วันพบปะ CKO กรมอนามัย (3) CKO ศูนย์ฯ 12 ยะลา


ชอบบันทึกนี้มากค่ะ เพราะบันทึกเสร็จ ผู้บันทึกประทับใจ และ KM Team กรมอนามัย ก็คงจะประทับใจกันไปด้วยทั่วกันละค่ะ

ที่ขึ้นหัวข้อมาเช่นนี้ ก็เพราะว่า วันนี้มาเปิด mail กระทรวงฯ ก็พบ AAR จาก คุณหมอบุญยง ค่ะ ท่านประจำอยู่ที่ศูนย์อนามัยที่ 12 จ.ยะลา ... ด้วยความทึ่งค่ะ ทึ่งมาก มาก เพราะท่านส่ง AAR ต่อการประชุม CKO กรมอนามัย มาให้ แบบ My map ค่ะ ... เกินประเด็นที่ต้องการซะอีก ก็เลยถือโอกาสเก็บเกี่ยว เรื่องราวการประมวลความคิดของคุณหมอ ต่อการเข้ามาประชุม CKO ครั้งนี้ มาเพื่อให้พวกเราได้ร่วม ลปรร. กันค่ะ (... พอเราเริ่มค้น ก็เจอแล้วละคะ สำหรับ คุณเอื้อระดับพื้นที่ ไม่ใกล้ ไม่ไกล สุดชายแดนใต้ เมืองยะลานี่เอง)

... ดิฉันขอนำเล่า ตามประเด็นของคุณหมอที่ได้เรียนรู้นะคะ

  • ศึกษาเทคนิคการเล่าเรื่อง
  • เรื่องเล่า หัวข้อความสำเร็จในการจัดทำแผน
  • เรื่องเล่า หัวข้อ ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานตามแผน KM
  • สิ่งที่คาดหวัง
  • สิ่งที่ได้
  • สิ่งที่พัฒนา
  • สิ่งที่ประทับใจ

 ศึกษาเทคนิคการเล่าเรื่อง

  • เล่าเรื่องประสบการณ์ทำงานจริง (ควรเตรียมการทบทวนเรื่องราวที่เล่ามาเป็นอย่างดี) เพื่อให้คนฟังจับประเด็นว่าที่ทำงานได้ดี เพราะใช้ความรู้ ความสามารถอะไร
  • ถ่ายทอดให้ผู้รับฟังทราบอย่างที่ต้องการภายใน 3-5 นาที
  • ผู้ฟังตั้งใจฟังเพื่อจับประเด็น  และผู้อำนวยความสะดวก อาจถามว่าทำไมถึงทำเช่นนั้น   คิดอย่างไรจึงทำเช่นนั้น ส่วนผู้บันทึกข้อความจะช่วยจับประเด็น และเขียน Flipchart (ประเด็น เนื้อหา รายละเอียด ผู้เล่า) ให้สมาชิกในกลุ่มได้ทบทวน และช่วยสะกัด จนได้ข้อสรุป และบันทึกไว้เป็นคลังความรู้

หลายตาช่วยสรุปปัจจัยค่ะ

เรื่องเล่า หัวข้อความสำเร็จในการจัดทำแผน

  • แนะนำตัว และสมาชิกในกลุ่ม (ยังมากันไม่ครบเลยรายชื่อ 8 มา 5 คน)
  • ผมขอเริ่มต้นที่ ความเป็นมาที่มาเกี่ยวข้อง KM
    ... เนื่องจากต้นปี 49 สนใจมาฟังการดำเนินการจัดการความรู้ ในใจยังนึกว่าเป็น งานใหม่ ฟังดูน่าสนใจ เพราะเป้าหมายส่วนหนึ่ง เพื่อให้งานสำเร็จ
    ได้มีการจัดตั้ง CoP 11 กลุ่ม ขณะที่ผมเห็นว่าควร มีชุมชนเกิดขึ้นอีก 1 คือ  ชุมชนคนด่านหน้า (ลดขั้นตอน ตอนนั้นยังไม่เป็น KPI ของ KM)
    ... กว่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายเพราะ
    ... มี คนคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน แต่ในที่สุดเพราะเห็นแก่ผม (เกรงใจ) เจอหัวหน้า OPD ก็ถามว่าเป็นไงทำไปถึงไหน  ยากไหม  ให้ช่วยอะไรไหม ... ก็เกิดชุมชนจนได้ และผมติดตามข่าวคราวของการดำเนินการมาเรื่อยๆ เข้าประชุมบ้าง  เสนอความเห็นไปบ้าง ถึงแม้จะไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม CoP แต่ก็ติดตามข่าว การประชุมเป็นไง มีอะไรให้ช่วยหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่าไม่มี ... และผลก็คือ ลดรอบก็ผ่าน การประเมินความพึงพอใจก็พอยอมรับได้
    ... และที่สำคัญคือชุมชนดังกล่าวก็ยังดำเนินอยู่ต่อไป
    ... ขณะที่บาง CoP ก็ดับไป เหลือแค่ 4-5
    ... ทางคณะกรรมการ KM ได้เชิญผมมาร่วมงาน และบอกว่า ผมทำให้ชุมชนที่เกี่ยวข้องในงาน รพ.ตื่นตัว ผอ. แค่มาเข้าร่วมประชุม 2-3 เดือนครั้งเท่านั้นแหละตามแผน แผนหน๊ะ มีอยู่แล้ว
    ... คิดมาแล้ว (ผังการดำเนินงาน) + ดูงานอีก เป็น Bonus
    ... ง่ายไหมหละ ความสำเร็จในการจัดทำแผน
    ... ยิ่งมีฟอร์ม 1 และ 2 ของ ก.พ.ร. ก็ทำให้เห็นว่า KM เชื่อมโยงเป็น เครื่องมือหนึ่งในการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์  PMQA
    ... แผน KM  ก็ง่ายกว่าเยอะ  ปัจจัยภายนอก ภายใน อดีต  อนาคต  ไม่ต้องเอามาคิดเลย
    ... คณะทำงานก็มืออาชีพ ... งานใครงานมัน เอาไปคิด อาทิตย์หน้า ส่งทาง network ใครไม่ส่งเลขาตามทวง
    ... ง่ายๆ   นี่แหละคือ ความสำเร็จในการจัดทำแผนKM และเริ่มทำให้รู้สึกว่าเป็น CKO น่าจะง่าย (แต่เข้าประชุมเสร็จ พบว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด)
  • (ประมาณเวลาไว้แล้ว พูด 3 นาที ... ประเด็นที่จะสื่อคือ บริบทที่เพิ่งมาเป็น CKO มีทีมงาน ประธาน  เลขาฯ  ที่เก่ง เราทำหน้าที่สนับสนุนอย่างจริงใจ)
  • แหม แต่ดิฉันคิดว่า งาน KM ของศูนย์ฯ 12 ยะลา ไม่ยากเลยค่ะ เพราะว่า เราเห็นดาวหลายดวง ผุดบังเกิด ... ย้ำอีกที นี่ไม่ใช่เรื่องสรุปจากดิฉันนะคะ เป็นเรื่องสรุป โดย คุณหมอบุญยงค่ะ

เรื่องเล่า หัวข้อ ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานตามแผน KM

  • คงไม่มี  เพราะเพิ่งมาเป็น CKO
    ... แต่ถ้าเป็นงานด้านอื่นพอมีอยู่บ้าง ถ้ามีให้เล่าก็คงเป็นงานขับเคลื่อนโรงพยาบาล ให้บรรลุ HA ขั้นที่ 1 ให้ได้ตามความมุ่งมั่น
    ... ประเด็นที่น่าสนใจคือ สรรหากลุ่มคนที่จะไปด้วยกันก่อน เอาไว้เป็นกำลังใจในเบื้องต้น ทำไปบ่อยๆ คนยอมรับมากขึ้น กลุ่มที่ต้านก็อ่อนเองแหละ

สิ่งที่คาดหวัง

  • เรียนรู้การเป็น CKO บทบาท คุณเอื้อ  คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต การบริหารกระบวนการของKM

สิ่งที่ได้

  • หัวข้อการประชุม ดูแล้วไม่เห็นว่าจะเป็น การศึกษาเทคนิค CKO นึกว่าเป็นการบริหารจัดการตามปกติ ... แต่กลับพบว่า เทคนิค CKO ได้จากวิธีการดำเนินการประชุม และทีมผู้จัดการประชุมก็สร้างบรรยากาศได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทีม KM ที่มาช่วยในกลุ่ม
  • สำหรับการจับประเด็น พบว่า วิธีที่สมาชิกในกลุ่มเล่าเสร็จ ก็ให้สมาชิกอื่นถาม แล้วสรุปประเด็นเลยทีละคน จากนั้นค่อยมารวบรวมประเด็นทั้งหมดอีกครั้ง พบว่า เป็นระบบดี จำง่าย  จัดกลุ่มประเด็นได้
    ที่น่าสนใจ
    กลับเป็นเนื้อหาที่ทำให้เกิดประเด็นนั้นๆ เพราะเป็นสิ่งที่ได้ จากประสบการณ์ทำจริง เช่น  ประเด็นการบริหารผู้นำ
  • รู้ ... สิ่งที่ทำให้บรรยากาศการประชุมเช่นนี้ราบรื่น คือ คณะผู้จัด และการเตรียมการเล่าเรื่องของผู้เข้าร่วม

 สิ่งที่พัฒนา

  • ตนเอง
    ... ได้เรียนรู้  ตนเอง (เพิ่มขึ้น) เห็นแนวทางชัดขึ้นในใช้เทคนิคKM กับงานคุณภาพ
    ... การเล่าเรื่อง ซึ่งทำให้กิจกรรมกลุ่มมีบรรยากาศเรียนรู้ การสนับสนุน สำหรับผู้ที่มีใจทำงานให้กับองค์กร แนวทางการทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปอีก
    ... ได้เครือข่าย ที่ปรึกษา
  • ระบบ
    ... การประชุมแบบสร้างสรรค์ แต่คงต้องพยายามฝึกอีก และหาทีม
    ... การกำหนด Immediate target เพื่อให้ทีมงานมีกำลังใจ ที่จะทำงานที่ใหญ่และยาก (Micro-success)
  • องค์กร
    ... มีแนวคิดว่าจะเกิด กลุ่ม CKO คือ มีหลายคนช่วยกัน ซึ่งเข้าได้กับโครงสร้างองค์กร
    ... เห็นแนวทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย ของอีกหลายงาน ไม่เฉพาะของ KM

สิ่งที่ประทับใจ

  • เป็นการประชุมที่ผู้เข้าประชุมมุ่งดีต่อกัน เพิ่งเข้าประชุมครั้งแรก ก็เผลอหลุดไปแซวกลุ่มอื่น (นิสัยเก่ากำเริบ)  มีคนเตือนทันทีทำให้มีสติ
  • สมาชิกในกลุ่มน่ารัก ทุกคนทำหน้าที่เล่าให้ความเห็นมีส่วนร่วมในกิจกรรม และต้องชม Note Taker(เพชรา และชัยเลิศ) ... รวมทั้งทีม KM ส่วนกลางที่มาช่วยในกลุ่มทำให้มีบรรยากาศ
  • การประชุมที่คุยกัน จนลืมอาหารมื้อกลางวัน (ได้กินกันตอนเที่ยงครึ่งละค่ะ) เป็นการประชุมที่อ่าน Agenda แล้วเฉยๆ เกือบให้คนอื่นมาแล้ว ... นี่ถ้าไม่มาเองหละก็ เสียดายจริงๆ
  • ท้ายที่สุด ไม่ค่อยเจอ ที่ ประธานของงาน อยู่จนปิดการประชุม ... แสดงว่าท่านให้ความสำคัญ (+ให้ความรู้ ) กับผู้เข้าประชุม (ประธานของเรา ก็สุดยอดอยู่แล้วละค่ะ ฮิ ฮิ)

ชอบบันทึกนี้มากค่ะ เพราะบันทึกเสร็จ ผู้บันทึกประทับใจ และ KM Team กรมอนามัย ก็คงจะประทับใจกันไปด้วยทั่วกันละค่ะ

คุณหมอบุญยงคะ ประชุม KM เมื่อไร ไม่มาไม่ได้นะคะ ถือว่าเป็นขาประจำแล้วละค่ะ

หมายเลขบันทึก: 83011เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบการบันทึกและประทับใจเช่นเดียวกันค่ะ

มาตามเก็บเกี่ยวเคล็ดความรู้ผ่านคุณหมอนนท์ทีไร ได้กำไรกลับไปทุ้กที...จริง ๆ ค่ะ

คุณเล็กคะ ... ต้องชื่นชมคุณหมอบุญยงค์ ด้วยค่ะ ท่านมาในงาน KM เป็นครั้งแรก แต่เต็มเปี่ยมด้วยทักษะ และประสบการณ์ของ CKO จริงๆ ค่ะ

ยิ้ม ... ขอบคุณสำหรับคำชมค่ะ ... ชมแล้วห้ามเอาคืนนะคะ

มีคนแอบถามมาว่า แล้ว KM Team ที่ช่วยทำหน้าที่ Fa 2 คือ ใคร (Fa 1 ก็คุณหมอบุญยงค์ค่ะ ... เรานิยม train ด้วยการทำจริง และเราก็แอบมีผู้ส่งเสริมอยู่ในกลุ่มค่ะ)

... ก็คือ คุณหนูอุ้ย อันชิษฐา ค่ะ ได้รับเชิญมาจาก ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ ... นี่ละค่ะ ที่ว่า เรามีสำนักสนับสนุนการจัดการความรู้ อยู่ที่ส่วนกลางของกรมฯ แต่ว่า เรามีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ KM อยู่ทั่วไปในหน่วยงานต่างๆ ของกรมฯ ... เธอทั้งหลายน่ารักมาก แบบว่า เชื้อเชิญเมื่อไร เธอก็จะมาให้ค่ะ

บันทึกของคุณหนูอุ้ย อ่านได้ที่นี่นะคะ ชุมชนส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1

เห็นด้วยมากๆเลยค่ะ วันนั้นมีคนเสนอให้ไปจัดตลาดนัดความรู้ที่ยะลา มีคนสนใจมั้ยค่ะ สมัครมาได้ที่คุณหมอบุญยง และนอกเหนือจาก"fa หนูอุ้ย"ที่ทำหน้าที่ได้อย่างเยี่ยมยอดแล้วยังมี"faหนูปลา"(จันทิรา)จากศูนย์ 1 เช่นเดียวกันที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

แม้นอนเดี่ยงอยู่บนเตียง วันนี้อดรนทนไม่ไหวขอแวะมาอ่านแป๊บเดียวจริงๆ เพราะลูกชายบอกให้เวลา 5 นาทีพอ เดี๋ยวมีปัญหาอีก(ขี้เกียจนวดให้) คำสั่งลูกเด็ดขาดค่ะ 

ขอบคุณทุกคนที่ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงดั่งใจนึกค่ะ

คุณอ้วน ... ฉัตรลดา คะ ศูนย์อนามัยที่ 1 น่ะ ยอดเยี่ยมอยู่แล้วเน๊าะ ... ก็เราหลายคนก็มาจาก ศูนย์ฯ 1 ... เฮ ... (รวมทั้งเราด้วยแหล่ะ) ... เที่ยวนี้ก็ต้องขอบคุณ fa หนูอุ้ย และ fa หนูปลา อยู่แล้วละค่ะ
ถึงคุณศรีวิภา ที่นอนเดี้ยงอยู่ ... หายเร็วๆ นะคะ เพราะว่า ใครหลายคนรออยู่นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท