คุณลักษณะของความรู้ (Knowledge)


เข้าใจ"ความรู้" โดยใช้คุณลักษณะ

"ความรู้" บางครั้งมันยากนักที่จะอธิบายให้เข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่ในประโยคเดียว ลองมาอ่านวิธีการการทำความเข้าใจ"ความรู้" ของ Alvin and Heldi Toffler ทั้งคู่อธิบายโดยให้คุณลักษณะของความรู้ไว้อย่างดีในหนังสือ Revolutionary Wealth ว่า

  1. ความรู้ไม่มี-วันหมด จะกินจะใช้เมื่อใหร่ก็ได้ (Knowledge is inherently non-rival ) ล้านคนในโลกจะใช้ความรู้เดียวกัน ขณะเดียวกันก็ได้ โดยไม่มีวันหมด จริงๆ แล้วยิ่งมากคนใช้ บางคนอาจจะต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มากขึ้นด้วย

  2. ความรู้จับด้องไม่ได้ (Knowledge is intangible ) เราไม่สามารถจับต้อง แต่เราสามารถที่ใช้มันได้

  3. ผลของความรู้ ไม่ให้ผลในแนวตรง เดาไม้ได้ (Knowledge is non-linear) ความรู้นิดเดียวสามารถทีให้ผลที่มหาศาลได้(*ตรงนี้ผมขอเสริมว่า "และในทางตรงกับข้าม ความรู้มหาศาลก็อาจจะให้ผลนิดเดียวก็ได้เพราะ การมีอยู่ของความรู้ การเข้าคู่ และ การนำไปใช้ มันแยกออกจากกัน")

  4. ตัองมีความสัมพันธ์ อยู่ในบุพบท (Knowledge is relational) เสี้ยวส่วนของความรู้จะให้ความหมายก็ต่อเมือนำมาวางเทียบกับอีกเสี้ยวส่วนหนึ่ง ในบุพบท

  5. ความรู้สามารถผสมกับอีกความรู้หนึ่งได้ (Knowledge mates with other knowledge) แล้วกลายพันธ์เป็นความรู้ใหม่ๆ

  6. ความรู้พกพาได้ง่ายกว่าผลิตภัณท์ใดๆ (Knowledge is more portable than any other product)

  7. ความรู้สามารถย่อส่วนเป็นสัญลักษณ์หรือนามธรรมได้ (Knowledge can be compressed into symbols or abstractions)

  8. ความรู้สามารถที่จะเก็บในพื้นที่เล็กๆได้ (Knowledge can be stored in smaller and smaller spaces)

  9. ความรุ้อาจจะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย แสดงออกหรือไม่แสดงออก แบ่งกันได้ หรือ ให้แค่เป็นนัยๆ (Knowledge can be explicit or implicit, expressed or not expressed, shared or tacit)

  10. ความรู้ไม่สามารถให้อยู่ในภาชนะได้ มันแพร่กระจายไปทั่ว (Knowledge is hard to bottle up. It spreads)

หมายเลขบันทึก: 82333เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 03:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ความรู้ช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้ดีด้วยครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มค่ะ

ขอบคุณแทนสังคมผู้ใฝ่รู้ที่มีให้ความรู้เพิ่มเติม บันทึกสิ่งดีๆอีกนะครับ

สวัสดีค่ะ

        เคยได้ยินมาว่าความรู้เปรียบเหมือนแสงสว่างเหมือนว่าเราถือเทียนที่จุดไฟไว้  แล้วถ้าเราจุดไฟต่อๆไปเทียนของเราก็ไม่ดับคือความรู้ของเราไม่ได้หมดไป  ขณะที่ทำให้เทียนแท่งอื่นๆส่องสว่างขึ้นเรื่อยๆ 

          ขอบคุณที่ชาว go to know ร่วมกันจุดเทียนนะคะ  *---------*

อีกด้านหนึ่ง เห็นลักษณะของมันแล้ว คงจะพอเดาออกแล้วใช่ใหมละครับว่า การจัดการ"ความรู้" มันมีความท้าทายอย่างยิ่งครับ

เราต้องการคนมาช่วยกัน"ปลุก"คนทำงานทุกคน ให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองรู้ด้วยค่ะ คนไทยมักจะถ่อมตัวและให้คุณค่ากับยศ ตำแหน่ง คำนำหน้าชื่อมากจนดูถูกตนเอง ขอบคุณคุณณรินทร์ที่จะมาเป็นอีกผู้หนึ่งที่ร่วมกันสร้างสรรค์ความคิด ในโลก GotoKnow กับพวกเราค่ะ

ขอบคุณ Mr Direct, คุณใบบุญ, คุณMrx, อาจารย์ cath และ คุณโอ๋ นะครับ ในข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

อยากให้คนทำงานทางด้าน ICT ในเมืองไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของการจัดการความรู้ และการจัดการเปลี่ยนแปลงค่ะ....พอดีทำงานด้านอยู่เหมือนกันค่ะเลยอยากจะ Share...

อ.เอ๋

ขอบคุณครับ อ.เอ๋ ในข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

อาจารย์พูดถึงการจัดการการเปลื่ยนแปลงทำให้ผมนึกขื้นได้ว่า knowledge มีคุณลักษณะอีกข้อหนี่ง คือ เมื่อไปถึงจุด จุดหนึ่งความรู้จะล้าสมัยและใช้ไม่ได้แล้ว (at some point it becomes obsolete  knowledge) ครับ

ในหนังสือของToffler เขาได้เรียกตัวความรู้ที่ล้าสมัยนี้ว่า "Obsoledge"

ในความเห็นของผม การจัดการ knowledge คงจะไม่สมบูรณ์ถ้าเราลืมหาวิธีจัดการกับเจ้า "obsoledge" ด้วยครับ 

เก๋มากค่ะ Obsolete Knowledge :)

นี่ละค่ะ ต้องทำให้ tacit knowledge เกิดการนำไปใช้ แล้วมาต่อยอดหมุนเวียนต่อๆ ไปค่ะ

หลายคนบอกว่า เขียนความรู้ไว้ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีคนนำไปใช้

แต่ดิฉันเชื่อว่า มีคนนำไปใช้แน่นอนค่ะ เพียงแต่ไม่ได้กลับมาเขียนบอกค่ะ :)

ธรรมชาติค่ะ lurkers มีมากกว่า bloggers ค่ะ

ขอบคุณครับ อาจารย์ จันทวรรณ

มา "ร่วมกันคิด ช่วยกันเขียน ร่วมกันเรียน ช่วยกันรู้"  Go! gotoknow! :) ครับ

คุณ ณรินทร์ ครับ

ช่วยขยายความตรงนี้ หน่อยได้ใหมครับ 

>> "และในทางตรงกับข้าม ความรู้มหาศาลก็อาจจะให้ผลนิดเดียวก็ได้เพราะ การมีอยู่ของความรู้ การเข้าคู่ และ การนำไปใช้ มันแยกออกจากกัน"

ผมไม่ค่อยมั่นใจว่า ผมเข้าใจความหมายของ "... การมีอยู่ การเข้าคู่ และการนำไปใช้ ..." อย่างที่คุณณรินทร์ ต้องการสื่อ

หมายเหตุ: ยังไม่ได้อ่าน "Revolutionary Wealth" เลยครับ ถ้าคำตอบอยู่ในนั้น ขอความกรุณา อย่างย่อๆ ก็ได้ครับ ยังไม่แน่ใจว่า จะได้อ่านเมื่อไหร่ ลำพังหนังสือ ฉบับแปลของ Toffler ที่ซื้อมา ก็ยังอ่านไม่เคยจบเลยครับ

 

คุณฉัตรชัยครับ

ตรงที่คุณฉัตรชัยยกมา เป็นความคิดเห็นของผมครับ Toffler ไม่ใด้มีตรงนี้ในหนังสือ ตรงนี้ไม่ได้หมายถึงว่ารู้มากๆ รู้หลากหลายไม่ดีนะครับ ผลเน้นในแนวการคาดเดาเอาผลมากกว่า

ตรงนี้เป็นการขยายจาก คุณลักษณะที่ว่า ความรู้มันไม่ให้ผลในผลในแนวตรงและคาดเดาไม่ได้ ตรงนี้อาจจะเปรียบได้กับสุษาษิตที่เคยได้ยินว่า "ความรู้ท้วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด" ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับสุภาษิตนี้เท่าใหร่ เพราะการมีอยู่ของความรู้ มันไม่ได้ เป็นแค่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดผล

"การมีอยู่" ในที่นี้หมายถึงการมีอยู่ของมัน (object) ความรู้  อาจเป็นทั้ง tacit, explicit, describable, non-describable หรืออะไรต่างๆแล้วแต่เราจะจำแนก และ รวมไปถึงการได้มาของความรู้มาสู่ตัวเรา (subject) ด้วย

"การเข้าคู่" ในที่นี้หมายรวมถึงการเข้าคู่ของอึกความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราด้วยกันเอง (object + object) และการเข้าคู่ของเข้าใจ และการเข้าคู่ของประสบการณ์ และความคิด ของปัจเจคนั้นๆ (object + subject) เอง

"การนำไปใช้" ตรงนี้ก็เหมือนกันการนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับปัจเจคเหมือนกัน เคยมีใหม่ครับที่บางครั้งเราจะได้ยินคนพูดว่า จริงๆฉันคิดได้ก่อนแล้ว หรืออะไรทำนองนี้

ที่ยกทั้งสามตัวมาก็เพื่อจะให้ข้อคิดเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมและเห็นด้วยกับผู้เขียนในส่วนที่ว่าเราคาดเดากับผลของความรู้ไม่ได้

ในความเห็นของผมตัวความรู้จริงๆ มันเป็นกลาง เป็น object  ด้วยตัวของมันเองไม่อาจให้คุณให้โทษด้วยตัวของมันเองได้ครับ อยู่ที่ subject ที่นำมาอยู่ในบุพบทอีกที

ความรู้สามารถที่จะเก็บในพื้นที่เล็กๆได้  vs ความรู้ไม่สามารถให้อยู่ในภาชนะได้ มันแพร่กระจายไปทั่ว  

ผมอ่านแล้วมันแย้งๆ กันยังไงก็ไม่ทราบ สงสัยคงเป็นเพราะยังไม่ได้อ่านภาคขยายความ

ความรู้สามารถผสมกับอีกความรู้หนึ่งได้ และ ผลของความรู้ ไม่ให้ผลในแนวตรง เดาไม่ได้ และตัองมีความสัมพันธ์ อยู่ในบุพบท (Knowledge is relational)   

ผมคิดว่าในชีวิตจริงความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ตั้งอยู่ด้วยตัวมันเอง อ่านที่ Alvin and Heldi Toffler สรุป เขาอาจจะเน้นเฉพาะตรงนี้ แต่จริงๆ ในส่วนใหญ่ของชีวิตคนเราการกระทำหรือแม้แต่การคิดการตัดสินใจ ผมมองว่าเป็นการผสมผสานของความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์  intuition จินตนาการ ฯลฯ   จนยากที่จะสกัดเอาเฉพาะความรู้โดดๆ ในการปีนเกลียวของความรู้ ความรู้อาจเป็นเพียงเชือกเส้นหนึ่งที่พันเกลียวไปกับมิติอื่นๆ ของชีวิตคนเรา

ผมพบบ่อยๆ ว่าบางครั้ง การตัดสินใจของคนเราเป็นไปโดยไม่มีเหตุผลสักเท่าไร แต่พอตัดสินใจไปแล้วเขาก็สามารถหาเหตุผลโดยการอ้างอิงความรู้มารองรับการตัดสินใจของเขาได้  (ไม่ได้พูดถึงนักการเมืองนะครับ)

อาจารย์หมอมาโนชครับ

อาจารย์ครับตรง ความรู้สามารถที่จะเก็บในพื้นที่เล็กๆได้ "ความรู้" ตรงนี้ Toffler น่าจะหมายถึงความรู้ที่อยู่ในรูปที่เป็น collective knowledge ครับ ส่วน ความรู้ไม่สามารถให้อยู่ในภาชนะได้ มันแพร่กระจายไปทั่ว "ความรู้" ตรงนี้ Toffler น่าจะหมายถึงความรู้โดยรวมๆ โดยความหมายทั่วไปครับ

อาจารย์ครับ ที่อาจารย์สรุปมาถูกต้องที่สุดเลยครับ ความรู้อาจเป็นเพียงเชือกเส้นหนึ่งที่พันเกลียวไปกับมิติอืนๆของชีวิตคนเรา ความรู้จะต้องมี composability ประกอบอยู่ด้วยเสมอครับ

อยากทราบเรื่อง Knowledge Management

ความเเต่ ต่าง ของKnowledge Management ขององค์กรต่างๆ ว่าปกติเเล้ว ต้องเป้นขั้น ตอนเเผนอย่างไง ช่วย ผมที คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท