Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

การพัฒนานักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย


การพัฒนานักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย
การพัฒนานักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัยผศ.สมทรง  นุ่มนวล          สวัสดีค่ะชาวขุนทะเล  เดือนนี้กุมภาพันธ์เป็นสัญลักษณ์ของเดือนแห่งความรัก ตามวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเกือบทุกภาคส่วนวิตกกับพฤติกรรมของเยาวชนพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในภาวะวิกฤตของสังคมไทย เช่นการให้ความสำคัญและค่านิยมที่ผิด ๆ กับวันที่ 14  กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขต่อไป   อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยของเราก็ยังคงมีความรักต่อการจัดกิจกรรมทางวิชาการอีกมากมายและหลากหลายเป็นปกติวิสัย กระทั่งบางครั้งกิจกรรมซ้ำซ้อนทั้งวันและเวลาจนยากต่อการตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมใดก่อนเพราะล้วนแต่สำคัญและน่าสนใจทั้งสิ้น ทั้งนี้ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนเป็นมิติแห่งคุณภาพเพื่อพิสูจน์ความเป็นมืออาชีพของชาวราชภัฏ           ในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนานั้น ประเดิมเดือนแห่งความรักด้วยการจัดโครงการพัฒนานักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย  เมื่อวันที่ 7 - 8  กุมภาพันธ์ 2550 ณ โรงแรมสุภารอยัลบีช  .ขนอม  .นครศรีธรรมราช  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่มาของการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่  ภายใต้หัวข้อ แนวคิดหลักการเขียนเอกสารเชิงหลักการและ ข้อเสนอโครงการวิจัยซึ่งได้จัดอบรมไปแล้วเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเมื่อวันที่ 24  มกราคม 2550  ด้านสังคมศาสตร์ กิจกรรม  ในวันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2550  จึงเป็นความต่อเนื่องของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีอาจารย์เข้าร่วมจำนวน 55  คน  จาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน   27  คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   จำนวน  21  คน  คณะวิทยาการจัดการ   จำนวน  3  คน  และคณะครุศาสตร์   จำนวน  4  คน  สำหรับผลการประชุมช่วงแรกเป็นการเติมเต็มหลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยวิทยากรมืออาชีพ ดร.เทิดชาย  ช่วยบำรุง ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งมีคำคมฝากผู้จะเป็นนักวิจัยว่า งานวิจัยต้องทำด้วยหัวใจไม่ใช่แค่สมอง ดร.เทิดชาย ฯ  ได้นำเสนอองคาพยพของการทำวิจัยตั้งแต่ กระบวนการบริหารและจัดการงานวิจัย เทคนิคการคิดโจทย์วิจัย  เทคนิคการบูรณาการโจทย์วิจัย เป็น ชุดโครงการวิจัยการเตรียมตัวเป็นนักวิจัย  เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม   การนำเสนอของ ดร.เทิดชาย ฯ นอกจากจะแสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงแล้ว  วิธีการนำเสนอก็เร้าใจแสดงถึงความเป็นครูมืออาชีพอีกด้วย  ขอยกตัวอย่าง ผลย้อนกลับจากผู้เข้าร่วมประชุม เช่น อาจารย์โสภณ บุญล้ำ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้มีประสบการณ์และคร่ำหวอดกับการวิจัยเกี่ยวกับเป็ดและไข่(ไก่) กล่าวถึงเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของ ดร.เทิดชาย ฯ ว่า ฟังกี่ครั้งก็ไม่ซ้ำ ดำเนินเรื่องอย่างเป็นระบบ   ไม่น่าเบื่อ มีเรื่องใหม่ๆ มาเติมเต็มความรู้ให้เราทุกครั้ง  ส่วนอาจารย์กัลญา  แก้วประดิษฐ์  อาจารย์น้องใหม่จากคณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ได้ฟังการนำเสนอของดร.เทิดชาย ฯ แล้วกล่าวว่ารู้สึกต่อมขี้เกียจถูกกระตุ้นทำให้อยากทำวิจัย  สำหรับอาจารย์ชนัญชิดา  ทิพย์ญาณ  ซึ่งอยู่ระหว่างการทำวิจัยให้ทัศนะจากการร่วมประชุมครั้งนี้ว่า ถ้าไม่มีพื้นฐานการวิจัยมาก่อน Concept ดร.เทิดชาย ฯ สุดยอด ข้อมูลที่ได้ละเอียดมาก  เมื่อได้ฟัง ดร.เทิดชาย ฯ นำเสนอแล้วอาจารย์หลาย ๆ ท่านก็ถึงบางอ้อ! “อ๋อมันเป็นเช่นนี้เอง”  ดร.เทิดชาย ฯ ท่านมีเทคนิคอย่างไรถามไถ่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุมค่ะ          ช่วงที่สอง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำวิจัย  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ  .ดร.อรอนงค์  นัยวิกุล  .ชวน  เพชรแก้ว  ดร.เทิดชาย  ช่วยบำรุง และ รศ.เปรมชญา  ชนะวงศ์  ในช่วงเวลาดังกล่าวก็เร้าใจเช่นกันถึงแม้จะเป็นบรรยากาศยามค่ำคืนที่ชวนให้นึกถึงฟูกนุ่ม ๆ  แต่ทุกคนกลับตื่นอยู่ตลอดเวลา  อาการง่วงเหงาหงาวนอนไม่ปรากฏให้เห็นกระทั่งเวลาอันมีค่าผ่านไปอย่างรวดเร็วจนหลายคนบ่นเสียดายเวลาน้อยไป เนื่องจากเป็นช่วงของการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความแตกต่างและหลากหลาย  ซึ่งต่างก็งัดวิทยายุทธ์ถ่ายทอดสู่นักวิจัยและว่าที่นักวิจัยทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ชวน เพชรแก้ว วิทยายุทธ์ท่านยังมีอีกเยอะ นักวิจัยจะได้เรียนรู้ประสบการณ์จากท่านอีกนานค่ะ ซึ่งประมวลจากการฟังผู้มีประสบการณ์แล้วน่าจะได้ข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า หนทางสู่ความสำเร็จนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแต่ปะปนไปด้วยปัญหา และอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยในอดีต  แต่สำหรับการทำวิจัยในปัจจุบันนั้นมีโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเป็นอย่างมาก          จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน ได้บทสรุปคุณลักษณะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการทำวิจัยหรือเป็นนักวิจัยที่ดี ต้องมีคุณลักษณะและคติสอนใจเช่น มีความอยากรู้อยากเห็น” “รักการอ่าน” “ต้องอ่านต้องรู้  ขี้สงสัย  ทำแล้วไม่สำเร็จ   ไม่ทำ  เป็นแล้วไม่ดีไม่เป็น  จับอะไรแล้วไม่วาง  อุปสรรคเป็นเส้นทางสู่ชัยชนะ  ทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว  อย่าเป็นนกเปียกน้ำ  ใจต้องไปก่อนแล้วตามไปเมื่อใจเรียกหา  มนุษย์มีสัญชาตญาณการเอาตัวรอด  นั่งในใจชุมชน  ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์  มีอิสระ สนใจ เห็นพลังอำนาจในสิ่งที่ทำ” “ได้รับโอกาสและ มีพละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)” ซึ่งแต่ละประเด็นมีคำอธิบายขยายยาวเหยียดท่านใดสนใจถามผู้เข้าร่วมประชุมได้ค่ะ               

          ช่วงสุดท้ายเป็นการปฏิบัติการวิพากษ์ข้อเสนอโครงการวิจัย แบ่งตามศาสตร์ 3 กลุ่มย่อย คือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มได้แก่ .ดร.อรอนงค์ นัยวิกุล  ด้านสังคมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่ม ได้แก่

.ชวน  เพชรแก้วและ รศ.เปรมชญา  ชนะวงศ์  กลุ่มที่สอง

ดร.เทิดชาย  ช่วยบำรุง  การดำเนินการวิพากษ์ขึ้นอยู่กับข้อตกลงภายในกลุ่ม  บางกลุ่มก็วิพากษ์เจาะลึกเป็นราย ๆ  บางกลุ่มก็วิพากษ์โดยรวม ทั้งนี้เพื่อให้นักวิจัยได้ปรับปรุงพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยให้สมบูรณ์มีคุณภาพพร้อมเสนอขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยต่อไป          สำหรับข้อเสนอแนะที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนะไว้นั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาจะได้นำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการวิพากษ์ข้อเสนอโครงการวิจัยที่ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญลึกซึ้งจากหลายสาขา เพื่อจะได้วิพากษ์ตรงประเด็น แบบ ฟันธงว่างั้นเถอะ! จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลายนำเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ เพื่อสถาบันวิจัยและพัฒนาจะได้เชิญมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไปค่ะ          ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ .ดร.อรอนงค์ นัยวิกุล ศ.ชวน  เพชรแก้ว ดร.เทิดชาย  ช่วยบำรุง และ รศ.เปรมชญา  ชนะวงศ์ และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนาจะจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อหนุนเสริมพัฒนางานวิจัยมหาวิทยาลัยของเราต่อไป โปรดติดตามสวัสดีค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #14 กุมภาพันธ์ 2550
หมายเลขบันทึก: 82429เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท