“คุณค่าของตัวบุคคลในองค์กร”


        

           เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้อ่านบทความ People Perspective มีความน่าสนใจมากและมีประโยชน์ต่อชาว G2K  บทความนี้เป็นของ Dr. Terdtoon Thaisriwichai ใน Jobs Classified Tabloid ของวันที่ 1-31 มีนาคม 2550 เรื่อง คุณค่าของตัวบุคคลในองค์กร ที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน  โดยมีเนื้อความกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ไม่เว้นแม้ในโลกของเศรษฐกิจ  ที่มีการผลิกผลันไปอย่างไม่น่าเชื่อ และการต้องปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจการทุกๆ สถานประกอบการทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ  ....ขอยกบทความบางตอนที่เป็นประเด็นที่สำคัญคือ

          ในบางบริษัทเริ่มมีการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งให้ความสำคัญของพนักงานในบริษัท   และขณะเดียวกัน พนักงานที่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้คือ ผู้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อองค์กร หรือที่เรียกว่า Employability อันเป็นคำที่หมายถึง คุณค่าของตัวบุคคลในองค์กร  ซึ่งสิ่งนี้รวมถึงความรู้ความสามารถในเรื่องงาน ทักษะ ทัศนคติ ฯลฯ ที่เด่นชัดและแตกต่างจากผู้อื่นอันทำให้เขาเหล่านั้นเป็นที่ต้องการในการจ้างงานและธำรงรักษาไว้ขององค์กรของเขาเอง และตลอดจนกระทั่งเป็นที่ต้องการขององค์กรอื่นๆ อีกด้วย

การที่จะมี Employability ที่ดีนั้นจะต้องสามารถก้าวขึ้นบันไดแห่งความสำเร็จ 3 ขั้น ได้แก่

ขั้นแรก จะต้องรู้จักตัวเอง โดยรู้จุดเด่นและจุดด้อยในขีดความสามารถของตน และสิ่งสำคัญคือ ต้องรักในสิ่งที่ทำอยู่ ถ้าต้องฝืนหรือบังคับตัวเองทำในสิ่งใดก็ตามผลงานที่ออกมาในระยะยาว เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานด้วยใจ ย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน และถ้ารู้ว่างานนั้นๆ เหมาะกับคุณ  จงยดมั่นกับงานดังกล่าวไว้ให้ดี แต่ถ้าคิดว่า ต้องฝืนทนทำงานใดก็ตาม คุณควรอาจพิจาณาที่จะขยับขยายหรือมองหางานอื่นที่เหมาะกับคุณจริงๆ

ขั้นต่อไป เมื่อมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่สนใจและชอบแล้วนั้น คุณต้องสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ของคุณเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดเป็น ผลงาน  แก่องค์กรแบบเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมให้มากเท่าที่ทำได้ อย่าเป็นผู้ปิดทองหลังพระโดยไม่มีใครมองมาเห็ฯผลงานขแงคุณแม้แต่น้อยนิด และนอกจากเก่งเรื่องงานแล้ว  คุณต้องเก่งเรื่องคนควบคู่กันไปด้วย การเอาใจใส่กับงานและคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

ขั้นสุดท้าย เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับ  Employability นั้น  คุณต้องมีคุณสมบัติส่วนตัวที่มากกว่าความสามารถในการทำงาน  การมี เสน่ห์ ในการเป็นตัวของคุณเองเป็นสิ่งที่สำคัญเพิ่มเติมจากความสามารถและทักษะต่างๆ  สิ่งที่เห็นได้ชัดของการมีเสน่ห์ในการเป็นพนักงาน ก็คือ การทำงานให้ออกมามีผล เหนือความคาดหมายและความหวัง ของเจ้านายและลูกค้า (ภายในและภายนอก) ของคุณ   ส่วนถ้าเป็นผู้บริหาร บารมี ของคุณ จะถือเป็นเสน่ห์ของภาวะผู้นำแบบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในสังคมการทำงานของไทยเรา เสน่ห์ของคุณที่ต้องได้รับการบริหารให้ถูกวิธี จึงเป็นเสมือนมูลค่าเพิ่มที่สำคัญสำหรับทุกคน 

          เทคนิคสำคัญที่สามารถทำได้คือ การ ลด ความไม่แน่นนอน ด้วยการ เพิ่ม Employability เพื่อเป็นกลยุทธ์นำพาไปสู่ความสำเร็จในอาชีพ  ดังนั้น เปรียบดั่ง ภูมิคุ้มกันที่คอยรักษาสถานะการจ้างงานของคุณให้มั่นคงและยังเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้องค์กร 

           จ๊ะจ๋าคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่มีมากนานแล้ว...และในองค์กรก็ให้ความสำคัญมาก... แต่ก็มีหลายองค์กรที่เพิกเฉย..และไม่ใสใจ........จนกระทั่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของโลก ทุกคน ทุกองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องรีบเร่งกันหายุทธศสาสตร์เพื่อปรับตัวให้ตนอยู่รอด ก็จึงเพิ่งให้ความสนใจกันสิ่งนี้..... แล้วคุณละคะคิดเช่นไร

หมายเลขบันทึก: 82986เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณน้องจ๋าที่ช่วยนำบทความที่ดีมาให้ได้อ่าน ทำให้หูตาสว่างเกิดและเกิดการวาบขึ้นในใจว่าเรา..จะต้องไม่เพิกเฉยกับคนในหน่วยงานเราเช่นกัน

ยินดีคะพี่เล็ก....และขอให้กำลังใจในการทำงานเพื่อองค์กรและเพื่อคนทำงานด้วยกันเอง..เห็นคุณค่าและใส่ใจกันและกันคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท