อะไรคือ User-Centered Design (UCD)


มาเข้าใจการพัฒนาแบบ ผู้ใช้เป็นศุนย์กลางและมาร่วมเป็น user's advocate กันนะครับ

User-centered design (UCD) แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ของใหม่ เป็นสิ่งทีเกิดขึ้น มาหลายสิบปี ภายใต้ชื่อต่างๆ กันออกไป เช่น human factors engineering* (มนุษยปัจจัย), ergonomics*(การยศาสตร์) หรือคำหลังๆที่เกิดในยุคคอมพิวเตอร์แล้ว เช่น usability engineering (ในความหมายที่เป็น discipline นะครับ ไม่ใช่ในความหมายในเชิง method) 

ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง คำนี้ถูกนิยามเพื่ออธิบายทั้งให้มีความหมายในเชิง "ปรัญญา(อุดมคติ)" และเชิง "วิถีทาง(แนว)" เพื่อที่จะนำไปสู่จุดหมายโดยให้ผู้ใช้เกิดประโยชน์สุงสุด พูดง่ายๆ ก็ืคือการดีไซด์โดยการมองจากมนุษย์หรือผู้ใช้ออกมา (human-out) โดยทำให้สิ่งที่เรา ดีไซด์ฟิตกับผู้ใช้ซึ่งตรงข้ามกับให้ ผู้ใช้ฟิตกับดีไซด์ อย่างแนวคิดของการพัฒนาแบบที่นักพัฒนาคิดและพัฒนาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยให้ผู้ใช้ไปเรียนการใช้เอาทีหลัง (จริงๆ มีใครอ่านคู่มือการทำงานหนาเป็นตั้งอย่างงั้นบ้าง บางที่เราจะอ่านก็ต่อเมื่อทำไม่ได้จริงๆ หรือมีปัญหา)

แต่หลังๆคำว่า Design ใน User-Centered Design มันทำให้ ความหมายที่แท้จริงของการกำหนดขอบข่ายที่ต้องการจะสือไม่ครอบคลุม ปัจจุบันเราจึงจะเห็นคำว่า User Experience” หรือ "Ux" หรือ "Customer Experience" (แต่คำนี้ก็ยังถกกันอยู่ในวงในว่าบางครั้ง "customer" ก็ไม่ใช่ "user" เสมอไป) คำเหล่านี้ถูกนำมาใช้มากขึ้น คือการต้องการสื่อให้เห็นว่าการพิจารณาต้องมองทั้งโดยรวมของ experience ที่สมบูรณ์ มากกว่าแค่คำว่า Design และขอบเขตของแค่ในงานดีโซด์ แต่ก็นั้นแหละอีกเหมือนกัน คนทุกวันนี้ก็ยังใช้คำนี้ในบุพบทของ design ไม่ต้องตกใจ บางที่เราก็จะเห็นคำนี้ถูกใช้ว่า User Experience Design หรือ UxD

แต่ท้ายที่สุดแลัว มันก็หลักเดียวกันคือทำอย่างไรก็ได้โดยให้ผู้ใช้เป็นศุนย์กลางและก่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ใช้ (ไม่ใช่ผู้พัฒนา หรือเจ้าของโปรเจค หรือสปอนเซอร์)

ขอบันทึกเสริมตรงนี้นะครับว่า การยศาสตร์ (ergonomics) และ มนุษยปัจจัย (human factors) เป็นคำที่มีขึ้นมาในช่วงหรือยุค ของ man-machine interaction ตอนนั้นนะ ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ ฉะนั้นคนส่วนใหญ่เวลาได้ยินคำสองคำนี้ก็จะยังโยงไปแค่ยุค man-machine ในยุคนั้นจะได้ยินคนอ้างถึงคำคำนี้เป็นส่วนใหญ่ "Human-centred design" ครับ การพัฒนาโดย"ใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง"

ตรงนี้อย่างสับสนกับ human-computer interaction หรือ HCI นะครับ HCI เป็น discipline โดยกว้าง คือการเรียนการสอนและการศึกษาเรื่องของปฏิกิริยา ปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง มนุษย์กับศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์

HCI เชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่น่าจะพัฒนา เติบโตและแตกเขนงออกมาจากศาสตร์ในยุค MMI หรือ man-machine interaction (พวก human factors, engineering psyc., experimental psyc., cognitive psychology, และ industrial design) แต่ก็นั้นละ บางที่ก็ยังเถียงกันอยู่ไม่จบว่าเป็นศาสตร์ที่แตกแขนงออกมาจริงๆหรือเป็นศาสตร์ใหม่ ที่เกิดจาก multi-disciplinary subject ทั้งหลายมารวมกับ computer science กันแน่

แรกๆ เราไม่ได้เรียก HCI นะครับ มันคือ CHI, Computer-human interaction กลุ่มที่ เชื่อว่า HCI แตกแขนงมาจาก MMI ก็ว่าทำไมต้องเรียกชื่อใหม่ว่า HCI กลับไปเรียก MMI สิ แต่กลุ่มคนทีเชื่อว่าเป็นศาสตร์ทีเกิดขึ้นมาใหม่เพราะการเกิดของ computer science ก็เริ่มจะคิดว่าไม่ใช้ก็ได้ HCI จะเรียกศาสตร์ใหม่ตัวนี้ใหม่ว่า Human-certered computing (HCC) มันเริ่มจะพันกันนัวเนียทำให้คนที่เริมรู้จัก HCI ใหม่ๆ สับสนงงกันไปหมด

เอาละครับอย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้นที่บอกว่า UCD หมายความได้ 2 เชิง ผมคงไม่อธิบายต่อในส่วนของ UCD ที่เป็นส่วนความหมายเชิงปรัญญาหรืออุดมคติแล้วครับเพราะค่อนข้างจะกระจ่าง มีเวลาผมจะเอา 3 หลักการพึ้นฐานใหญ่จากความหมายในเชิง วิธีการ หรือ วิถีทาง ของUCD มาอธิบายให้ทราบเพิ่มครับ

หมายเลขบันทึก: 82541เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 04:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
สนใจว่าเวลาวัดผล ทำอย่างไร?

วีร์ครับ เอาเป็นว่าพี่จะอธิบายคราวๆนะครับ เพราะระเบียบวิธี(method) ตรงนี้มันจะต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องมือ(tool)ที่เราใช้ ตรงนี้มีให้เรียนเยาะมากเลยครับเรียนกับเป็นหลักสูตรเลยก็ว่าได้ เอาเป็นว่าโดยส่วนใหญ่จะใช้ระเบียบวิธีที่เรียกว่า Usability Engineering คือการกำหนด usability objective ที่ สามารถวัดได้ ตัวจุดมุ่งหมายตัวนี้บางที่จะได้ยินเรียกกันเรียกอีกอย่างว่า usability benchmark มันคือตัวเดียวกันครับ แล้วพัฒนาเพื่อให้ meet จุดมุ้งหมายหรือ benchmark ที่เราตั้งไว้ เครื่องมือก็คือ usability inspection และ usability testing 

ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ที่ค่อนข่างจะ mature ทางด้านนี้แล้วเค้าจะมี standarize measurement ที่ค่อนข้างจะเป็นสากลเพือจะวัดความกว้างหน้า product ว่าเป็นอย่างไร อย่างบริษัทพี่ใช้ ProUse Score ( Product satisfaction & Usability  Score) เป็นตัววัด

ขอบคุณมากครับ ได้ keyword ใหม่ๆ เยอะเลย :-)

ถ้าวัดได้เป็นเรื่องเป็นราว และไม่เกินกำลัง ผมอาจจะเปลี่ยนแนวได้นิดๆ เลยนะเนี่ย 

ต้องขอบคุณพี่นรินทร์มาก ๆ ค่ะ

หนูคงต้องขอเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จากพี่นรินทร์ด้วยนะค่ะ  ตอนที่เรียนวิชา HCI กับอาจารย์จันทวรรณ ได้ทำโปรเจค ประเมินเว็บไซต์ ตามหลัก usability และ Re-Design ใหม่ด้วย  ต้องบอกว่าสนุกมากค่ะ

รออ่านเรื่อง URD อยู่นะค่ะ

 

 

ขอโทษด้วยค่ะ จะพิมพ์ UCD แต่ดันพิมพ์เป็น URD ค่ะ อันนี้ User Error เองค่ะ

ยินดีและเต็มใจครับ น้องมะปรางเปรี้ยว

ขอบคุณครับ...

น่าสนใจครับ....

อธิบายได้เข้าใจเลยครับ...

ขออธิบายเสริมนิดหนึ่งนะครับเกี่ยวกับความหมายของ  Usability Engineering  คำคำนี้มีสองความหมายครับ คือ

1.) หมายถึง discipline ที่มุ้งหมายเพื่อเพิ่ม usability ของ product - เป็นความหมายที่ผมใช้อธิบายในบทความข้างบนนะครับ ส่วนใหญ่เวลาคนกันถึง usability engineering ก็จะหมายถึงความหมายนี้กัน

2.) หมายถึงระเบียบวิธี (method) อย่างที่ผมอธิบายให้น้องวีร์ ในข้อคิดเห็นครับ

 

ตรงนี้ต้องอธิบายเพิ่ม กลัวจะงง ตกลงคำคำนี้มันหมายถึงอะไรกันแน่ มันมี 2 ความหมายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท