ค่าเสียโอกาส...เสียอะไรกันเนี่ย ???? (เศรษฐศาสตร์...ริมรั้ว)


เมื่อจำเป็นต้องเลือก...ก็ต้องเลือกที่จะเสียโอกาสน้อยที่สุด

          ค่าเสียโอกาส(Opportunity  Cost)

เป็นวิธีการคิดข้อดีข้อเสีย 

เรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่จะได้มาโดยที่ไม่เสียอะไรไป   

          ถ้าจะแปลอย่างเป็นทางการคือมูลค่าสูงสุดของทางเลือกที่เราได้สละทิ้งไป

          คราวนี้ลองมาดูถ้าคุณต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือก

ทางเลือกที่ 1  การทำงานเอกชน

ทางเลือกที่ 2  ทำธุรกิจส่วนตัว

ทางเลือกที่ 3  อาจารย์มหาวิทยาลัย/รับราชการ 

คุณจะเลือกอย่างไร 

โดยใช้เรื่องค่าเสียโอกาสมาอธิบาย 

อย่าลืมว่า.... 

เราควรเลือก...ทางเลือกที่เสียโอกาสน้อยที่สุด...

ท่านใดที่แวะเข้ามาอ่าน...เคยเจอเหตุการณ์ที่

ต้องเลือกอย่างนี้มั้ยคะ...แล้วคุณมีวิธีคิดอย่างไร

ก่อนที่จะตัดสินใจ  

สิ่งที่คุณเข้ามาแลกเปลี่ยนจะเป็นประโยชน์

กับน้องๆโรงเรียนบ้านเม็กดำ 

และผู้ที่กระหายต่อการเรียนรู้....มาบอกเล่าประสบการณ์

กันหน่อยนะคะ  

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


    



ความเห็น (20)
  • ค่าเสียโอกาสวัดที่ตัวเงินเท่านั้นหรือความพึงพอใจหรือคุณค่าทางจิตใจได้ด้วยครับ?
  • ในตอนแรกหว้าสอนเด็กก็วัดในรูปตัวเงินค่ะ
  • ในตำราก็วัดแต่รูปตัวเงิน  ตัวเลขเห็นภาพได้ง่าย แต่เมื่อเรานำมาประยุกต์ใช้ในการเลือกในชีวิตประจำวัน
  • ซึ่งจะมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ  ความพึงพอใจ   ความรู้สึก  ล้วนนำมาใช้ได้หมด  แต่เราวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ค่ะ...

ได้อย่างเสียอย่าง เป็นธรรมดาของโลกครับ อ.ลูกหว้า

ขอเพิ่มปัจจัยในการตัดสินใจค่ะ อ.ลูกหว้า

  • ความชอบ  ความถนัด เกี่ยวกับงาน
  • ความก้าวหน้าของอาชีพ
  • ความท้าทายของงาน
  • โอกาสการได้รับการฝึกอบรม พัฒนาทักษะในการทำงาน
  • รายได้ โบนัส สวัสดิการต่าง ๆ
  • เวลาการทำงาน
  • ความรับผิดชอบของงานและลักษณะงาน
  • บทบาทของงาน ที่ได้รับ และประสบการณ์ที่จะได้รับ
  • การเดินทาง (คนที่ทำงานกรุงเทพ คำนึงกันมาก)
  • เป้าหมายส่วนบุคคล

อันนี้เพิ่มเติมจากชีวิตจริง ที่ต้องบอกว่า มีปัจจัยหลาย ๆ มากที่ต้องคำนึง เพราะการเลือกงาน เหมือนกับการเลือกเส้นทางหนึ่งของชีวิตค่ะ  ค่าเสียโอกาสมันก็ต้องประเมินกันดูว่า อะไรจะได้ จะเสียมากกว่ากันค่ะ

ประเมินยากเหมือนกันนะค่ะ เพราะวัดออกมาเป็นตัวเลขยากทีเดียวค่ะ 

 

 

  • ค่ะ..คุณย่ามแดง..ยังยิ้มได้นะคะ  เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยมายกตัวอย่างค่ะ  ง่วงแล้ว...
  • น้องมะปรางเปรี้ยว...ไม่รู้สินะ  เวลานำมาประยุกต์นอกจากเงินเดือนแล้ว  ส่วนใหญ่พี่จะบอกเด็กว่าลองวัดที่ความรู้สึกเอาละกัน
  • ในความเป็นจริง  ถ้าวัดเป็นตัวเลขหมด พอดีเลิกคิดดีกว่า....เอาเป็นว่าลองมาปรับใช้ให้เหมาะกับเราค่ะ
  • เดี๋ยวพรุ่งนี้มาคุยกันค่ะ  ช่วงนี้รู้สึกนักศึกษาพี่จะเริ่มเข้ามาสมัครที่ g2k กันด้วย  เผื่อเขาจะมาแลกเปลี่ยนบ้าง...

อาจารย์ลูกหว้าค่ะ

วัดไปวัดมา เกณฑ์มากมากที่เขียนไว้ ก็จะถูกตัดเหลือแค่บางส่วนค่ะ อาจจะเลือกเกณฑ์ใหญ่ ๆ มาใช้ในการตัดสินใจ เช่น รายได้ สวัสดิการ ความชอบ

คนทำงาน ก็หวังเงินเดือนที่สูงขึ้น เกณฑ์รายได้จึงเป็นอันดับต้น ๆ ในการพิจารณา แต่ปัจจุบัน เรื่องเวลาการทำงานก็มีส่วนค่ะ เพราะคนเราก็ต้องการชีวิตความเป็นส่วนตัวกันเยอะขึ้น ทำงานหนักไป ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว ชีวิตก็อาจจะขาดสมดุล (อันนี้หนูคิดเองนะค่ะ)  ส่วนเรื่องความชอบ ที่เกี่ยวกับการ มันก็ย้อนกลับมาถึง ความสุขในการทำงานที่ตนเองชอบอีกด้วยค่ะ

 

  • ขอบคุณค่ะน้องมะปรางเปรี้ยว พี่ได้มุมมองมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกเลยค่ะ
  • เอ๊ะ...ว่าแต่จะเลือกไปทำไมหล่ะเนี่ย
  • ขอเป็นตัวอย่างค่ะ  ในการที่เราจะโยงเรื่องค่าเสียโอกาสไปใช้กับเรื่องอื่นๆบ้าง

ผมเลือกทำงานเอกชนในช่วงแรกครับ...ด้วยเหตุผลดังนี้ครับ...

เปรียบเทียบกับราชการ

เพราะรายได้เยอะกว่าข้าราชการในขณะต้องสูญเสียเวลาในการทำงานเท่ากัน...

มีโอกาสในการก้าวหน้าและเพิ่มเงินเดือนมากกว่า...

เปรียบเทียบกับทำธุรกิจส่วนตัว

งานเอกชนมีความเสี่ยงน้อยกว่าเนื่องจากเรายังขาดประสบการณ์ในการทำงาน

แต่พอมีประสบการณ์แล้ว

เลือกทำธุรกิจส่วนตัวครับ เพราะเราทุ่มกำลังกาย กำลังใจเท่าไหร่ผลกำไรทั้งหมดก็ได้เราทั้งหมดครับ...

สวัสดีครับ

ถ้าเอาตามหลักเศรษฐศาสตร์เปะๆ ถ้าเราสามารถหา utility function ได้ เราก็สามารถตัดสินใจได้ครับ แต่เนื่องจากคนส่วนมากไม่สามารถหา utility function ของตัวเองได้ วัดความรู้สึกออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ ก็เลยทำให้ เวลาตัดสินใจทีไรลำบากเหลือเกิน

แต่นัก decision theorists เองก็ได้ให้แนวคิดและวิธีการในการตัดสินใจมานะครับ ยกตัวอย่างเช่นวิธีง่ายๆวิธีหนึ่งก็คือการตัดสินใจโดยการเลือกตัวเลือกที่ชอบที่สุด

วิธีการก็ง่ายๆครับ อย่างที่อาจารย์ลูกหว้าได้กรุณายกตัวอย่างมาว่าจะเลือกอาชีพอะไร

ข้อแรกเราก็ต้องหาเกณฑ์ในการตัดสินใจครับ ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน สวัสดิการ ความเสี่ยง เวลากับครอบครัว เวลาเที่ยว เวลาว่าง สารพัดที่เราคิดว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจครับ

พอได้แล้ว เราก็มาให้น้ำหนักกับเกณฑ์ที่เราเลือก เราอาจจะให้น้ำหนักจากชอบมากไปชอบน้อย หรืออะไรก็ได้ครับ เช่น เงินเดือน เราก็อาจจะให้น้ำหนักว่า ข้าราชการ น้อยสุด เอกชนมากสุด อะไรประมาณนี้ครับ

จากนั้นก็บวกกันครับ แล้วก็เลือกเอาค่าที่ชอบที่สุดเป็นคำตอบ

ข้อดีของวิธีนี้ก็คือมันเป็นตัวเลขครับ ดังนั้นมันก็เลยมีคำตอบออกมา

แต่ข้อเสียก็คือเราอาจจะมีการลำเอียงตอนการให้คะแนนครับ ซึ่งถ้าเราคิดว่าเราจะลำเอียงเราก็อาจจะต้องไปปรึกษาผู้รู้เพื่อหาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจครับ  

สำหรับผม

ปัจจัย

เงิน(รายได้ต่อหน่วยเวลาที่ทำงาน)

เอกชน>ทำธุรกิจส่วนตัว>ราชการ

ความมั่นคงในงาน(การตกงาน)

ราชการ>ทำธุรกิจส่วนตัว>เอกชน

การเข้าถึงงาน (โอกาศได้งาน)

ทำธุรกิจส่วนตัว>เอกชน>ราชการ

การรับรู้ถึงอาชีพ(โดยเฉพาะเด็กๆ)

 ราชการ>เอกชน>ทำธุรกิจส่วนตัว

โดยรวมสำหรับผม

 ทำธุรกิจส่วนตัว>ราชการ>เอกชน

แม้ว่าผมจะรับราชการ  กว่า 15 ปี

โอกาส ของแต่ละคนก็คงไม่เหมือนกัน ถึงใครๆบอกว่าโอกาสมี แต่เจ้าตัวไม่ชอบก็คงไม่ใช่โอกาสของเค้า

มันคง ต่างกรรม ต่างวาระ มังครับ

อ.หว้า ตั้งแง่ให้คิด ดีครับ

ผมลาพักผ่อน 10 กว่าวัน อาจหายไปบ้างนะครับ 

 

 

  • ขอบคุณค่ะ  หายไปนอนเล่นกับคุณสุนัขที่บ้านหรือคะ....
ทำทั้ง 3 อย่างเลยค่ะ    แต่อย่าให้ตายเสียก่อนนะค่ะ  เพราะทั้ง 3 อย่างจะช่วยเกื้อหนุนกันเองทั้งในภาคธุรกิจ ภาคเอกชน(ทั่วไป)และ ภาครัฐ  หว้าซะอย่าง สู้ ๆๆๆๆเพื่อน
  • ขอบคุณทุกคน  สำหรับข้อคิดเห็นที่มีคุณค่ามากเหลือเกิน...
  • Mr.Direct 
  • ตาหยู

  • เมื่อคืนง่วงนอนค่ะ   มาเปิดตอนเย็น  ไม่คิดว่าจะมีคนมาเข้าช่วงกลางคืนค่ะ
  • เรื่องนี้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ค่ะ
  • เรื่องค่าเสียโอกาสในการเลือกอาชีพ  สมมติว่าเราเลือก 1. ทำงานเอกชน  ก็คือเราต้องดูว่าเราสูญเสียโอกาสไปเท่าไหร่ในการ
  • ที่เราไม่ได้เลือกทำธุรกิจส่วนตัว  และรับราชการ (แต่เราจะดูเฉพาะค่าเสียโอกาสสูงสุดเท่านั้นค่ะ)
  • ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าเรามองแค่รายได้
  • 1. ทำงานเอกชน        รายได้    20,000 บาท
  • 2.  ธุรกิจส่วนตัว         รายได้  100,000 บาท
  • 3.  รับราชการ             รายได้      8,000 บาท
  •  กรณีเลือกทำงานเอกชน     ค่าเสียโอกาส  100,000   บาท
  • กรณีเลือกธุรกิจส่วนตัว   ค่าเสียโอกาส  20,000   บาท
  • กรณีเลือกรับราชการ   ค่าเสียโอกาส
  • 100,000 บาท

  • งงมั้ยคะ  คำว่า "ค่าเสียโอกาส"  คือ ถ้าเราเลือกอาชีพหนึ่งแล้ว  เราจะสูญเสียโอกาสที่เราจะได้รับ  ถ้าเราเลือกทำอาชีพอื่นที่เราสละทิ้งไป 

  • แต่ถ้ากรณีมีอาชีพหลายอย่างที่จำเป็นต้องสละทิ้งไป เราจะเทียบกับอาชีพที่มีค่าเสียโอกาสสูงสุด
  • สุดท้ายเมื่อถึงตอนต้องพิจารณาเราจะเลือกอาชีพที่ถ้าเลือกแล้ว
  • เราจะมีี ค่าเสียโอกาสที่ต่ำที่สุด
  • ว่าแล้วเราจะเลือกอาชีพไหนดีคะ  กรณีมองแต่รายได้   สรุปคือ เลือกทำธุรกิจส่วนตัว เพราะมีค่าเสียโอกาสต่ำที่สุดคือ 20,000 บาท
  • แต่ในความเป็นจริงเรามองแค่เรื่องรายได้มั้ยคะ
  • เปล่าเลย...หลายๆท่านมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ในการพิจารณา
  • แล้วจะมาบอกเล่าอีกทีนึงค่ะ
  • พอดีเพลียมากเลยค่ะ วันนี้...ขออนุญาตมาเล่าวันต่อๆไปนะคะ...
  • พอดีต้องเตรียมการสอนพรุ่งนี้ค่ะ
เรียนเศรษฐศาสตร์ ในช่วงเรียนปี 2 มหาวิทยาลัย ... คิดดูซิค่ะว่านานแค่ไหน แต่คำว่า เสียโอกาส กับอีกคำที่ไม่เคยลืมคือ ค่าเสื่อมราคา....เพราะตอนนั้นเรียนไม่เข้าใจ 2 คำนี้เท่าไหร่ ตอนนี้เริ่มเข้าใจเรื่องเสียโอกาสแล้ว ขอบคุณค่ะ....แต่คำว่า...ค่าเสื่อมราคา ยังไม่เข้าใจค่ะ ทำอย่างไรดีค่ะ?...ยิ้ม ยิ้ม
  • พี่แป๋ว..พอดีจะรีบไปสอนค่ะ  "ค่าเสื่อมราคา" อาจารย์บัญชีจะบอกได้ละเอียดกว่าค่ะ  เดี๋ยวตามราณีมาช่วยตอบค่ะ
  • คราวนี้ได้้ข้อเสนอแนะจากหลายๆท่านค่ะ จึงนำมาเรียบเรียง  เพื่อบางท่านจะลองไปทดสอบก่อนการตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหนค่ะ
  • ขออธิบายก่อนนะคะว่าเราจะทำการถ่วงน้ำหนักโดยการให้คะแนน
  • เรียงตามลำดับ 3,2,1 ในแต่ละหัวข้อ  แล้วค่อยรวมคะแนนค่ะ

  • ขอยกตัวอย่างตัวเองนะคะขอใช้เกณฑ์คร่าวๆในการพิจารณาค่ะ
  • ***************************************************************************
  • รายได้  โบนัส  สวัสดิการต่างๆ
  • ธุรกิจส่วนตัว (3)   เอกชน (2) รับราชการ(1)
  •  ความมั่นคงในงาน
  • รับราชการ(3)   ธุรกิจส่วนตัว(2)  เอกชน(1)
  • ความชอบ ความถนัดเกี่ยวกับงาน
  • ธุรกิจส่วนตัว(3)  รับราชการ(2)  เอกชน(1)
  • ความพึงพอใจของครอบครัว
  • รับราชการ(3)  ธุรกิจส่วนตัว(2)  เอกชน(1)
  • เวลาในการพักผ่อน
  • รับราชการ(3)   ธุรกิจส่วนตัว(2) เอกชน(1)

สรุปผลคะแนนค่ะ

ธุรกิจส่วนตัว 3+2+3+2+1+1 = 11

เอกชน           2+1+1+1+2+2 =   7

รับราชการ    1+3+2+3+3      = 12 

 

คราวนี้เป็นเราๆเห็นตัวเลขแบบนี้ก็คงเลือกทันทีเลย ใช่มั้ยคะ  จากตัวเลขเฉียดฉิวกันมากๆเลย  รับราชการได้คะแนนมากที่สุดคือ 12  เป็นทางเลือกที่น่าเลือกที่สุดใช่มั้ยคะ

แต่ถ้านำเรื่องค่าเสียโอกาสมาอธิบายก็เหมือนเดิมค่ะคือ 

เลือกธุรกิจส่วนตัว   มีค่าเสียโอกาส     12

เลือกเอกชน             มีค่าเสียโอกาส     12

เลือกรับราชการ      มีค่าเสียโอกาส     11 

 

สรุปคือ  หว้าจะเลือกรับราชการเพราะมีค่าเสียโอกาสน้อยที่สุดค่ะ 

เห็นมั้ยคะ  การนำตัวเลขมาช่วยในการตัดสินใจทำให้เราเห็นภาพได้ง่ายขึ้นค่ะ

ท่านใดสนใจจะลองนำไปประยุกต์ก็ได้เลยนะคะ ในกรณีเรามีเรื่องต้องเลือกหลายๆทางค่ะ  คุณสามารถเพิ่มปัจจัยต่างๆตามที่คุณต้องการได้เลยค่ะ

  • ถ้าท่านใดเข้ามาอ่านลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ    จะได้ช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้น
  • สำหรับการยกตัวอย่างข้างบนเป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ
  • แต่ถ้าเรามีเรื่องที่จะต้องเลือกแบบละเอียด  ปัจจัยที่จะเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาค่อนข้างมาก
  • เราอาจจะใช้ตัวเลขรวมเป็น 100 % ก็ได้  โดยเลือกให้คะแนนถ่วงน้ำหนักเป็นเปอร์เซ็นต์   แต่ละหัวข้อให้รวมให้ได้ 100 %
  • ที่สำคัญเราจะต้องไม่ลำเอียงในการถ่วงน้ำหนักค่ะ
  • หว้าคิดว่าบางครั้งการที่เราพูดคุยกันว่าเราชอบอาชีพนี้  เราชอบอาชีพนั้นมันไม่เห็นภาพเท่ากับการวัดเป็นตัวเลขค่ะ
  • จากที่ตัวเองลองเขียนมาคร่าวๆ ปกติก็ไม่เคยทำเหมือนกันค่ะ   แต่อยากให้ทุกคนเห็นภาพ  ทำให้รู้อะไรพอสมควร   เดี๋ยวอาจจะลองนำเกณฑ์แบบละเอียดมาพิจารณาอีกทีหนึ่งค่ะ
  •                       Teacher
  • ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและเข้ามาเยี่ยมชมค่ะ  หวังว่าโรงเรียนบ้านเม็กดำอาจจะได้แนวคิดอะไรบ้างนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท