สรุปเนื้อหา สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต


องค์ปกฐก โดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน

        วันศุกร์ที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐   ได้เข้าร่วมฟังการแสดงปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ ๔ เนื่องในงาน ๓๘ ปี  วันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล  เรื่อง สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นองค์ปาฐก  ณ ห้องบรรยายศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิช  สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา   สรุปเนื้อหาสาระได้ ดังนี้


สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

1.      อุดมศึกษาไทย สู่อนาคตที่ท้าทาย ฝ่าวิกฤติ 4 ประการ

    1.1        ความเสมอภาค (EQUITY)  ปัญหาที่ผ่านมา คือคนเข้าไม่ถึงการศึกษา เนื่องจากความยากไร้ การไม่กระจายตัวของการศึกษา  แนวทางการแก้ปัญหาคือต้องสนับสนุนที่คน ไม่ใช่สนับสนุนแค่ระบบ

    1.2        คุณภาพ (QUALITY) ปัญหาคือผลงานทางวิชาการยังแข่งขันไม่ได้ และอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจ

    1.3        ประสิทธิภาพ (EFFICIENCY)

           1.3.1       ภายนอก  (EXTERNAL) ปัญหาคือมหาวิทยาลัยยังตอบสนองความต้องการของสังคมได้ไม่ดีพอ

           1.3.2       ภายใน  (INTERNAL)  ปัญหาคือการที่มหาวิทยาลัยอยู่ในระบบ ทำให้ไม่เป็นอิสระ ไม่คล่องตัว  และไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ

    1.4        ความเป็นสากล (INTERNATIONALIZATION – GLOBALIZATION)  ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน สาระความรู้ที่ตอบสนองต่อสังคมโลก และต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับ 

            จากการประเมินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 1-7 พบว่าการพัฒนาที่ผ่านมายังไม่ทำให้เศรษฐกิจดี  สังคมดี และยังไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8-10  จึงได้เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามยุทธศาสตร์อยู่เย็นเป็นสุข  โดยมีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษา ดังนี้

-          อุดมศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ สร้างขีดความสามารถในการพัฒนา และการแข่งขัน

-          คุณภาพกำลังคน เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาได้ และแข่งขันได้

-          การผลิตบัณฑิต ตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ

            ผนวกกับเสียงสะท้อนจากตลาดแรงงานเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตที่ ทฤษฎีจัด ปฏิบัติไม่ได้ / มีความรู้ไม่สู้งาน / อ่อนภาษาอังกฤษ และ ต้องฝึกอบรมเพิ่ม จึงจะทำงานได้  จึงนำไปสู่การพัฒนา สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต (CO-OPERATIVE EDUCATION)    ซึ่งเป็นแนวทางการจัดระบบการศึกษาผสมผสาน การเรียนกับการปฏิบัติงาน (WORK INTEGRATED LEARNING)   

2.      การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาการ และวิชาชีพสาขาต่างๆ ประกอบด้วย

    2.1        การเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน

    2.2        การเรียนภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ

    2.3        การฝึกปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน (Basic Training) ในสถานศึกษา

    2.4        การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ (Professional Training) ในสถานประกอบการ  

3.      การจัดการศึกษาผสมผสานการเรียนและการปฏิบัติงาน จัดได้หลากหลาย อาทิ

    3.1        ฝึกงานในสถานประกอบการเป็นระยะสั้นๆ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา

          3.1.1       ไม่นับหน่วยกิต หรือ

          3.1.2       นับหน่วยกิต

    3.2        ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเต็มเวลาตามระยะเวลาที่กำหนด โดยถือเป็นส่วนของการศึกษา

          3.2.1       ไม่นับหน่วยกิต หรือ

          3.2.2       นับหน่วยกิต 

4.      ปัญหาในการจัดระบบการศึกษาผสมผสานการเรียนและการปฏิบัติงาน

    4.1        หาสถานประกอบการที่พร้อมและเหมาะสมได้ไม่เพียงพอ

    4.2        ประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกไม่ตรงกับสาขาวิชาการและวิชาชีพ

    4.3        ระยะเวลาที่ฝึกสั้นเกินไป (ภาคฤดูร้อน)

    4.4        ขาดการสอนงานและการนิเทศการฝึกงานที่ดี

    4.5        ขาดการประเมินผลที่เป็นระบบและได้มาตรฐาน

  

5.      สหกิจศึกษาคืออะไร สหกิจศึกษา (C0-OPERATIVE EDUCATION) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการอย่างมีระบบด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  

6.      วัตถุประสงค์

    -          เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ และการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน

    -          เพื่อเปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

    -          เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย ได้มาตรฐาน และตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

    -          เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยผ่านนักศึกษาผู้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และคณาจารย์ที่ไปนิเทศงาน 

7.      หลักสูตรและกระบวนการสหกิจศึกษา

    7.1        เป็นส่วนของหลักสูตรระดับปริญญา กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานเต็มเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา

    7.2        กำหนดภาคการศึกษาสหกิจศึกษา จัดภาคการศึกษาสหกิจศึกษาให้กระจายตลอดทั้งปี เพื่อให้สถานประกอบการณ์ใช้ประโยชน์จากแรงงานนักศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง

    7.3        การเสนองานให้แก่นักศึกษา:  สถานประกอบการให้รายละเอียดของลักษณะงานที่ต้องการให้นักศึกษาปฏิบัติ และค่าตอบแทนล่วงหน้าประมาณ 1 ภาคการศึกษา

    7.4        การคัดเลือกนักศึกษา

            -          นักศึกษาสมัครงานตามความสนใจ โดยเลือกสถานประกอบการได้ตามจำนวนที่กำหนด

          -          มหาวิทยาลัยส่งใบสมัครให้สถานประกอบการณ์คัดเลือกโดยการสัมภาษณ์นักศึกษา

          -          สถานประกอบการแจ้งลำดับการคัดเลือกนักศึกษา

          -          มหาวิทยาลัยจัดคู่สถานประกอบการและนักศึกษาจนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย

    7.5        ค่าตอบแทน  นักศึกษาสหกิจศึกษาเป็นเสมือนพนักงานชั่วคราวของสถานประกอบการ และได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนที่สถานประกอบการกำหนด

    7.6        การเตรียมตัวนักศึกษาก่อนการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยปฐมนิเทศโดยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานประกอบการ การเลือกงาน การเขียนใบสมัคร การเขียนประวัติส่วนตัว การสัมภาษณ์และการเขียนรายงานทางวิชาการ

    7.7        การนิเทศงาน

             -          อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะไปนิเทศงานนักศึกษาแต่ละคนในระหว่างการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

          -          หัวหน้างานของสถานประกอบการจะตรวจงานของนักศึกษาและประเมินผลการปฏิบัติงานส่งให้มหาวิทยาลัย

    7.8        กิจกรรมภายหลังการปฏิบัติงาน นักศึกษาส่งรายงาน เข้ารับการสัมภาษณ์และร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา และร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

    7.9        การประเมินผลประกอบด้วย

          -          เข้ารับการอบรมครบถ้วนตามที่กำหนด

          -          การประเมินผลจากหัวหน้างาน

          -          การเข้ารับการสัมภาษณ์หลังการปฏิบัติงาน

          -          ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

          -          การประเมินผลจากอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา  

8.      ใครได้ประโยชน์จากสหกิจศึกษา

    8.1  นักศึกษา

            -          ได้ประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาวิชาเอก

          -          มีผลการเรียนในมหาวิทยาลัยดีขึ้น

          -          เกิดการพัฒนาตนเอง มั่นใจในตนเองมากขึ้น

          -          เกิดทักษะการสื่อสารรายงานข้อมูล

          -          มีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา

          -          เลือกสายงานอาชีพได้ถูกต้อง

          -          ได้รับค่าตอบแทน

          -          เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทำงาน

    8.2  มหาวิทยาลัย

            -          เกิดความร่วมมือทางวิชาการ และความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการ

         -          ได้ข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน

         -          สหกิจศึกษาช่วยให้มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน

    8.3  สถานประกอบการ

           -          มีนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานตลอดปี

        -          ลดการจ้างพนักงานประจำ

        -          พนักงานประจำมีเวลาที่จะทำงานสำคัญได้มากขึ้น

        -          เป็นวิธีคัดเลือกพนักงานได้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น

        -          มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย

        -          เกิดภาพพจน์ที่ดีด้านการส่งเสริมการศึกษา  

9.      ผลสัมฤทธิ์ของสหกิจศึกษา  ผลประเมินของมหาวิทยาลัยพบว่า

      -          บัณฑิตสหกิจศึกษาได้งานเร็วกว่าและมากกว่าบัณฑิตที่ไม่ได้ร่วมสหกิจศึกษา

      -          ผู้ประกอบการพอใจคุณภาพบัณฑิตสหกิจศึกษาสูงกว่าบัณฑิตที่ไม่ได้ร่วมสหกิจศึกษา

      -          มหาวิทยาลัย เห็นว่า ผู้ที่ผ่านสหกิจศึกษามีวุฒิภาวะความรับผิดชอบและมีวินัยสูงขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 82793เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเยี่ยม...

อ่านแล้ว...

เป็นวิชาการดีสามารถนำไปใช้ได้เลยนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

P

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ น่าลองเอาไปปรับใช้ดูนะครับ คงจะเกิดประโยชน์กับหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะกับตัวนักศึกษาเอง  ถ้าได้ลองปฏิบัติงานอย่างจริงจังครับ

  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • แวดวงการศึกษา มีอะไรให้พัฒนาอยู่ตลอดเวลาเช่นกันนะคะ
  • สู้สู้ค่ะ

สวัสดีครับคุณ

P
  • แวดวงนี้ก็พัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ แรงผลักดันจากภายในก็มีส่วน แต่เงื่อนไขจากภายนอกที่บีบบังคับ ก็มีมากพอสมควรครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ  สู้ สู้!!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท