หญ้าหวาย ต้นไม้ทำนายฝน


หญ้าหวาย


หญ้าหวาย: ต้นไม้ทำนายฝน
เรื่องและภาพ ภัทรพร วลีธรชีพสวัสดิ์
ชาวบ้านในชนบทมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ สังเกตการปรับตัวของพืชตามฤดูกาลต่าง ๆ จนสามารถใช้พืชทำนายปริมาณน้ำฝนได้ พืชนั้นคือ ห้าหวาย
ฝนจะแล้งในช่วงใดของปี คือ ต้นปี กลางปี หรือปลายปี จะสังเกตจากใบของห้าหวายจะมีรอยคอดบนแผ่นใบ ถ้าแบ่งความยาวของแผ่นใบเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ บริเวณโคนใบขึ้นไปหากลางใบ ส่วนที่ 2 คือ บริเวณกลางใบ และส่วนที่ 3 คือ ด้านปลายใบ การทำนายมีดังนี้
หากปีนี้ฝนแล้งต้นปี รอยคอดนั้นจะอยู่บริเวณโคนใบ คือ ส่วนที่ 1
หากปีนี้ฝนแล้งกลางปี รอยคอดจะปรากฏที่บริเวณกลางใบคือ ส่วนที่ 2
หากปีนี้ฝนแล้งปลายปี รอยคอดจะปรากฏที่บริเวณค่อนไปทางปลายใบ
หากปรากฏรอยคอดมากกว่า 1 ตำแหน่งบนแผ่นใบ หมายถึง ปีนั้นฝนแล้งยิ่งนัก ทำนาแทบไม่ได้ผลผลิตเลย
ประโยชน์ในแง่สมุนไพร ใช้เหง้าของห้าหวายนำมาทุบแปะบาดแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ลักษณะของห้าหวายลำต้นสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นอาหารของวัวควาย เป็นพืชคลุมดินได้อย่างดี ช่อดอกแยกแขนงสีขาว มักขึ้นตามที่โล่ง ในป่าเต็งรัง
คำสำคัญ (Tags): #หญ้าหวาย
หมายเลขบันทึก: 82356เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะได้นำความรู้นี้ไปให้มหิงสาสายสืบของโรงเรียนปทุมพิทยาคม  อุบลฯ  สังเกตและเรียนรู้เพิ่มเติม  ขอบคุณผู้ที่ทำการสังเกต ศึกษาและเผยแพร่ความรู้นี้  ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

                จากครูมิ้น   ครูสังคมศึกษา

           ที่มาเป็นพี่เลี้ยงโครงการมหิงสาสายสืบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท