ฐานคิดในการสร้างพลัง (Empowerment) คืออะไร


มาจากแนวคิดของการศึกษาเพื่อการสร้างพลัง ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่เน้น ให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เกิดความนับถือเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง

     ต่อจาก การสร้างพลัง (Empowerment) คืออะไร ซึ่งโดยสรุปคือกระบวนการทางสังคม ที่ส่งเสริมให้บุคคล องค์กร และชุมชน มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถควบคุมตนเอง มีความสามารถในการเลือก และกำหนดอนาคตของตนเอง ชุมชน และสังคมได้ จากนี้จะได้กล่าวถึง ฐานคิดในการสร้างพลัง (Empowerment) ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

     ทฤษฎีการสร้างพลัง (Empowerment Theory) มาจากแนวคิดของการศึกษาเพื่อการสร้างพลัง ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่เน้น ให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เกิดความนับถือเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง

     วิธีการที่ใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อการสร้างพลังนี้ จะเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน อย่างเต็มที่ (Active Participation) โดยใช้วิธีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดระหว่างผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาของตน วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ มองภาพอนาคตได้ สามารถพัฒนากลวิธีที่จะแก้ไขปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญกา

     การจัดการศึกษาการสร้างพลังนี้ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) มีความคาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self Efficacy) สูงขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ และทำให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องมากขึ้น ในแต่ละบุคคล ทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาความเสมอภาคในสังคมด้วย (Wallertein & Bernstein, 1988:379-394)

     คัดมาเป็นตอนจาก : งานของ พนัส พฤกษ์สุนันท์ และคณะ ที่นำเสนอเมื่อครั้งประชุมวิชาการกรมอนามัย ครั้งที่ 2/2547 เรื่อง การสร้างพลังชุมชน ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2547 ณ โรงแรมทีเค พาเลส กรุงเทพฯ หากจะมีการนำไปใช้โปรดอ้างอิงถึงเจ้าของผลงานที่แท้จริงข้างต้น

[การสร้างพลัง คืออะไร]  [มีฐานคิดมาจากไหน]  [ระดับของการสร้างพลังแต่ละระดับเป็นอย่างไร]
[แล้วจะสามารถดำเนินการสร้างพลังชุมชน ด้วยวิธีการใดได้บ้าง]
[กล่าวโดยสรุปสำหรับการสร้างพลัง (Empowerment)]

หมายเลขบันทึก: 8290เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท