากๆ
  • เป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกคนค่ะ

สวัสดีครับ 

P

มีความสุขเสมอที่ได้ทำอะไรให้นิสิตและมหาวิทยาลัย เพราะรู้สึกอยู่ตลอดเวลาทั้งสองส่วนมีพระคุณต่อเราเสมอมา

ขอบคุณครับ

  • โห..ทำไมถ่อมตัวแบบนั้นหละคุณแผ่นดิน   
  •  นี่แหละ KM ธรรมชาติที่เนียนในเนื้องานอ่ะค่ะ 
ตอนนี้พี่ยังอยู่ที่ DSS อ่ะ  ห้องใหญ่ปิด..คุณนายไม่ได้scan กลับอีกแล้ว 

เจ้หนิง  ครับ..

P

เมื่อวานก็เพิ่งถกเครียดเรื่องเวลาของแต่ละคน  ผมเองก็ต้องปรับเรื่องการสแกนนิ้วฯ... เพราะมันเป็นระบบ  น่าเบื่อยังไงก็เป็นระบบ...ทำงานล่วงเวลาเป็นชั่วโมง  ก็ไม่สามารถนำมาหักลบการเข้างานช้าเพียงเสี้ยวนาทีได้

มีความสุขกับการทำงานครับ....ช่วงนี้ผมมีงานเยอะมาก  ไม่มีเวลาเข้าบล็อก ไม่มีเวลาเขียนบันทึกเลย

 

  • ใช่ค่ะ คุณนายเสมอรับทราบและยอมรับข้อตกลงของระบบ แต่งานของคุณนายไม่ได้อยู่ที่เวลาราชการอ่ะ ค่ะ 
  • นี่ก็นั่งทำงานโดยมี G2K เป็นเพื่อน 
  • เตรียมเอกสารประกอบการอบรมฯ   เพราะวันนี้ทั้งวันเวลาราชการ มัวแต่พยายามลงทะเบียนและวิ่งไปติดต่อทะเบียนและงานคลัง(ซึ่งทำงานในเวลาราชการ)ให้ลูกๆ 2 คนเพราะระบบไม่ให้ลงอ่ะ  งงกับระบบมาก
  • ได้แต่หวังว่า สักวันจะทำงาน 8.30-16.30 หยุด ส-อ กับเขาบ้าง  เผื่อคุณภาพชีวิต(ของตัวเอง)จะดีขึ้น

 

จะยังไงก็แล้วแต่....มีความสุขกับการทำงานเป็นพอ

 

P

ก็ยังต้องบอกว่า สู้ ๆ ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท