แนวทางการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2550


หลังจากที่มีโอกาสได้ไปร่วมประชุมสัมมนา  เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในวันที่ 8 มีนาคม 2550 ณ ห้องโรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กทม. ซึ่งเจ้าภาพหลักคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ชาวอุดมศึกษา พูดย่อ ว่า สกอ.โดยได้รับความสนในจากทั้งผู้บริหาร ผู้ดูแลงานประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 700 คน ด้วยอาจจากสาเหตุของความตื่นตัวทั้งการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษา จาก สมศ. และการเตรียมตัวประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2550

ซึ่งสาระโดยสรุปที่ผมได้ พร้อมทั้งความคิดเห็นส่วนตัวบางส่วน ดังนี้ครับ

  • เป็นสิ่งที่น่าดีใจ ที่ 4 องค์กรยักษ์ใหญ่ คือ สกอ.,สมศ.,ก.พ.ร., และสำนักงบฯ ได้มานั่งในที่เดียวกันพร้อมหน้าพร้อมตา ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของแต่ละองค์กร เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ทั้ง 4 องค์กรใหญ่ จะได้เกิดแนวทางในการทำงานเชื่อมโยงกันและกัน และจะส่งผลดีโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาในการลดความซ้ำซ้อนจากการทำงาน (ลดภาระงานลง) โดยเฉพาะการประเมินจากทั้ง 3 องค์กรแรก ซึ่งในประเด็นนี้ผมเชื่อว่าทุกสถาบันอุดมศึกษา ทั้งหลายก็บ่นกันมานานแล้ว รวมทั้งผมในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
  • เชื่อว่าการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณให้แต่ละสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต จะมีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น โดยยึดอย่างน้อยจาก 9 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้การประเมิน ที่ สกอ. เพิ่งคลอดออกมา ซึ่งจะทำให้แต่ละสถาบันอุดมศึกษามีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกี่ยวพันถึงการได้รับจัดสรรงบประมาณ
  • สำหรับแนวทางการทำงานต่อไปเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ของ มมส. จะมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ข่าวคราวความเคลื่อนไหวจากต้นสกัด คือ สกอ. เงียบหายไปนาน โดยมีเวลาอีกประมาณ 2 เดือนหลังจากนี้ ก่อนจะเริ่มปีการศึกษา 50 (1 มิย 50 ถึง 31 พค 51) คงต้องมีการสร้างความเข้าใจกับคณะวิชาอย่างเข้มข้น เกี่ยวกับ เอกสาร คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ของ สกอ.ซึ่งได้รับคำยืนยันแล้วจากประธานจัดทำ คือ ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ว่า นิ่งแน่นอนครับ โดยในเอกสารเล่มนี้เท่าที่อ่านนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก คือ ถ้าดูในเกณฑ์แต่ละตัวบ่งชี้ จะครอบคลุม ไปถึง ตัวบ่งชี้ของ สมศ. และตัวชี้วัดของ ก.พ.ร. โดย ศ.ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สมศ. ก็ชื่นชมพอสมควร ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการประกันคุณภาพ
  • 1 ใน 44 ตัวบ่งชี้ที่มีในเอกสาร คู่มือฯคือ ตัวบ่งชี้ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา ซึ่งที่ผ่านมา QA ภายใน ไม่ได้ลงไปถึงนิสิตนักศึกษามากนัก โดยเน้นอาจารย์และบุคลากร สำหรับผมในส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่งกับตัวบ่งชี้นี้มาก เนื่องจากนิสิตเป็นทั้งตัวป้อน และจะเป็นผลผลิตออกไป ดังนั้นเขาเหล่านั้นสมควรที่จะมีส่วน หรือรับทราบ รู้เรื่อง QA บ้าง ว่ามหาวิทยาลัยทำประกันคุณภาพภาพกันไปทำไม สุดท้ายเขาก็จะทราบเองว่าทุกๆอย่างที่ทำ ก็เพื่อให้นิสิตที่จะจบออกไปแล้วมีคุณภาพนั้นเอง ซึ่งในตัวบ่งชี้นี้ วิทยากร คือ ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร ผู้ร่วมจัดทำคู่มือ ได้ย้ำเลยว่า สิ่งที่จะทำให้ตัวบ่งชี้นี้สำหรับได้ด้วยดี นั้นคือ ต้องใช้ กระบวนการจัดการความรู้มาเป็นตัวหลักของการขับเคลื่อน
  • คู่มือเล่มนี้ที่ มมส. จะนำไปใช้นั้น คือ 9 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ เป็นเพียง minimum หมายความว่า มมส. คงนำตัวบ่งชี้เก่าๆที่เป็นเอกลักษณ์ที่ได้ใช้มาเกือบทุกปี คงต้องนำมาผนวกรวมเข้าด้วย ซึ่งคงมากกว่า 9 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ และคงมีการพัฒนาเกณฑ์การประเมินที่ท้าท้ายกว่าทีระบุไว้ในเล่ม
  • แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพ ของ มมส. ต่อไปคือ พัฒนาระบบ กลไก วิธีการของตัวเอง (IQA) แต่อยู่ภายใต้ความสอดคล้องกับแนวทางของต้นสังกัด คือ สกอ. และสามารถรองรับการประเมินภายนอก (EQA) รอบที่ 3 จาก สมศ.

เปิดดู รายละเอียดโครงการนี้ (link)

 

จริงๆแล้วมีรายละเอียดที่ได้จากการประชุมวันนั้นมากมาย แต่ขอเสนอในแนวคิดเห็นส่วนตัวในภาพใหญ่ๆ สำหรับชาวอุดมศึกษาท่านใดที่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้เข้าร่วมวันนั้น มีแนวคิดในเชิงการพัฒนา ก็ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

น่าเสียดายที่ได้เจอมิตรชาวประกันคุณภาพ อุดมศึกษา ท่านหนึ่ง คือ คุณตูน มน. เพียงแค่ทักทายกันเท่านั้น แต่ไม่มีโอกาสได้ ลปรร แม้แต่ช่วงเลิกแล้วก็ไม่ได้ร่ำลา หันมองไปหาเธออีกทีก็หายไปจากผู้คนมากมายแล้ว เหมือนดั่ง Music Video

KPN
หมายเลขบันทึก: 82824เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
ขอบคุณคุณแจ๊คมากค่ะที่นำเรื่อง เกณฑ์การประเมินอันใหม่ของ สมศ มาเล่าสู่กันฟัง ไม่ทราบว่าตอนนี้ สมศ ขึ้น web ไว้ยังค่ะ ยังไม่ได้ไปดูเลย...ปีนี้ IQA ของ มข จะใช้ PMQA ค่ะ ก็ต้องเรียนรู้กันอีกค่ะ

ขอบพระคุณค่ะแจ๊ค  เดี๋ยวต้องขอเอาไปศึกษาก่อนนะคะ  ถึงจะ มา ลปรร ได้  พี่หนิงอ่อนเรื่อง document มากค่ะ

เรียนท่านอาจารย์แป๋ว

เห็นทางเจ้าภาพ คือ สกอ. บอกว่าหลังจากการสัมมนาก็จะนำไฟล์ "คู่มือ" นี้ขึ้นเว็บครับ น่าจะเป็นที่นี้นะครับ http://www.mua.go.th/

ด้วยความเคารพครับ

กัมปนาท

เรียนพี่หนิง

สำหรับเป็นเล่มๆกับผมก็มี 1 เล่ม ยืมไปอ่านได้เลยนะครับ

กัมปนาท

  • คงจะได้เห็นการนำมาเชื่อมโยงกับ ABC Model ของกลุ่ม MSUKM นะครับ

แวะมาให้กำลังใจ และมาเก็บเอาข่าวดี ๆ ไปศึกษา

หายเหนื่อยหรือยัง น้อ

เรียนท่านอาจารย์อรรณพ

  • คงเป็นแนวทางหนึ่งในการพิจารณาพัฒนาต่อไปครับ
  • คงเป็นไปไม่ได้ที่ทางศูนย์จะทำงานเฉพาะตัวอยู่หน่วยงานเดียว คงต้องใช้แบบเครือข่าย และภาคีการทำงานครับท่านอาจารย์อรรณพ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

ขอบคุณพี่พนัส และน้องริน ครับ

โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า

1 ใน 44 ตัวบ่งชี้ที่มีในเอกสาร คู่มือฯคือ ตัวบ่งชี้ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา ซึ่งที่ผ่านมา QA ภายใน ไม่ได้ลงไปถึงนิสิตนักศึกษามากนัก โดยเน้นอาจารย์และบุคลากร สำหรับผมในส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่งกับตัวบ่งชี้นี้มาก เนื่องจากนิสิตเป็นทั้งตัวป้อน และจะเป็นผลผลิตออกไป ดังนั้นเขาเหล่านั้นสมควรที่จะมีส่วน หรือรับทราบ รู้เรื่อง QA บ้าง ว่ามหาวิทยาลัยทำประกันคุณภาพภาพกันไปทำไม สุดท้ายเขาก็จะทราบเองว่าทุกๆอย่างที่ทำ ก็เพื่อให้นิสิตที่จะจบออกไปแล้วมีคุณภาพนั้นเอง ซึ่งในตัวบ่งชี้นี้ วิทยากร คือ ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร ผู้ร่วมจัดทำคู่มือ ได้ย้ำเลยว่า สิ่งที่จะทำให้ตัวบ่งชี้นี้สำหรับได้ด้วยดี นั้นคือ ต้องใช้ กระบวนการจัดการความรู้มาเป็นตัวหลักของการขับเคลื่อน

คงต้องร่วมทำงานกับกองกิจการนิสิตเป็นสำคัญครับ โดยใช้ KM

  • แจ๊คคะ  มิตรชาวประกันคุณภาพอีกท่านที่ได้เจอในงานคือ คุณนภามาศ จาก ม.มหิดล ค่ะ  ได้ ลปรร. เกี่ยวกับ UKM กับพี่เค้าแป๊บนึงก่อนเข้าเริ่มประชุมค่ะ
  • มองๆ หาแจ๊คเหมือนกันตอนจะเดินออกจากห้อง  แต่เนื่องจากต้องรีบเดินทางกลับเพราะกลัวจะตกเครื่องน่ะค่ะเลยต้องหายตัวอย่างรวดเร็วเมื่องานเลิกค่ะ

รับทราบครับคุณตูน ก็สงสัยอยู่เช่นกัน

เรียน อาจารย์แจ็ค

ดิฉันเป็นอาจารย์อยู่ราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพ แต่ความรู้ยังน้อย ค่อยๆศึกษาเข้ามาอ่านเว็บแล้วพบข้อมูลที่ดีมาก อยากได้รู้จักกูรูทางด้านนี้ให้คำแนะนำ บรรยายสรุปเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพราะเพิ่งจะศึกษา ยังไม่มีประสบการณ์เท่าไรนัก แต่เห็นว่าถ้ามีโอกาสศึกษาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากและหน่วยงานอื่นได้นำไปประยุกต์ใช้ จึงขอคำปรึกษาและข้อมูล ถ้าจะกรุณา

อ.รุ่ง

สวัสดีครับ อ.รุ่ง สองแคว

ยินดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

เมลผม [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท