งานดี คิดง่าย ทำได้ : ทึ่งและอึ้ง กับ ไม้เขี่ยเลือด


งานของพี่ ๆ เขาสุดล้าน (มากกว่าแสน) สาหัสจริง ๆ (ใครไม่เชื่อต้องไปเห็นด้วยตา)

กล่าวถึงโครงการของแดประจิม และพี่อบกันไปแล้ว คราวนี้คิวของพี่ไปรวิน และพี่รี กันบ้าง

สำหรับพี่อบและพี่จิม พวกเรารู้การทำงานตื้นลึกหนาบางได้เป็นอย่างดี เพราะทำงานห้องเดียวกันเห็นหน้ากันทุกวัน (ยกเว้นวันที่เขาหรือเราลา) แต่สำหรับพี่ไปรวินและพี่รี นี่วัน ๆ แทบจะไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เพราะพี่เขาทำงานอยู่ห้องล้างกลางข้างล่าง (ตรงข้ามกับห้องศพ) นอกจากงานของหน่วยเคมีแล้วยังต้องเก็บและล้างอุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการนอกเวลาอีกต่างหาก
ถ้าให้เปรียบพี่สองคนก็คงคล้ายกับกองเสบียง (รึเปล่า ?) เพราะต้องล้าง เตรียมอุปกรณ์ให้เราทุกอย่าง ถ้าเรางานเยอะ อุปกรณ์ที่พี่เขาคอยเก็บ คอยเช็ดคอยล้างก็ต้องเพิ่มขึ้น ลืมบอกไปค่ะว่าอุปกรณ์เกือบทุกอย่างต้องล้างแล้วเอากลับมาใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือด Tip Cup เครื่องแก้ว สารพัด แต่สองคนนี้แทบจะไม่ปริปากใด ใด (ถ้าไม่จำเป็น หรือสถาณการณ์บังคับสุด สุด) ฉะนั้นงานของพี่ ๆ เขาสุดล้าน (มากกว่าแสน) สาหัสจริง  ๆ (ใครไม่เชื่อต้องไปเห็นด้วยตา) อีกทั้งงานของพี่จิม และพี่อบ พวกเราทุกคนทำได้ ช่วยได้ แทนได้ และแบ่งเบาได้ แต่งานของพี่สองคนข้างล่าง น่าเห็นใจสุด ๆ  บอกตามตรงว่าพี่ทั้งสองทำงานหนักกว่าผู้เขียนเยอะเลย แถมยังเป็นงานที่ไม่น่าทำเลย
แรก  ๆ พวกเราหลายคนไม่ว่าจะป้าดา นายดำ และคนอื่น ๆ จึงเป็นห่วงกลัวพี่ทั้งสองไม่มีโครงการพัฒนางาน จึงช่วยกันคิด ยืนคิด นั่งคิดและนอนคิด ไม่ว่างานนี้ งานโน้น หรืองานไหน  ๆ เพราะช่วงหลังเรายังโยนงานการเบิกใช้ขวดปัสสาวะ 24 ชม.จาก ward ต่าง ๆ ไปให้พี่เขาอีก ไม่อยากบอกเลยว่าพวกเราคาดผิด และผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะจริง  ๆ แล้วพี่เขาก็คิด และค้นงานพัฒนากับปัญหาหน้างานได้เอง และเพิ่งมาเฉลยเอ่ยปาก เอาก่อนวันสุดท้าย ทำเอาพวกเราทึ่ง และอึ้งกิมกี่กันไปเลย

ขอเอ่ยถึงโครงการของพี่ไปรวินก่อนล่ะกัน เพราะพี่เขาพูดน้อยมาก แต่ใบหน้าเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม พี่เขาบอกว่าอยากปรับปรุงเรื่อง "การล้างไม้เขื่ยเลือด"

 ก่อนอื่นไม้เขี่ยเลือด คืออะไร ??? เฉลยแล้วกัน

***ไม้เขี่ยเลือด ก็คือไม้ก้านมะพร้าวหรือไม้ไผ่ ซึ่งใช้สำหรับเขี่ยเลือดหลังจากการปั่นแยก ในกรณีที่แยกซีรั่มหรือพลาสมาไม่ดี ก็จำเป็นต้องใช้ไม้เขี่ยก่อนแล้วปั่นซ้ำอีกครั้ง***
พี่ไปรวินเล่าให้ฟังว่า...
ไม้เขี่ยเลือดที่สั่งซื้อมาใหม่นั้นจะต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำไปใช้งาน   เดิมวิธีที่ใช้คือ นำมาใส่หม้อสแตนเลส  ต้มในน้ำเดือดประมาณ 15 นาที 2-3 ครั้ง จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำประปาให้สะอาด ตามด้วยล้างด้วยน้ำกลั่น 2-3 ครั้ง  แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส  จนแห้ง ใช้เวลา 2-3 วัน 
ปัญหาคือ ยางของไม้จะติดหม้อทำให้เสียเวลาล้างและทำความสะอาดหม้อ นอกจากนี้ไม้เขี่ยเลือดที่ได้ก็ยังมียางติดเหลืออยู่
 

ดังนั้นจึงคิดค้นเปลี่ยนวิธีในการล้างใหม่ โดยการนำไม้มาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน  นำมาล้างแล้วแช่น้ำใหม่อีก ทำแบบนี้  3-4 ครั้ง จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำประปาจนสะอาดแล้วล้างด้วยน้ำกลั่นอีก 2 ครั้ง นำมาเรียงใส่ตะกร้า นำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 60  องศาเซลเซียส  จนแห้งสนิท ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

ผลที่ได้คือ ไม่ต้องมาเสียเวลาในการทำความสะอาดหม้อต้ม อีกทั้งขจัดปัญหาจากยางไม้ที่ติดกับไม้เขี่ยเลือดได้อีกต่างหาก 

สำหรับเราหลายคนก็ทึ่ง และอึ้งกับการคิดค้นและเปลี่ยนวิธีการล้างไม้เขี่ยเลือด ของพี่ไปรวินมาก กับโครงการ "งานดี คิดง่าย ทำได้" แต่ยังไม่หมดค่ะ ยังมีพี่รี อีกคน

หมายเลขบันทึก: 83020เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่ศิริค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้วต้องชื่นชมในความตั้งใจพัฒนากระบวนการล้างไม้เขี่ยเลือดของเจ้าหน้าที่ค่ะ  และต้องขอบคุณพี่ศิริที่นำมาถ่ายทอดให้รับทราบด้วยค่ะ

งานแต่ละงาน มีความสำคัญ และเห็นได้ว่าพี่ ๆ เค้าก็ให้ความสำคัญมาก ๆ ด้วยและดีมาก ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท