คณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น


1)มีการเชื่อมโยงขยายผลทั่งประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นเหตุผล รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นให้สามารถจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง มียุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง และสังคมคุณธรรม ขณะที่ภาคประชาชนได้มีการจัดระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น เพื่อให้การจัดระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นโดยภาคประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล คือ1)มีการเชื่อมโยงขยายผลทั่งประเทศ2)มีการประสาน เรียนรู้ เชื่อมโยงระหว่างระบบสวัสดิการชุมชนกับระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบของหน่วยงานภาครัฐอย่างเกื้อกูลกระทรวงพม.จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจำนวน22 คน โดยมีรมต.เป็นประธาน และผอ.พอช.เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้1)ประสานความร่วมมือ พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางและการจัดการความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น2)ประสานกับระดับนโยบายเกี่ยวกับแนวทางดำเนินงาน กฎระเบียบข้อบังคับและการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการเพื่อประชาชนให้เชื่อมโยงและเกื้อกูลกับระบบการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น3)ส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพและขยายผลให้ครอบคลุมชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ4)สนับสนุนการจัดหางบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น5)กำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นรวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น6)แต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน อปท. ผู้ทรงคุณวุฒฺและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง7)แต่งตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติอย่างใตอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย8)ทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นคำสั่งลงวันที่28 ก.พ.2550 โดย รัฐมนตรีพม.
หมายเลขบันทึก: 83036เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สวัสดีค่ะอ.ภิม  เมื่อวันก่อนได้เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือคุณกิจในการกรอกข้อมูลครัวเรือนลงเล่มเหลือง  เพราะบางตอนเขาไม่เข้าใจก็เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้  และจะถามอ.ภีมว่า  ข้อมูลครัวเรือนยังสรุปไม่เสร็จ  จะจัดการความรู้ให้ชุมชนได้อย่างไร   เพราะการจัดการความรู้ข้อมูลจะต้องชัดเจนอยากให้อ.ภีมช่วยแนะนำด้วยค่ะ  เพราะการที่จะให้ข้อมูลครัวเรือน  แผนชุมชน นำสู่ระบบการตัดสินใจพัฒนาได้แผนชุมชน  ข้อมูลจะต้องชัดเจน

สวัสดีครับคุณหนึ่งตะวัน

ควรเป็นอย่างที่คุณหนึ่งตะวันว่าไว้นั่นแหละครับ

ข้อมูลครัวเรือนทำให้ครัวเรือนจัดการความรู้ได้คือ
ตั้งเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว(ส่วนหัวปลา)
เรียนรู้คือหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ นำมาประยุกต์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องของตน นำสู่การปฏิบัติ ผลที่เกิดขึ้นคือ"การเรียนรู้" ถ้ายังไม่ปฏิบัติก็เป็นเพียง"ความรู้"(ส่วนกลางลำตัว)
ส่วนหางคือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติเป็นความรู้ฝังลึกของผู้ปฏิบัติ ถ้าเรียบเรียงเขียนขึ้นมาก็เป็นความรู้เปิดเผย

ถ้าหลายๆครอบครัวมาทำกระบวนการร่วมกัน             ก็สามารถเรียนรู้จากกันและกันและร่วมกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันได้

คุณอำนวยคือผู้สนับสนุนการเรียนรู้ให้กับครัวเรือนและหลายๆครัวเรือน เราเองก็เป็นนักเรียนคือฝึกฝนการเป็นคุณอำนวยที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เช่นที่อาจารย์หนึ่งตะวันเขียนมา ก็ต้องทบทวนดูว่าจะสร้างการเรียนรู้ได้อย่างไร เพราะมันไม่ลงตัวทีเดียว เราต้องคิดค้นทบทวนหาทางพัฒนา/สร้างการเรียนรู้ ซึ่งไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ต้องแลกเปลี่ยนทดลองทำแลกเปลี่ยนทดลองทำ       เป็นการฝึกฝนตัวเราเองเหมือนกันครับ

       ทราบมาว่ามีการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ในวันที่ 12 มี.ค (วันนี้) เป็นการประชุมครั้งแรก พี่ภีมคงได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะกรรมการคนหนึ่ง  แล้วกลับมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท