เก็บตกจากเวที KM Research (๑)


KM และการวิจัยมี ๒ aspects เป็นอย่างน้อย คือวิจัย KM และ KM เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย

การได้เข้าประชุมเวที KM Research เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ดิฉันได้กำไรอย่างมาก ดิฉันห่างเหินการควบคุมวิทยานิพนธ์มาหลายปี ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่บ้างก็เป็นเรื่องของการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ 

ดิฉันได้ข้อคิดจากอาจารย์วิจารณ์และผู้เข้าประชุมหลายเรื่อง ขอเก็บมาเล่าเป็นตอนๆ เริ่มจากของอาจารย์วิจารณ์ที่ดิฉันสรุปได้จากเวทีในช่วงเช้า

อาจารย์วิจารณ์พูดถึงโจทย์วิจัยว่า โจทย์วิจัยต้อง “ต้องชัด clear และคม” ดิฉันติดตามเนื้อหาต่อๆ ไปก็ได้ข้อคิดว่าการจะตั้งโจทย์ให้คมชัดได้ต้องมีประสบการณ์ตรง (ในเรื่องนั้นๆ)

นักศึกษาจะทำวิทยานิพนธ์ได้ดี ต้องมีแรงบันดาลใจที่มาจากข้างใน ผู้เป็นอาจารย์ต้อง inspire นักศึกษา ช่วยเติมเชื้อเพลิงให้เขา กรณีนี้ดิฉันคิดว่าใช้ได้กับคนทำวิจัยด้วย จะทำวิจัยให้ได้ดีก็ต้องมีแรงบันดาลใจที่มาจากข้างใน

KM และการวิจัยมี ๒ aspects เป็นอย่างน้อย คือวิจัย KM และ KM เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย อาจารย์วิจารณ์มีความเห็นว่า Focus Group กำลังจะแพ้ Storytelling เพราะ Focus Group บางที artificial ไม่ได้ทำจริง แต่ Storytelling ไม่ได้ ต้องเป็นคุณกิจตัวจริง สำหรับคำถามที่ว่าจะทำเป็นโมเดลไว้ใช้ได้ไหม อาจารย์วิจารณ์คิดว่า “ได้และไม่ได้” ที่ไม่ได้เพราะแต่ละบริบทขององค์กร สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้ต่างกัน

การเรียนปริญญาเอกสมัยก่อน นักศึกษาอยู่กันเป็น colony อาจารย์ทำเรื่องนั้นๆ มานานแล้วจึงเปิดหลักสูตร นักศึกษาเข้าไปอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม interact กับอาจารย์ตลอดเวลา นักศึกษาเรียนจากกันและกันมากกว่าเรียนจากอาจารย์ เป็น CoP of Learning

ประเทศไทยหลังๆ นี้เกิดการเรียนปริญญาเอกแบบใหม่ ไม่มี colony ไม่มี CoP ไม่มีเจ้าสำนัก ลูกศิษย์อยากทำวิทยานิพนธ์ ก็ไปไล่ล่าหาเอาเอง เป็น innovation ที่อาจารย์ขอไม่ criticize มีจุดอ่อนแต่ก็มีจุดแข็งในนั้น นักศึกษา “ต้องมีสตางค์แล้วกระดูกต้องแข็งด้วย”

อาจารย์วิจารณ์เล่านิทานปี ๒๕๒๗ ที่ตนเองได้ไปเป็นพยานในศาล เพื่อเป็นตัวอย่างในเรื่องของวิธีคิดว่าไม่ใช่ either or แต่เป็น both and ในโลกแห่งความเป็นจริง การคิดแบบขาว-ดำ จะปิดประตูปัญญาเลย

วิทยานิพนธ์ ไม่ค่อยเห็นมีอะไรใหม่ แต่ทำกันจัง เอาแบบสอบถามให้ตอบ.......ได้ทำพิธีกรรมเพื่อให้ได้ปริญญาเอก เหตุที่มีพิธีกรรมเช่นนี้ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมฐานานุรูป คนนับถือฐานะ ไม่นับถือเนื้อใน

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๐

คำสำคัญ (Tags): #km research#kmr
หมายเลขบันทึก: 82733เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รวมบันทึกที่เกี่ยวเนื่องมาจากงาน km research ค่ะ

http://gotoknow.org/post/tag/kmr

ปล. อาจารย์วัลลาช่วยใส่คำหลักคำว่า kmr ด้วยนคะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท