โรงเรียนพ่อแม่ แตกต่างจากการสอนสุขศึกษาอย่างไร


โรงเรียนพ่อแม่ไม่ใช่งานใหม่ เพียงแค่นำงานสอนสุขศึกษาที่ทำประจำมาปัดฝุ่นแล้วจัดเป็นระบบเท่านั้นเองค่ะ

    การสอนสุขศึกษาพยาบาลทุกคนทำได้อยู่แล้ว และดีด้วยเพราะถูกปลูกฝัง ถูกฝึกมาตลอดตั้งแต่เป็นนักศึกษา เราสอนกันมาหลายปีแล้วแต่เราเคยประเมินผลการสอนของเราหรือไม่? นั่นคือคำถาม...เพราะถ้าการสอนดีแล้วปัญหาด้านสุขภาพของผู้รับบริการเราที่ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง แถมยังเชื่อญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมากกว่าเราอีก ไม่น่าเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดก็น่าจะน้อยมากๆ...จึงอยากบอกเล่าเรื่องโรงเรียนพ่อแม่ซักนิดว่า....

    การให้ความรู้ของโรงเรียนพ่อแม่จะมีความแตกต่างจากการสอนสุขศึกษาปกติของสถานบริการสาธารณสุข  ในการสอนหญิงตั้งครรภ์หรือพ่อแม่/ผู้ปกครองเมื่อนำเด็กมารับบริการปกติแต่ดั้งเดิม คือ  โรงเรียนพ่อแม่จะมีองค์ประกอบของการให้ความรู้ ดังนี้              

.  โรงเรียนพ่อแม่มีแผนการสอน  การสอนแต่ละครั้งต้องกำหนดเป้าหมายว่า  พ่อแม่/ผู้ปกครองจะมีความรู้ เจตคติและทักษะอะไรบ้างที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการสอนแต่ละครั้ง       มีมาตรฐานในการสอน ผู้สอนสามารถหมุนเวียนมาสอนได้ ผู้เรียนจะได้ข้อมูลที่ไม่แตกต่างกัน และให้เกิดความเชื่อมโยงของกิจกรรม รู้ว่าหน่วยงานที่ผ่านมาสอนอะไร และหน่วยงานที่จะไปรับบริการต่อจะสอนอะไร ผู้เรียนไม่ต้องฟังอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเบื่อหน่าย

.  สอดคล้องตามความต้องการ ประเมินความรู้ของพ่อแม่/ผู้ปกครองก่อนการสอนว่าต้องการรู้และสนใจเรื่องใดมากที่สุด  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และไม่เบื่อหน่าย              

.   เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการสอนมีหลากหลายรูปแบบ  โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนกับผู้รับการอบรมระหว่างผู้รับการอบรมด้วยกัน  การแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์ระหว่างกันและกัน             ในกลุ่มผู้เรียนที่มีสถานภาพคล้ายกัน  เช่น  ตั้งครรภ์ที่มีช่วงอายุครรภ์ใกล้เคียงกัน  หรือมีลูกอายุใกล้เคียงกัน              

.  เน้นการนำไปใช้ ให้โอกาสผู้รับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติให้มีทักษะเพิ่มขึ้น              

.   ควบคุมเวลาที่ใช้สอน ระยะเวลาการสอนแต่ละครั้ง  ไม่นานเกินไป  ควรมีระยะเวลาประมาณ 30 60  นาที              

. จำกัดจำนวนผู้เรียน จำนวนพ่อแม่/ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมแต่ละครั้ง  ไม่ควรเกิน 20 คน  เพราะถ้าจำนวนผู้รับการอบรมมากเกินไป  การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์จะลดลง

 มีการติดตามประเมินผลการสอน  เพื่อนำมาพัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง

มีทีมสหสาขา  แผนการสอน การสอน การประเมินผลการสอนและการพัฒนาหลักสูตรการสอน กำหนดโดยเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักโภชนากร นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค

"คงพอได้แนวเพื่อนำไปก่อร่าง สร้างตัวงานโรงเรียนพ่อแม่กันนะคะ อยากให้มีกำลังใจแล้วเดินไปด้วยกันค่ะ   เพราะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสร้างเยาวชนของบ้านเรา แล้วเราไปสู่โครงการสายใยรักสบายขึ้น เพราะโรงเรียนพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสายใยรักจ้ะ"

สู้ๆ..สู้ทั้งคน สู้ทั้งงาน

หมายเลขบันทึก: 82881เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

บันทึกนี้ดีมากเลยค่ะ เป็นแบบอย่างของกิจกรรม ที่น่าจะนำไปปฏิบัติต่อได้ดีทีเดียว ... ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณมากคะสำหรับกำลังใจดีๆที่คุณ เพื่อนร่วมทาง มีให้เสมอคะ..ได้ใจพองโต สู้งานต่อไปคะ
เห็นด้วยกับคุณหมอนนทลีค่ะ
ขอบคุณหลาย.คะพี่ดอกปีบจะพยายามเขียนบันทึกแบบนี้อีกจ้ะ

"แบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน"

ขอขอบคุณพวกพี่ๆมากค่ะที่ให้ความกระจ่างแก่เส้นทางการทำงานของหนู

น้องผึ้ง    ค่ะยินดีที่น้องได้ประโยชน์ ขอให้สนุกกับงานโรงเรียนพ่อแม่ไปเรื่อยๆคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท