มุมมองชีวิต จาก 3 เวทีคอนเสิร์ตที่งานโปงลาง แพรวากาชาด 2550 ที่กาฬสินธุ์


ชีวิตที่เป็นไป
งานมหกรรม โปงลาง แพรวา และงานกาชาดปี 2550 ที่กาฬสินธุ์ ทุกค่ำคืนจะมีการแสดงดนตรี ทั้ลูกทุ่ง หมอลำ เพื่อชีวิต และสตริงขวัญใจวัยรุ่นตลอดงาน 10 วัน 10 คืน 10 กลุ่มศิลปิน

แต่ 3 เวที คอนเสิร์ตที่จะกล่าวถึงในบันทึกนี้ เป็นคอนเสิร์ตเมื่อ 4-6 มี.ค.2550 ที่สนามหน้าศาลากลางกาฬสินธุ์
4 มี.ค.50 การแสดงของ ศิลปินวงเสียงอีสาน โดย นกน้อย อุไรพร
5 มี.ค.50 การแสดงดนตรีของ วงดนตรี ศิริพร อำไพพงษ์และพิณแคนแดนอีสาน
6 มี.ค.50 การแสดงดนตรีของ วง พี สะเดิด


การแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งหมอลำ จะแสดงกันยันสว่าง ถ้าวัยรุ่นไม่ตีกันจนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องขอให้หยุดการแสดงเสียก่อน ก็จะได้ชมกันยันสว่าง มีการแสดงบนเวทีให้ดูอยู่ตลอด ทั้งตลก หมอลำเรื่องต่อกลอน และการขับร้องเพลง ของศิลปินนักร้องหลายคนในวง กลุ่มผู้ชมจะปูเสื่อนั่งดูอย่างเรียบร้อย คนที่ยืนดูก็จะฟ้อนรำ ดื่มเบียร์กันบ้าง

แต่การแสดงของวงดนตรีขวัญใจวัยรุ่น ซึ่งจะเล่นเพลงร็อค เพลงเร็วๆฮิตๆ โดนใจวัยรุ่น คนดูจะยืนกันมากกว่านั่ง มีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันตลอดเวลา เวลาที่เพลงจังหวะเร็วๆ ต่างคนต่างเต้นปลดปล่อยอารมณ์ เต้นเพราะถูกใจ เพราะความมัน ความเมา ฯลฯ

นายบอนเปลี่ยนบรรยากาศยามดึก ไปดูคอนเสิร์ตทั้ง 3 วันนี้ ติดต่อกันในช่วงดึกๆ ซึ่งในวันที่ 5-6 มี.ค.50 ไปยืนดูและเอาโทรศัพท์มือถือไปกดโทรหาสาวสารคาม ถ่ายทอดเสียงบรรยากาศในคอนเสิร์ตไปให้ฟังถึงในห้องนอนกันเลยทีเดียว นายบอนเลยยืนดูการแสดงบนเวทีไป อีกมือก็ถือโทรศัพท์ หันไปทางลำโพงบ้าง บางจังหวะที่คนดูรอบตัวร้องเพลงคลอไปกับนักร้อง ก็หันมือถือไปรับเสียงร้องประสานของคนดูบ้าง ส่งต่อบรรยากาศจากกาฬสินธุ์ ไปถึงสารคาม

ยืนดูไป ต้องหูตาไว สอดส่ายสายตาไปรอบๆ ระวังคนเมาเต้นมาใกล้ๆ หรือคนที่เดินผ่านไปผ่านมา จะเหยียบเท้า หรือสังเกตรอบๆ เผื่อมีใครเกิดหมั่นไส้ ไม่ชอบขี้หน้า เข้ามาหาเรื่องให้เจ็บตัวฟรีโดยไม่รู้ตัว แบบนี้ไม่คุ้มกันแน่ๆ ระมัดระวังไว้เป็นดีที่สุด

คืนวันที่ 6 มี.ค.50 การแสดงดนตรีของพี สะเดิด ที่ร้องทั้งเพลงของตัวเอง นับตั้งแต่ เด้อนางเดอ คนบ่มียี่ห้อ บั้งไฟแสน สาวกระโปรงเหี่ยน ตีสองแล้วน้องสาว แล้วยังร้องเพลงของศิลปินคนอื่นๆ ทั้งพงษ์สิทธเ คำภีร์ , คาราบาว, โลโซ และเพลงโบว์รักสีดำของศิริพร อำไพพงษ์ อีกด้วย  คนดูวัยรุ่น เต้นกันถึงใจ  เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินกันขวักไขว่ เข้าไปจับคนเมา ที่กำลังจะก่อเรื่อง เข้ามาขังไว้บนรถที่ติดป้ายว่า “ที่พักนักเลง”  ได้หลายคน แต่เมื่อการแสดงจบลงตอน 6 ทุ่ม  กลุ่มวัยรุ่นก็ขว้างน้ำแข็งใส่กัน ชี้หน้าท้าทาย เกือบจะตีกัน คนดูหลายคนกลัวลูกหลงรีบหลงกันพันวัน แสดงสปอร์ตไลท์ส่องกราดไปทั่ว คนดูสลายตัวอย่างรวดเร็ว

การแสดงดนตรีหลายที่ มักจะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เดินเร่ขายอยู่ทุกที่ ทั้งเบียร์กระป๋องและซุ้มขายสุรา ที่ทำให้หลายคนมึนเมา ขาดสติ และก่อเรื่องได้ทุกโอกาส ไม่ว่า จะเป็นการแสดงดนตรีหมอลำ หรือวงขวัญใจวัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะตีกันได้ทั้งนั้น


การแสดงดนตรีของ คณะเสียงอีสาน - นกน้อย อุไรพร - 4 มี.ค.2550

















การแสดงดนตรีของ ศิริพร อำไพพงษ์ - 5 มี.ค.2550





















การแสดงดนตรีของ พี สะเดิด + 6 มี.ค.2550











หมายเลขบันทึก: 82393เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท