"ร่วมคิด" เก็บบทเรียน 40 หมู่บ้าน


สิ่งดี ๆ ที่ทำสำเร็จ คือ Best Practice

     เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 ดิฉันได้ไปร่วมประชุม "โครงการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง : บทเรียนจาก 40 หมู่บ้าน"  ที่ทีมงานวิจัยภาคกลางเป็นผู้รับผิดชอบ (จำนวน 10 หมู่บ้าน) คือ รศ. บำเพ็ญ  เขียวหวาน และคณะ  โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อรวบรวมหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  2) เพื่อถอดบทเรียนและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  และ 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขยายผลตามแนวทางดังกล่าวต่อไป

         

     โดยสิ่งที่จะได้รับก็คือ 1)  ได้บทเรียนที่สำเร็จ หรือ Best Practiceของการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง   2) ได้กรณีตัวอย่างหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  และ 3) ได้ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไป

     การดำเนินงานดังกล่าวดิฉันได้ไปร่วมทีมงานกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อจะได้พัฒนาตนเองและเรียนรู้ "เทคนิคการถอดองค์ความรู้...นั้นมีระเบียนและวิธีการอย่างไร?"  ซึ่งสิ่งนี้คือ บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่ควรจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคหรือวิธีการเพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ได้  และยังช่วยกันเสริมหนุนงานหลักให้เกิดขยายตัวได้ไวขึ้น ฉะนั้น การเรียนรู้ที่เห็นผลและทำเป็นกันจริง ๆ ก็คงจะมาจาก "การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  การเรียนรู้จากผู้รู้  และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานการณ์จริง" 

            

     ในการทำงานชิ้นนี้นอกจากดิฉันจะได้ความรู้แล้ว  งานส่งเสริมการเกษตรก็ยังได้รับผลประโยชน์ด้วยคือ

          1) Best Practice เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน  40 หมู่บ้าน 

          2) ได้พัฒนาเจ้าหน้าที่โดยองค์กรไม่ต้องลงทุน ไม่ต่ำกว่า  10 คน 

          3) ได้เทคนิคการถอดบทเรียน ไม่ต่ำกว่า 5 เทคนิค 

          4) ได้พัฒนางานและเจ้าหน้าที่โดยใช้ "การจัดการความรู้"  และ

          5)  ได้อาสาสมัครที่เป็น "วุฒิอาสา" ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับชุมชน 

     นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญสุด ๆ ก็คือ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 40 หมู่บ้าน มีเป้าหมายเพื่อเป็นของขวัญให้กับ "พ่อหลวง" ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

         

     ดังนั้น  งานดังกล่าวจึงมีกำหนดที่จะทำให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน ฉะนั้น  ถ้าเราร่วมมือกันค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่แล้วในพื้นที่มาเป็น Best Practice เพื่อทำงานตามนโยบายหลักของกรมส่งเสริมการเกษตร เราก็จะมีฐานองค์ความรู้และพื้นฐานที่มั่นคงให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงานกับเกษตรกรให้บรรลุผลได้ เพียงแต่เรามาช่วยกันต่อยอดงานเดิมที่ทำและมีอยู่แล้ว และเสริมหนุนสิ่งที่ "พื้นที่ต้องการหรือขาด" แต่ถ้าเราต่างกันคิดต่างกันทำ "การบูรณาการ" ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

    ฉะนั้น "การจัดการความรู้" จึงเป็นเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงได้ถ้าเรารู้จักใช้ และฝึกใช้ให้เป็นค่ะ.

 

หมายเลขบันทึก: 83179เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแวะเข้ามาทักทายนคะ

คือนุชอยากเรียนรู้  

3) ได้เทคนิคการถอดบทเรียน ไม่ต่ำกว่า 5 เทคนิค 

ไม่ทราบว่าพี่ศิริวรรณ พอจะมาเล่าแลกเปลี่ยนสัก 1  เทคนิคได้ไหมคะ

ขอบคุณคะ

เรียน คุณรุจิราพร

   เทคนิคการถอดบทเรียน จะได้จากเมื่อแต่ละคนลงไปปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ หลังจากนั้นเราก็จะนำมาสรุปกันในต้นเดือนพฤษภาคม 2550 ค่ะ  แล้วดิฉันค่อยเขียนมาเล่าให้ฟังเป็นระยะ ๆ นะค่ะ ขอบคุณค่ะที่สนใจ

ขอบคุณคะ

แล้วนุชจะรอพี่ศิริวรรณ มาเล่าให้ฟังคะ 

อืม  ที่สนใจเพราะตัวนุชเอง  จะต้องไปเสนอบทเรียนการทำงานสถานะบุคคล  เลยคิดว่าอยากได้เทคนิคในการสื่อสารให้คนที่จะมาฟังเข้าใจช่องว่างที่นุชะสื่อสารให้ได้มากที่สุด 

อยากขอคำแนะนำจากพี่ๆนะคะ

ขอขอบคุณอีกครั้งคะ

หากเป็นไปได้อยากรบกวนจากคุณศีรีวรรณ หวังดีเหมือนกันนะคะ เพราะกำลังวิยเรื่งแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท