BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ประมวลเนื้อหาวิชาตรรกศาสตร์


วิชาตรรกศาสตร์

ความหมาย คือ บางสิ่งบางอย่างที่เรารู้ว่า สิ่งนั้นคือสิ่งนั้น โดยมี นิมิต (signs) เป็นเครื่องหมายเปิดเผยให้รู้ความหมายของสิ่งนั้นๆ ความเหมือนกันและความแตกต่างกันของสิ่งนั้นๆ เกิดจากพุทธิปัญญาของมนุษย์ และพุทธิปัญญาของมนุษย์ยังแยกแยะให้สิ่งหนึ่งมีความเหมือนกันหรือแตกต่างจากอีกสิ่งหนึ่งมากน้อยเพียงไร การให้ความหมายก็คือการสร้างกรอบความหมายของสิ่งนั้น เพื่อให้สิ่งนั้นมีความหมายอยู่ภายในขอบเขตที่วางไว้  

 การให้เหตุผล คือ การค้นหาความจริงบางอย่างจากสิ่งที่เรารู้แล้วไปยังสิ่งที่ยังไม่รู้ การให้เหตุผลนี้มีสองนัย คือ การเริ่มต้นจากความหมายของสิ่งทั่วไปที่รู้แล้วไปยังบางสิ่งยังไม่รู้ (นิรนัย) และการเริ่มต้นจากความหมายของสิ่งเฉพาะหลายๆ อย่างที่รู้แล้วเพื่อสรุปเป็นความหมายทั่วไปของบางสิ่งที่ยังไม่รู้ (อุปนัย) ทั้งนิรนัยและอุปนัยนี้ เรียกว่า การให้เหตุผลตามรูปแบบ

   การให้เหตุผลตามเนื้อหา ถ้าเป็นสิ่งจำเป็นหรือแน่นอนตายตัวเรียกว่า การสาธก (demonstration) ถ้าเป็นเพียงความเป็นไปได้เรียกว่า วิภาษวิธี (dialectics) ถ้าเป็นการพูดจูงใจให้เชื่อถือเรียกว่าวาทศิลป์ (rhetorical) และถ้าอยู่ในรูปวรรณกรรมก็เป็น แบบกวี (poetic)  การให้เหตุผลหลอกล่อ เป็นวิธีการเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นจริงหรือเป็นไปตามนั้น โดยมีข้อบกพร่องของการให้เหตุผลเรียกว่า ปฤจฉวาที หรือ ทุตรรกบท (fallacy) ซึ่งมีหลายนัย บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับภาษา บางครั้งก็ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา และบางครั้งก็มีการทิ้งเหตุผลโดยอ้างสิ่งบางอย่างมาแทน เช่น อ้างผู้มีอำนาจหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือบางครั้งก็ขอความเห็นใจแทนการใช้เหตุผล เป็นต้น     

คำสำคัญ (Tags): #วิชาตรรกศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 82296เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรื่องของตรรกศาสตร์น่าสนใจมาก   เขียนต่อไปนะครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ยินดีที่อาจารย์มาเยี่ยม...บันทึกนี้เป็นบทสรุปของเนื้อหาที่บรรยายทั้งหมด.... 

คิดอยู่ว่าจะเลือกบทความที่มอบหมายให้นิสิตเขียนมาลงเล่นๆ... แต่ก็ขี้เกียจมาหลายวันแล้ว

จะเริ่มลงคืนนี้เป็นบทความแรก

เจริญพร

พระอาจารย์ครับ อยากได้สัญญลักษณ์ ของ ตรรกยศาสตร์นะครับ พระอาจารย์พอจะทราบหรืแเปล่าครับ ผมหาได้แล้ว แต่มันไม่มากนะครับ นมัสการ

ไม่มีรูป Charoen

 

สัญญลักษณ์ของตรรกศาสตร์ ตามที่เคยฟังมา ไม่ลงตัวเป็นหนึ่งเดียว ทำนองต่างคนต่างคิดต่างสร้าง ที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็ของ Irving M. Copi ลองไปค้นหาตามชื่อนี้ดู

เจริญพร

อยากลองเรียนวิชาตรรกศาสตร์ ยากรึป่าวน่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท