การร่วมมือทำวิจัยระดับปริญญาโทและเอกโดยผ่านทาง Gotoknow, Learners, Researchers


ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมานี้ ดิฉันได้รับอีเมล์ติดต่อจากนักศึกษาปริญญาโทและเอกทั้งในและนอกประเทศประมาณ 6 ราย เพื่อขอทำวิจัยเกี่ยวกับ blog เพื่อการจัดการความรู้ ทั้งสามเว็บไซต์ คือ GotoKnow.org, learners.in.th, researchers.in.th

แต่ดิฉันคงต้องขออนุญาตปฏิเสธค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเลือกที่รักมักที่ชัง (จำนวน 6 คน ไม่น้อยเลยนะค่ะ) และที่สำคัญคือ ดิฉันมีภารกิจเยอะมากค่ะ คงไม่สะดวกในการช่วยเหลือใดๆ ได้

ทิ้งท้ายไว้สำหรับนักศึกษาทุกท่านด้วยเจตนาดีค่ะ การจัดการความรู้นั่นไม่ทำก็ไม่รู้ค่ะ เช่นกันค่ะ การทำวิจัยเรื่องบล็อก

  • ก็ต้องเขียนบล็อก
  • ต้องสร้างชุมชนกลุ่มคนคอเดียวกันเองที่พร้อมรับและให้
  • เป็นส่วนหนึ่งของสังคมออนไลน์
  • ต้องเข้าใจประโยชน์ของบล็อก
  • ต้องทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทำด้วยใจรักที่จะให้ก่อนเสมอค่ะ

สรุปคือ ต้องเข้าถึงจิตวิญญาณของงานวิจัยที่จะทำก่อนลงมือทำค่ะ

และจากที่ประชุมการวิจัย KM ครั้งที่ผ่านมา (http://gotoknow.org/post/tag/kmr) ดิฉันก็ขอยืนยันค่ะว่า อ.วิจารณ์ อ.ประพนธ์ สคส. และ นักวิจัย KM แถวหน้าของไทย ก็สนับสนุนความคิดนี้เช่นเดียวกันค่ะ

ลองเข้าไปอ่านลิ้งค์รวมบันทึก KM research  (kmr) ดังกล่าวดูนะค่ะ จะเห็นไอเดียแนวทางการทำวิจัย KM ดีๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ
ดร.จันทวรรณ

หมายเลขบันทึก: 82776เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้ของอาจารย์ทำให้ผมนึกถึงตอนสมัยเรียนที่ UMBC มีคนขอทำวิจัยเกี่ยวกับทักษะการคิดของโปรแกรมเมอร์โดยที่เขาไม่เคยพัฒนาซอฟต์แวร์จริงมาก่อนเลย

หัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์ที่ผมทำงานอยู่ด้วยปฎิเสธโดยให้เหตุผลว่า การจะทำความเข้าใจทักษะและความคิดบางอย่างนั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติจริง ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท