แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (วันสตรีสากล)


วันสตรีสากล 8 มีนาคม ของทุกปีและเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากเยาวชน
 

วันสตรีสากล 8 มีนาคม

ประวัติความเป็นมา
  วันสตรีสากลมีจุดกำเนิดมาจากการนัดหยุดงานและเดินขบวนของกรรมกรหญิงโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีของผู้ใช้แรงงาน นำโดย คราลา เซทคิน ผู้นำแรงงานหญิงชาวเยอรมัน ที่มีชีวิตอันแร้นแค้น ไร้ความหวังจากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมอันเลวร้าย และมีชั่วโมงทำงานยาวนาน หลังจากต่อสู้นานถึง 3 ปีเต็มในวันที่ 8 มีนาคม 1910 ผู้แทนหญิงจาก 18 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมเพื่อสนับสนุนและเสนอให้มีการคุ้มครองแรงงานหญิงในระบบ สาม 8 ในการทำงาน กล่าวคือ 8 ชั่วโมงทำงาน 8 ชั่วโมงเพื่อการพักผ่อน และ 8 ชั่วโมง

             เพื่อการศึกษาแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง กำหนดค่าจ้างให้เท่าเทียมกับชาย ให้การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก เพื่อเรียกร้องให้มีระบบ เช่น เนื่องจากคนงานหญิงในสมัยนั้นต้องทำงานอยู่ในโรงงานไม่ต่ำกว่า 16-17 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีการประกันการใช้แรงงานใดๆ คนงานหญิงที่เข้าไปทำงานในเวลาไม่กี่ปีก็ต้องกลายเป็นคนหลังค่อม ตามัวหรือเป็นวัณโรคและถึงแก่ชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว
 

เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิง ที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ใน วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี

                   ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงหลายประเทศทั่วโลก ได้มีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์ เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงาน ได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผู้หญิงได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ๆ และได้รับการยอมรับให้ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับสูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง หรือระบบราชการ ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันสตรีมีศักยภาพในด้านฝีมือการทำงาน ที่ทุกคนได้ประจักษ์ถึงความสามารถไม่แพ้บุรุษเพศ

 
           ในอดีตที่ผ่านมา เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อสตรีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยเฉพาะ วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีในนิวยอร์ค เดินขบวนเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเรียกร้องสิทธิของสตรีมีต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัยจนปี ค.ศ.1911 ได้มีการจัดฉลองวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม อันเป็นความพยายามในการท้าทายอย่างเปิดเผย ต่อขนบประเพณีดั้งเดิม และเป็นแรงผลักดันให้ทุกฝ่ายตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรี และการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี ทั้งการออกเสียงเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการทำงาน จากความพยายามของสตรีที่ผ่านมา ทำให้สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติมีมติในปี ค.ศ.1957 เชิญชวนให้ทุกประเทศกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันฉลองแห่งชาติว่าด้วยสิทธิสตรีและสันติภาพสากล
           โดยให้ขึ้นกับขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพทางประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งหลายประเทศส่วนใหญ่ได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ตลอดจนกลุ่มสตรีจากทุกทวีปทั่วโลก ได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา          สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา


ขอบคุณที่มา : กรมประชาสัมพันธ์

          วันสตรีสากล ให้โอกาสคนที่ทำงานด้านเด็กและสตรี ได้ออกมาจัดกิจกรรมและระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา

           ในขณะที่นั่งทำงานในวันนี้ มีเสียงร้องไห้ผ่านสายโทรศัพท์มาว่า "หนูทนไม่ไหวแล้วนะพี่"  เป็นเสียงของนิสิตชั้นปีที่ 1 นี่เองน้ำเสียงสั่นเครือปนมากับน้ำตา  เธอถูกผู้ชายซึ่งคบกันมา 1 ปี หักหลังโทรศัพท์ไปประจานเธอให้เสียหายต่อผู้อื่น เธออับอาย  เพราะผู้หญิงต้องการเลิกคบ เบื่อหน่ายต้องการเรียนหนังสือ รู้สึกชีวิตไม่ค่อยเป็นอิสระ หึงหวง ไม่ต้องการให้เรียนหนังสือ อยู่ห่างไกลกัน  ส่วนผู้ชายทำงานรับจ้างที่กรุงเทพฯ

          การที่คบหากันไว้ใจทุกอย่าง เธอเล่าว่าแฟนเธอเป็นคนภาคกลาง การศึกษาน้อย ครอบครัวยากจน เมื่อเธอได้ไปรู้จักครอบครัวของฝ่ายชายทำให้เกิดความสงสาร จึงยอมคบกัน เมื่อคบกันพฤติกรรมที่ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย ข่มขู่  เมื่อต้องการจะเลิก ฝ่ายชายจะก่อกวนสร้างความรำคาญ  ต่อคนที่รู้จัก รวมถึงญาติด้วย ชีวิตไร้ความสุข เธอร้องไห้ ต้องการกำลังใจ และจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

         การรับฟัง และการเข้าใจเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เธอ ได้ระบายความอึดอัดใจ  ให้เธอได้ค่อยทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้น ค่อยคลี่คลายไปทีละประเด็น เมื่อคนเราโกรธจะเปรียบได้เหมือนกับเทอโมมิเตอร์ ปรอทวัดคนไข้ ความร้อนจะเดือดถึง 100 องศา  แต่รับฟังพร้อมกับการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก ทำให้เธอได้ปลดปล่อยความอึดอัดใจ  น้ำเสียงสงบลง  เมื่อถามว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างที่ผ่านมา เธอบอกว่ามีแต่เสียหาย และตกนรก เพราะเฟนชอบทำร้าย ตบตีเมื่อไม่พอใจ ทำให้อยู่อย่างหวาดระแวง  จะเดินไปไหนก็ไม่ค่อยปลอดภัย  ต้องการที่จะเลิกคบไปเลย เมื่อเลิกคบแล้วจะเป็นอย่างไร เขาคงจะตามรังครวญมั่งพี่  ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร คิดอย่างไรกับการไปลงบันทึกประจำวัน กลัวว่าเขาจะติดคุก แสดงว่ายังรักเขาอยู่ " ใช่พี่" แต่การลงบันทึกประจำวันกับตำรวจจะเป็นแนวทางการป้องปรามอย่างหนึ่ง หรือสามารถที่จะติดตามได้เมื่อเกิดปัญหากับผู้เสียหายรายนั้นๆ  เมื่อทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาให้ฟัง เพื่อที่จะให้เกิดกระบวนเรียงลำดับทางความคิด ทำให้เธอค่อยๆคิดไป และมีสติและอยากจะให้คิดและทบทวนก่อน ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจในวันนี้ เพราะเธอกำลังสับสน

         สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้ว่าจะเป็นวันสตรี ผู้ที่กระทำความรุนแรง จะเว้นในแต่ละวัน การทำร้ายกันทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ วันไหน จะเกิดได้ตลอดเวลา เด็กและสตรี มักเป็นเป้าหมายแรกในการถูกกระทำความรุนแรง อย่างสายที่โทรมา แสดงถึงความกล้าหาญ ถ้าไม่เหลือความอดทนจะไม่ร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อเยียวยาทางจิตใจ เชื่อว่าจะมีผู้หญิงมากมายที่อยู่ในมุมมืดและถูกทำร้าย ที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการรับความช่วยเหลือ การใช้กำลังมีแต่จะสร้างความแตกแยกในชีวิตครอบครัวมากขึ้น

 
 
หมายเลขบันทึก: 82729เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ตามมาอ่านประวัติวันสตรีสากล
  • สงสัยว่าทำไมช่วงนี้ blogger ของ มมส เขียนน้อยจังเลยครับ
  • รออ่านอีกครับผม

อ.ขจิต ครับ...ช่วงนี้เช้าระบบไม่ได้เลย...

....

ดีใจที่มีคนเขียนเรื่องวันสตรีสากล...เก่งมากครับ เข้าบล็อกได้ไงนี่

  • ขอบคุณค่ะอาจารย์นาย ขจิต ฝอยทอง ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจสตรีค่ะ
  • ที่ผ่านมาการเข้า G2K ยากมากและต้องรอนาน
  •  จะพยายามค่ะอาจารย์
  • ค่ะ คุณแผ่นดิน เข้าระบบยากมากเลย อยากจะเขียนรอนานมากเลย
  • น่าชื่นชมที่คนทุกวิชาชีพให้ความสนในในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น

ไร้สาร่ะมากที่สุด

อยากเท่าเทียม

ก็ต้อง..เกนณ์ทหาร..อย่างผู้ชายเค้า

ถูกไหมร่ะ..ที่คุณประท้วงเค้าไม่ได้เรียกว่าเท่าเทียมเเล้ว

เป็นการระเมิด..สิทธิชายมากกว่า..แย่มาก

สวัสดีค่ะครูพี่นงค์

วันก่อนฟังให้สัมภาษณ์ ท่านนายกฯ ต่อไป สตรีจะมีบทบาทมากขึ้น

ในทุกๆ วงการค่ะ ... คิดต่อว่า ก็แหงล่ะ เพราะผญ.มีเยอะมาก และ ผช. ... ก็ ...

มีความสุขนะคะครูพี่

ประท้วงสนตีมอะไรนักหนาว่ะ

พวกอีสัตร์เดจรัจฉาน...ไม่สำนึกบุญคุณ..ถ้านึกถึงบรรพบุรุษซึ่งเป็นชาย

เขาเสียเลีอดเนื้อมิใช่เบาเพราะผู้ชายสมัยก่อนต้องถูกบังคับให้ออกรบ

..ทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่เลยเกนทหารไงร่ะ..แต่นิงตอบเเทนโดนการประท้วงสัตร์เอ้ย

ทำไปได้ไงว่ะ..นึงมีแผ่นดินอยู้ได้ก็เพราะพวกกู....จากบุรุษหมายเลข1

ข้อความทั้งหมด

เป็นความคิดเห็นของคนกลุ่ม1ครับ

ผมกอบปี้มา..คุณลองคิดดู

ว่ามีคน..เค้าไม่เห็นด้วยเช่นกัน..ทุกเรีองร่ะครับ

มี..ชอบก็มี..ชัง

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณทุกความคิดเห็น มีประโยชน์มากเลย

คงจะได้รับข้อคิดเห็น ที่ดีๆ ในบันทึกต่อไป

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท