Kittiphong_t
นาวาเอก กิตติพงศ์ ทิพย์เสถียร

บันทึกสัมมนาเรื่อง มหกรรม KM ราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO


KM ที่โรงแรมมิราเคิ้ล

  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 2.0cm 70.9pt 92.15pt" class="MsoNormal">          </p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 2.0cm 70.9pt 92.15pt" class="MsoNormal">          การสัมมนาฯ ครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก...) ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ใน ๒๑ ก..๔๙ ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้แก่ภาคีภาคราชการทั่วประเทศ ตั้งแต่หน่วยงานที่ได้ดำเนินการ KM จนถึงขั้นกำลังจะก้าวสู่ LO จนถึงหน่วยงานที่เพิ่งเริ่มทำ KM ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Best Practice) </p>             การสัมมนาฯ จะมีการบรรยายรวมในตอนต้น ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที และตอนท้าย ๑ ชั่วโมง    ๑๕ นาที ส่วนที่เหลืออีก ๒ ชั่วโมง ๔๐ นาที จะเป็นการแยกห้องบรรยาย โดยแบ่งเป็น ๓ ห้อง คือ KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม  KM กับกระบวนการเรียนรู้  และ KM กับการพัฒนาบุคลากร  โดยผมได้เลือกเข้าฟังหัวข้อ KM กับกระบวนการเรียนรู้  าวเนื่องจากจะได้รับทราบแนวทางตั้งแต่เริ่มต้นทำ KM จนถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบกับหน่วยงานที่เป็น Best Practice นั้น  มีลักษณะคล้ายกับกองทัพเรือ กล่าวคือ กรมชลประทาน มี สำนัก/กอง ขึ้นตรงอยู่ ๓๔ หน่วย และหน่วยงานกระจัดกระจายทั้งประเทศ ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานที่ต้องดำเนินการในภาพรวม   สรุปผลการฟังสัมมนาได้ดังนี้  <h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt">              ๑.  สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน  </h3><p>                   . สำหรับ KM ระดับกรมจะมีขอบเขตุที่ชัดเจน ส่วน KM ของ สป.ซึ่งเป็นหน่วยงานกลาง นั้น ดำเนินการตามแนวคิดที่ว่า หน่วยงานที่จะบริหารทรัพยากรบุคคล(HRM) จะต้องพัฒนาตัวเองให้ได้ก่อน แล้วจึงจะไปพัฒนาคนอื่น/หน่วยอื่น  โดยกำหนดแผนในการพัฒนา ๓๖๐ องศา ทั้งคน  งาน และองค์กรในภาพรวม </p> <p>                  . ขั้นแรก คือ การตั้งคณะทำงาน จะใช้การชักชวนแกมบังคับมาจากทุกกลุ่มงาน โดยเน้นบุคลากรมีลักษณะตื่นตัว ใฝ่การเรียนรู้ และมีเทคนิคในการติดตามงาน จนสามารถทำแผนงานได้      </p>

                 . ขั้นต่อมา คือ การบังคับใช้ (Implement) ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยการลองผิดลองถูก  ทำตาม คู่มือต่าง ๆ แต่ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงจ้างอาจารย์จากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษา 

                  . ในปีแรกมีการทำแผ่นซีดีรอมช่วยสอน (CAI) และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทางเสียง     ตามสาย  ปีต่อมา มีการขยายผลไปยังส่วนภูมิภาค จัดทำ CAI เพิ่มขึ้น เน้นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์                

                   ๑. ปัจจุบัน มีการจัดงาน KM สัมพันธ์ ในวันพฤหัส ทุกสัปดาห์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน มีขนม เครื่องดื่ม ข้าราชการจะสนใจมาฟังและแลกเปลี่ยนความรู้เอง  มีการให้รางวัลผู้ตอบคำถามทางเว็บไซต์ และให้รางวัลมีการทดสอบภาษาอังกฤษทางเว็บไซต์  บางกลุ่มจะนำเอาปัญหาการปฏิบัติงานมาช่วยกันแก้ใน  KM  สัมพันธ์  งานนี้จะช่วยลดจำนวนข้าราชการที่มีแนวคิดว่าความรู้คืออำนาจและไม่ยอมถ่ายทอด  โดยพวกที่หวงวิชา พอได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรแล้วมีคนอื่นชื่นชม  ก็จะเลิกแนวคิดหวงความรู้

                 ๑.๖ KM ไม่ใช่เพียงแค่การมีเว็บไซต์  การซื้อคอมพิวเตอร์ หรือการส่งคนไปเรียน    

               .๗ ปัจจัยความสำเร็จ คือ KM Team ทุกคน มีมานะ เอาใจใส่ ไม่ท้อถอย  การมีที่ปรึกษาที่ดี จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และผู้บริหารที่เกษียณอายุไปแล้ว ยังคงให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้  นอกจากนี้ ยังมีการสร้างกำลังใจให้ทีมงาน เช่น แจกรางวัล เข็มกลัด หรือเครื่องหมาย เนื่องจาก มีความเชื่อที่ว่า อะไรที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจจะไม่สูญหายไปไหน  อะไรที่เกิดจากการสั่งการ มักจะค่อย ๆ เลือนหายไป       

                 .๘ เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM          

                      .๘. เว็บไซต์  ในลักษณะที่เป็นชุมทางสู่เว็บอื่น ๆ (Web Portal) การออกแบบหน้าเว็บไซต์จะเน้นการจูงใจให้คนเข้ามาหาแลกเปลี่ยนความรู้                               

                      .๘. จัดทำแผ่นซีดีรอมช่วยสอนโดยคอมพิวเตอร์ หรือ  CAI (Computer Aided Instruction) ตามแผนการให้ความรู้ในการเป็น LO   

                      .๘. จัดการประชุม KM ไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๒ ครั้ง

        . กรมอนามัย

          .    เริ่มต้นจากการรับสมัครหน่วยงานนำร่อง โดยทีมแรกจากที่เคยล้มลุกคลุกคลาน จากการเรียนรู้จากความไม่เข้าใจ(Learning by Confusions)  จนกระทั่งเริ่มเข้าใจสาระสำคัญ(Concepts) แล้วทำงานโดยไม่ยึดติดตามคำจำกัดความ(Definitions)ต่าง ๆ จนในปัจจุบันได้เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ให้หน่วยงานต่าง ๆ                   

           .    มีหน่วยงานนำร่อง ๗ หน่วยงาน ไม่มี งป.  ไม่มีเงินรางวัล  มีแต่กำลังใจที่ให้ว่าเราจะก้าวไปด้วยกัน  หากสำเร็จทุกหน่วยจะได้รางวัลที่ฝังแน่นอยู่ในใจ คือ การได้เรียนรู้ ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว คุ้มค่าแล้ว 

           .  สำหรับหน่วยงานนำร่อง มีการจัดการอบรม ๒ ครั้ง  ดูงานที่ รพ.บ้านตาก จังหวัดตาก และใช้ รพ.เทพธานินทร์ กรุงเทพฯ เป็นต้นแบบ โดยจัดผู้อำนวยการไปเข้ารับการอบรม พร้อมทีมงานที่จะป็น Key men ได้ 

           .   เทคนิคในการเลือกคนค่อนข้างสำคัญ ต้องการคนที่ตั้งใจปฏิบัติงาน เรียนรู้เร็ว วางแผนได้ ถ่ายทอดความรู้ได้ดี  นอกจากนี้ยังต้องการ คนที่คอยปลอบ/ให้กำลังใจ เวลาจะท้อถอย และคนที่คอยเตือน เวลาจะล้ำหน้า

           .    การทำ KM จะมองเฉพาะส่วนกลางไม่ได้ ดังนั้น คณะกรรมการ KM ต้องมีผู้แทนจากหน่วยรอง ด้วย 

           . การทำ KM ต้องสนองต่อวิสัยทัศน์ขององค์กร(Serve Vision) เป้าหมายของ KM คือ พัฒนาคน  พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ ส่วนกลางจะกำหนดกรอบให้หน่วยรอง แต่จะไม่ลงรายละเอียดว่าหน่วยรองจะต้องไปถึงระดับไหน  โดยถือว่าไม่มีหน่วยงานใดจะเข้าใจบริบทของหน่วยงานนั้น เท่ากับหน่วยงานนั้นเอง

            .  จากหลักการ  KM  คือการทำงานแบบอิสระ แต่ไม่ล่องลอย  จึงส่งหนังสือ กับแผ่นซีดีรอมของ สคส.แจกทุกหน่วยงานย่อย แล้วจัดประชุม โดยไม่จัดการอบรมเพื่อให้แต่ละหน่วยรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมี     จุดแข็ง คือ ให้อ่านตำรา แล้วลองทำจริง กับมีจุดอ่อน  คือเวลาที่อ่านไม่รู้เรื่องแล้วไม่ยอมบอก 

               ๒.    เมื่อพิจารณาเกณฑ์และตัวชี้วัดของ ก...แล้วเห็นว่าไม่ได้เป็นการนำไปสู่  KM อย่างแท้จริง สิ่งสำคัญที่สุด คือ ทำอย่างไรให้รู้จริงและทำได้ จึงจัดทำเกณฑ์ KM ภายใต้บริบทของกรมอนามัยเอง เพื่อวัดหน่วยรองในสิ่งที่เขาเป็น  โดยส่งกระดาษเปล่าไปให้หน่วยรองแล้วถามว่า องค์ประกอบ ปัจจัยควรมีอะไรบ้าง  เพื่อให้ KM สำเร็จ และควรมีเกณฑ์กับตัวชี้วัดอย่างไร ทั้งนี้ ได้เน้นว่าการประเมินตนเองไม่ใช่เรื่องของการจับผิด แต่เป็นการทำให้รู้สถานะของตนเอง ซึ่งทุกหน่วยจะมีการประเมินตนเอง แล้วส่งรายงานการประเมินตนเองให้ส่วนกลางตรวจสอบ 

               .   ปัจจัยความสำเร็จ คือ ผู้บริหารให้อิสระในการทำงาน  ความศรัทธาที่มีต่อ KM ของข้าราชการ     ทุกคนในกรม   การส่ง KM Spy ไปสืบค้นข้อมูลที่สำคัญ  และการมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมกันเองไม่ตำหนิกันและกัน 

                     .๑๐ เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM  

                               .๑๐. แฟ้มภูมิปัญญา (Portfolio) ทุกคนแม้กระทั่งพนักงานขับรถ จะต้องจะทำแฟ้ม     ภูมิปัญญา เพื่อแปลงความรู้ที่เป็น Tacit ให้สามารถถูกบันทึกเป็น Explicit ได้ แฟ้มภูมิปัญญา แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ

                                    ส่วนที่ ๑    กล่าวถึงแผนปฏิบัติงานประจำปี

                                    ส่วนที่ ๒    บันทึกผลความรู้และภูมิปัญญาในแต่ละสัปดาห์

                                             ส่วนที่ ๓      ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จาก หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้เจ้าของแฟ้มรู้สึกว่าอย่างน้อยยังมีคนเห็นผลงานของเขา  นอกจากนี้ หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานจะได้รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ร่วมวิจารณ์และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  

                                           เนื่องจากแฟ้มภูมิปัญญา ไม่ใช้บันทึกประจำวัน(Diary) จึงต้องมีข้อคิดด้วย การให้บันทึกในลักษณะนี้แม้บางอย่างที่เป็นงานประจำ ก็สามารถบันทึกได้ ซึ่งจะช่วยได้มากเวลาที่เจ้าของแฟ้มไม่มาทำงาน ความรู้มีอยู่ในทุกเม็ดงานที่คนทำ ในทุกหนังสือทุกเรื่องที่รับมาก็จะมีความรู้แทรกอยู่เสมอ   

                                          การทำแฟ้มภูมิปัญญาไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบตายตัว เช่นจะต้องมีการเรียนรู้แบบชุมชนปฏิบัติ(Community of Practice : COP) เสมอไป  โดยจะต้องพิจารณาถึงบริบทของหน่วยงานด้วย 

                                 .๑๐. จัดทำเว็บไซต์ ศูนย์ความรู้กรมอนามัย 

                  .  กรมชลประทาน   

                     . เริ่มต้นจากการที่หน่วยงานมีแนวคิดเรื่ององค์กรการเรียนรู้อยู่แล้ว จากนั้นมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ  KM  โดยมีอธิบดีฯ เป็นประธาน

                    . เชิญผู้แทน สำนัก/กอง มาหน่วยละ ๒ คน  ในระดับที่จะถ่ายทอดความรู้ได้ มาเข้ารับการอบรม แล้วให้ไปดำเนินการต่อใน สำนัก/กอง ของตน ทั้งนี้จะมีเอกสารย้ำเตือน ไปที่แต่ละสำนัก/กอง ว่าจะต้องทำ KM 

                     . จากข้อ ๓.๒ บางสำนัก/กอง สามารถดำเนินการ KM ได้เลย บางหน่วยไปจ้างทีมงานภายนอกมาฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้

                    .  มีการสืบหาความรู้ที่จำเป็นของกรมชลประทานว่ามีอะไรบ้าง  โดยกำหนดขอบเขตความรู้ที่ต้องการอย่างชัดเจน  แต่ไม่กำหนดรูปแบบการดำเนินการ KM ที่ชัดเจน โดยให้เป็นอิสระของแต่ละหน่วยงาน    

                       . เน้นเรื่องความร่วมมือของทุก ๆ ส่วน และมีการติดตามงานอย่างเข้มงวด ในลักษณะกัดไม่ปล่อย

                   . มีการจัดงานนวัตกรรม  การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้าง

                        . ปัจจัยความสำเร็จ คือ ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญอย่างมากกับ KM และ KM Team สามารถติดตาม ประสานงานต่าง ๆ กับหน่วยระดับรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                         . เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM                               จัดทำระบบฐานข้อมูลความรู้ หรือ  K Files (Knowledge Files) ซึ่งพัฒนาระบบโดยผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) ของกรมชลประทานเอง                               

 

                                ในขั้นตอนแรกจะต้องมีการสำรวจความรู้ก่อน  โดยแบ่งความรู้เป็น ๔ ระดับ คือ

                                     ()แค่เข้าใจ

                             ()ใช้ปฏิบัติงานได้ 

                            () สามารถถ่ายทอดได้ 

                            () วิเคราะห์ สังเคราะห์ วางแผน และประเมินผลการปฏิบัติงานได้                        

                              โดยความรู้ที่สำรวจนี้ จะต้องผ่านการวิเคราะห์ว่าตอบสนองยุทธศาสตร์ของหน่วยงานในด้านใด      งานหลัก  งานรอง  หรืองานสนับสนุน ทั้งนี้จะต้องบ่งชี้ความรู้ออกมา ว่าความรู้อะไรที่สำคัญและจำเป็น มีการกำหนด     ชื่อหมวดความรู้ หรือ  key word  เพื่อช่วยในการแบ่งกลุ่มความรู้ เพราะบางคนรู้ในเรื่องเดียวกัน แต่เขียนชื่อความรู้ไม่เหมือนกัน.   

                            ความรู้ที่สำรวจนี้ ยังไม่ได้นำมาใส่ในฐานข้อมูลทันที จะต้องผ่านการประเมินความรู้  เพื่อยืนยันความรู้และจัดกลุ่มความรู้  เนื่องจาก ในระยะแรกประสบปัญหา คือ พวกที่รู้มากจริง ๆ มักจะถ่อมตัวว่ารู้น้อย ส่วนพวกไม่รู้จริงมักบอกว่ารู้มาก

 

</font></span>                
 

หมายเลขบันทึก: 83203เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จุดเปลี่ยนของการปฏิบัติงาน "KM"

"km" คือเครื่องมือในการใช้ปฏิบัติงาน แต่นักปฏิบัติการ (งาน) ไม่ใช่เครื่องมือของใคร"

ยินดีต้อนรับสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ทุกระดับครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท