มวล. ร่วมกับสหภาพยุโรปและ ม. ต่างประเทศ 3 แห่ง ทดลองปรับวิธีการเรียนการสอนไปสู่การใช้ปัญหาเป็นหลัก


        อธิการบดี มวล. กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า จากการที่มหาวิทยาลัยมีความต้องการที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และจากแนวทางพัฒนาการศึกษาของรัฐบาลที่จัดการศึกษาแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้เป็นหลักในการยื่นขอสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพ ยุโรปภายใต้โครงการ “Human Resource Development through Problem - Based Learning (PBL)” และได้เชิญ Hanoi Medical University เมืองฮานอย ประเทศ เวียดนาม ซึ่งมีความสนใจในเรื่องนี้เช่นกันเข้าร่วมในโครงการ          วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนจากแบบเดิมซึ่งเน้นการบรรยายในห้องเรียน มาเป็นการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก แม้ว่าการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักนี้จะเป็นวิธีการที่เริ่มใช้ในโรงเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศมามากว่า 50 ปีแล้ว และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ในสาขาอื่นมากนัก หลักสำคัญของการเรียนรู้แบบนี้คือ จัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้น โดยอาศัยปัญหาจริงในการปฏิบัติการของวิชาชีพโดยนำนักศึกษาไปสู่การแสวงหาความรู้และทักษะด้วยตนเอง ผู้เรียนจะมีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น และผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการเรียนรู้เท่านั้น          กิจกรรมที่จะดำเนินการในขั้นแรกคือ ส่งบุคลากรของทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ Hanoi Medical University จำนวนแห่งละ 6 คนเดินทางไปอบรมที่สถาบันที่มีชื่อเสียงในด้านการเรียนการสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลักและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในยุโรป ได้แก่ Lund University ประเทศสวีเดน และ Erasmus University ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์กลับมาถ่ายทอดต่อให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมในโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัย และดำเนินการปรับกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาที่เหมาะสมต่อไป           จะเริ่มใช้การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักกับบางรายวิชาในหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรศึกษาทั่วไปในระดับปริญญาตรี ซึ่งจะบูรณาการให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักวิชาการ ด้วยการค้นคว้า ศึกษาและหา   คำตอบด้วยตนเอง ผนวกเข้ากับการเรียนรู้ที่เน้นภาคปฏิบัติ และการไปทำงานจริงในสถานประกอบการในรูปแบบสหกิจศึกษา โดยคาดหวังว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีคุณภาพสูง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้ใฝ่ค้นคว้าหาความรู้อย่าง ต่อเนื่อง        โครงการนี้ เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2548 ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 832เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2005 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

PBL ดูแล้วใกล้เคียงกับการจัดการความรู้ แกนคือ การให้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง(คุณกิจ) ผู้สอนเป็นคุณอำนวย แต่ยังเน้นคุณกิจที่เป็นนักศึกษาในหลักสูตร เทียบกับโครงการความร่วมมือระหว่างมรภ.กับสคส.ที่ต้องการขยายการเรียนรู้ไปยังคุณกิจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยสมประโยชน์ ด้วยการเรียนรู้และพัฒนางานที่ทำอยู่ ล้วนน่าสนใจทั้งสองกรณี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท