ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เก็บเกี่ยวความรู้จากการประชุมวิชาการศิริราช


โครงการ R2R ที่ศิริราชเราก็เรียนเชิญท่านอาจารย์ปาฐกถาในหัวข้อ “การวิจัยสุขภาพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” วันที่ 30 มีนาคม นี้ด้วยครับ เพราะโครงการ R2R เราสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดครับ รวมหากพิจารณาแล้วจะพบว่าโครงการวิจัยในรูปแบบของ R2R นั้นทั้งหมดดำเนินการตามหลักปรัชญานี้ครับ

เมื่อวานนี้เป็นวันแรกของการประชุมวิชาการประจำปีของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลซึ่งปีนี้เราจัดที่หอประชุมกองทัพเรืออีกเช่นเดิม ซึ่งปีนี้มีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก R2R ร่วมนำเสนอโครงการทั้ง oral และ poster presentation อยู่หลายโครงการยังความชื่นใจมาสู่เรามากเลยครับ ตอนนี้เริ่มมีโครงการบางโครงการสามารถนำเสนอถึงต่างประเทศครับ ยังไงเราคงต้องทำงานหนักในการสนับสนุนการตีพิมพ์ต่อไปด้วยครับ อย่างไรก็ดี R2R มุ่งเน้นที่การพัฒนางาน พัฒนาคนเป็นหลัก งานวิจัยเป็นส่วนที่เข้ามาเสริมให้การพัฒนานั้นมีหลักฐานหรือเกิดหลักฐานอ้างอิงครับ สิ่งที่อยากเล่าวันนี้คือ แง่คิดบางส่วนจากปาฐกถาเกียรติยศ ของ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครับ (ซึ่งโครงการ R2R ที่ศิริราชเราก็เรียนเชิญท่านอาจารย์ปาฐกถาในหัวข้อ การวิจัยสุขภาพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงวันที่ 30 มีนาคม นี้ด้วยครับ เพราะโครงการ R2R เราสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดครับ รวมหากพิจารณาแล้วจะพบว่าโครงการวิจัยในรูปแบบของ R2R นั้นทั้งหมดดำเนินการตามหลักปรัชญานี้ครับ) ปาฐกถาของท่านอาจาย์ทำให้ผมเข้าใจปรัชญานี้ดีขึ้นมากๆเลยครับ เลยขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟัง หรือจริงๆก็เป็นการสรุปความคิดสำหรับเตือนความจำของผมเองด้วยครับ ขออนุญาตไม่เล่าถึงตัวปรัชญาซึ่งหาอ่านได้จาก website ของสภาพัฒนฯ นะครับ แต่จะเล่าประเด็นสำคัญที่ผมเก็บเกี่ยวมาได้ตามประสาผมคนรู้น้อยโดยสรุปดังนี้ครับ 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. เป้าหมายสำคัญคืออะไร
-       เป้าหมายมี 4 ประการคือเป็นแนวทางปฏิบัติตน สำหรับประชาชนทุกระดับ เน้นทาง สายกลางและเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุกโลกาภิวัฒน์นี้
  1. ความพอเพียงนี้มีองค์ประกอบอะไร
-       มี 3 องค์ประกอบคือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวต่อผลกระทบด้านต่างๆ 4 ด้านคือ materialistic impact, social impact, cultural impact & environmental impact ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้หมายถึงหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จากทั้ง 4 ด้านนี้ บุคคลที่ใช้ปรัชญานี้ในการดำเนินชีวิต หรือ หน่วยงานใดๆที่ใช้ปรัชญานี้ในการปฏิบัติงานก็จะได้รับผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่รุนแรงมาก สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้เสมอ
  1. ถ้าต้องการนำปรัชญานี้ไปใช้ต้องมีเงื่อนไข (prerequisite) อะไรบ้าง
-       หลักวิชา ต้องมีความรู้ตามหลักวิชาที่ต้องใช้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนกำลังทำอยู่เช่นถ้ารักษาคนไข้โรคอะไร เราก็ต้องมีความรู้ในโรคนั้นๆเป็นอย่างดี หรือถ้าต้องการก่อสร้างอะไรก็ต้องมีความรู้ในงานก่อสร้างนั้นๆ-       คุณธรรม ต้องดำเนินงานที่มีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต-       ต้องมีการดำเนินการหรือดำเนินชีวิตด้วยความเพียร มีสติและรอบคอบ
  1. เมื่อดำเนินชีวิตหรือดำเนินงานตามหลักปรัชญานี้แล้วผลที่ได้รับคืออะไร
-       ชีวิต หรือ หน่วยงานที่ใช้หลักปรัชญานี้จะมีความสมดุลย์กล่าวคือมีความพร้อมรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  หลังจากได้รับฟังปาฐกถาของท่านอาจารย์แล้วทำให้ผมรู้สึกได้เลยว่าหลักปรัชญานี้สามารถใช้ได้กับชีวิตประจำวันและน่าเป็นแนวทางที่ทำให้คนเรามีความสุขที่แท้จริงได้เช่นเดียวกันหน่วยงานหรือองค์กรใดๆก็ตามที่ดำเนินการตามหลักปรัชญานี้ย่อมจะพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกรูปแบบทำให้สามารถคงอยู่ได้มั่นคงและเปลี่ยนแปลงได้ทันยุคสมัยแน่ๆครับ ผมจะพยายามนำเอาหลักปรัชญานี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตและใช้ในการดำเนินงานของโครงการ R2R ที่ศิริราชครับ
หมายเลขบันทึก: 82324เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามาทักทายครับ
  • เป็นอย่างไรบ้างครับ
  • อยากทราบงานวิจัยนำเสนอโครงการทั้ง oral และ poster presentation
  • ว่าเป็นแบบใดครับคุณหมอ
  • ขอบคุณครับ

เรียนคุณขจิตครับ คือโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ R2R ได้รับเลือกให้แสดงผลงานหลายโครงการครับ ทั้งแบบแสดงปากเปล่าและแบบเป็น poster ส่วนรายละเอียดโครงการเป็นอย่างไร ต้องตามมาชมที่งานประชุมวิชาการของโครงการ R2R ที่ศิริราช วันที่ 30 มีนาคม นี้นะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท