ทำไม - คนจีนจึงชอบบันทึกประวัติศาสตร์? (ปริศนาคาใจ)


 

มีใครพอทราบ (หรือเดา) บ้างไหมครับว่า ทำไมคนจีนจึงมีนิสัยชอบจดบันทึกประวัติศาสตร์ได้อย่างละเอียดละออ ย้อนกลับไปได้นับหลายพันปี?

 จำได้ว่ามีคนพวกหนึ่งที่เรียกว่า "อาลักษณ์" (สะกดถูก?) ทำหน้าที่นี้

หมายเลขบันทึก: 82408เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 02:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ความภูมิใจในความเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
  • การเคารพในบรรพบุรุษ
  • EGO

  

                          Play 

นักพรตอู๋ ในสมัยราชวงศ์ถัง
ก่อนจะมรณภาพ ได้ให้เหล่าลูกศิษย์
วาดภาพเหมือน แต่ีเหล่าลูกศิษย์ส่วนใหญ่วาดได้ไม่เหมือน มีลูกศิษย์คนหนึ่งไม่ได้วาด แต่เขียนเป็นกลอนว่า

วาดรูปเหมือนอาจารย์เหมือนวาดความว่างเปล่า
ลงหมึกพึงรู้ไว้ไร้ตัวตนที่จริง
ราชวงศ์ถังนั้นเคยมีนักพรตอู๋
ใยยังต้องวาดภาพเหมือนให้เสียแรง

 

 

น้อง Man In Flame

       ว้าว! ขอบคุณสำหรับ animation สนุกๆ พร้อมเรื่องย่อนะครับ

       ประเด็นเรื่องทำไมคนจีนชอบจดบันทึกนี่ค้างคาใจพี่มาก เพราะการจดบันทึกทำได้อย่างละเอียดละออ และต่อเนื่องอย่างน่าทึ่ง - ที่อยากรู้ก็คือ มีแรงบันดาลใจ หรือเหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้คนจีนมี "นิสัยประจำชาติ" เช่นนั้น

       ถ้าเป็นคนญี่ปุ่น คุณวินทร์ เลียววาริณ เคยเล่าให้พี่ฟังว่า คนญี่ปุ่นชอบจดบันทึกเนื่องจากคดีความต่างๆ นั้นตัดสินกันด้วยหลักฐาน โดยเฉพาะหลักฐานที่เป็นเอกสารอ้างอิงครับ

 

อันนี้ขอเดาจากการชมภาพยนต์จีน และเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนจีนนะครับ

ลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของคนจีนก็คือหวงความรู้ ไม่ค่อยถ่ายทอดเคล็บลับวิชาแขนงต่างๆให้ใครโดยง่าย

  •  หากเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จะถ่ายถอดให้เฉพาะเชื้อสายวงศ์ตระกูล
  • หากเป็นวิทยายุทธ เคล็ดลับวิชา หรือวิชาการแพทย์ ก็จะถ่ายทอดให้ผู้ที่เหมาะสมเท่านั้น

ในภาพยนต์เราจะพบจารึกเคล็ดวิชา ต่างๆในถ้ำลึกลับ ^^ หลังจากตัวเอก ไปพบโดยเหตุบังเอิญแต่หลังจากฝึกวิทยายุทธตามบันทึกนั้นๆจะเก่งขึ้นเป็นคนละคน

มีการแย่งชิงคัมภีร์ยอดวิทยายุทธ หรือดาบวิเศษเกิดขึ้น เพื่อการเป็นจ้าวยุทธจักร :)

ทั้งหมดนี้จึงจำเป็นต้องมีการจดบันทึกกันสูญหายแต่กระนั้นเคล็ดลับวิชามากมาย ก็สูญหายไปเพราะหาผู้เหมาะสมที่จะถ่ายทอดให้ยากเต็มที

more Zen animation

ส่วนใน my space จะมีคำแปลภาษาไทยในคอมเม้นครับ

สวัสดีครับพี่ชิว

  • คำถามคู่ขนานน่าจะเป็นว่า ทำไมคนไทยไม่ชอบจดมาตั้งแต่โบราณ ?
  • ผมเห็นมีที่เก่าหน่อย ก็อย่างเช่น พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งจดในฐานะปูมโหร ซึ่งก็ถือว่าเป็น อาลักษณ์ คงจะได้
  • แต่ก็หายาก ที่จดกันเป็นระบบ เป็นทีม
  • คงเป็นวัฒนธรรมมังครับ ?

ไม่ทราบเหมือนกัน แต่จากการช่างจด ก็เลยมีอะไรแปลกๆ มาให้อ่านกันค่ะ "จิ้นจิ่งกง" เจ้าครองรัฐจิ้นที่ตายได้ฮาที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา และที่อ.วิบุลบอกนั้น น้องชายหนูฝากบอกว่าโดนใจมาก ถ้าช่างจดเหมือนคนจีน ทำกันอย่างเป็นระบบ งานที่เขาทำคงง่ายขึ้นเยอะ คือน้องชายทำงานด้านโบราณคดีค่ะ

สวัสดีครับ พี่ชิว

เมื่อวานอ่านที่ไหน จำไม่ได้ (ใน gotoknow หรือเปล่าก็ไม่ทราบ อิๆ) เขียนว่า ชาวนาจีน ไม่ใช่คนใช้แรงงาน แต่เป็นเหมือนคนชั้นกลาง มีการสร้างและชมศิลปะ ฯลฯ คงมีนิสัยฟังคิดถามเขียน และอยากเล่าต่อมาช้านาน

การเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ อาจจะมีส่วน ย้ายเมืองหลวง ย้ายอำนาจ ย้ายบ้านย้ายช่อง ฯลฯ จดไว้ให้ลูกหลานได้ดู

หรือความภูมิใจในประวัติศาสตร์ จดไว้ให้ลูกหลานดูอีกนั่นแล เพราะว่าคนจีนมีญาติเยอะ มีลูกมาก ไม่จด เผลอๆ จะจำไม่ได้

ถ้าข้าวเหลือเกลืออิ่ม ก็คงมีเวลาได้จดบันทึก แต่งเรื่อง เพื่อบันทึกบันเทิง อีกเหตุผลหนึ่ง

"อาลักษณ์" เขียนถูก

แต่ "ละออ" เขียนผิด อิๆๆ ปรับ 1 บาท

สวัสดีครับ คุณซูซาน

         เรื่อง "จิ้นจิ่งกง" นี่สนุกมั่กๆ ผมเคยได้อ่านมาว่า เจ้านายไทยสมัยก่อน ก็เคยทำธุระขณะคุยกับแขกเหมือนกัน (ถ้าค้นเจอ จะนำมาโพสต์ไว้อีกที)

 

สวัสดีครับ อ.หมู (อู๊ดๆ)

        ขอบคุณมากเลยครับ เห็นภาพขึ้นอีกนิด

        ค่าปรับนี่ จะเตรียมไว้ให้คราวหน้าที่เจอกัน...เอ่อ..นี่อีก 1 บาทา เอ้ย 1 บาท รวมกันเป็นหลายบาทา เอ้ย หลายบาท แล้วนะครับ :-P

ข้อสังเกตุ คนไทยโบราณไม่ชอบจารึกประวัติศาสตร์จริงหรือ

ผมสังเกตุว่า ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จะไม่ค่อยมีจารึกทางประวัติเป็นหนังสือเท่าไร ทั้งนี้เนื่องมาจาก วัสดุที่นำมาบันทึก เช่นใบลานจะอยู่ได้ไม่คงทน สังเกตุได้จากหอไตรจะต้องมีน้ำอยู่รอบ เพื่อกันแมลงมากัดกิน แต่ก็ไม่พ้นจากตัวมอด ทั้งที่อาจมีการอาบสารบางอย่าง หรือรมควัน เอาไว้

ที่โบราณจริงๆ จะเหลืออยู่ก็แต่เป็นศิลาจารึก ที่บอกเรื่องราวเท่านั้น ขนาดเป็นหินแท้ๆ ยังผุ อ่านไม่ได้เป็นบางตอน ดังนั้นไม่ต้องพูดถึง แผ่นหนังหรือ เปลือกไม้ ใบลาน

และเมื่อสมัยผมเป็นเด็ก ได้เคยเห็นผู้ใหญ่ เอาใบลานจารึกมาเผาทิ้ง รวมทั้งผ้าเก่าๆ

ทีมีรวดลาย ก็เอาไปทำผ้าขี้ริ้ว เพราะเขาเห็นว่าเป็นของเก่าที่ผุพัง ทั้งนี้เนื่องจาก

ไม่มีใครบอกว่าสมควรเก็บไว้ มีแต่สั่งสอนให้ดูแลบ้านเรือน ไม่ให้รกรุงรัง

ความจริงแล้ว หากมีตัวหนังสือให้ใช้ คนทุกคนไม่ว่าที่ไหนๆ ก็อยากจะอ่าน อยากจะเขียน อยากจะเล่าเรื่องราว เหมือนกัน ไม่ว่าเป็นคนชาติไหน

เพียงแต่บางประเทศ นั้น อาอาศอำนวย มีความชื้นต่ำ หนังสือก็อยู่ได้นาน

ส่วนเรื่องถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ก็มีอยู่ทุกยุคสมัยและทุกประเทศ

สวัสดีครับ คุณลมพัดมา

         ขอบคุณมากครับสำหรับความคิดเห็น

         เคยดูสารคดีที่ส่งเข้ามาที่ Thai PBS พบว่า วัดทางเหนือบางแห่ง มีใบลานอายุราว 700 ปี จารึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา 

         พวกอินโด-อารยัน ก็มีตัวหนังสือใช้ แต่ชอบท่องจำพระเวทครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท