สิ่งที่ได้รู้ และสิ่งที่ได้ทำ จาก Peer assist ที่พุทธชินราช


เราเอาแนวคิดหลายๆอย่างมาใช้กับทีมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

      หลังจากที่กลับมาจากการทำ peer assist กับทีม PCU เมือง โรงพยาบาลพทธชินราช ประมาณ 1 เดือน ซึ่งอ่านได้ที่นี่  บันทึกPA และ  สรุปขุมความรู้ 

       ไม่น่าเชื่อนะครับว่าเราเอาแนวคิดหลายๆอย่างมาใช้กับทีมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

     1.การประสานงานทีมระดับ CUP มากขึ้นครับ คราวนี้เราพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ(โทร)บ่อยขึ้น รวมทั้งการนัดประชุมกันทุกเดือน จากที่เมื่อก่อน นานๆทีตามสะดวก และได้งานได้ข้อตกลง

      2.การประชุมหลังกลับจาก พิษณุโลก 2 สัปดาห์ ทุกๆ สอ.เสนอตัวเอง ในการที่จะรับผู้ป่วยเบาหวานไปดูแลที่ สอ. ทั้งๆที่เป็นการเพิ่มภาระงานของตนเอง ซึ่ง ผอ.นพ.มนู ชัยวงค์โรจน์ ก็ยินดีมากที่เห็นว่าหลังจากกลับมาทุกคนมีไฟ เพิ่มขึ้นจริงๆอย่างที่บอกไว้

      3.เนื่องจากเราตั้งใจจะทำ day camp ของกลุ่มเสี่ยงสูง(IGT) อยู่แล้ว แต่เราได้ทำกับกลุ่มป่วยก่อน เป็น DM day camp ครั้งที่ 1 (กดอ่านที่นี่) ซึ่งเราใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ของพุทธชินราช หลายๆอย่างครับ

แล้วจะมาเล่าบรรยากาศของกัลยาณมิตร และรูปทีน่าประทับใจครับ

ภก.เอนก ทนงหาญ

หมายเลขบันทึก: 82224เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่ได้เห็นการนำทีมเบาหวาน รพร.ธาตุพนมและ PCU เครือข่ายมีความก้าวหน้าและทุกๆ คนมีไฟในการทำงาน

อย่าลืมเขียนเล่าบ่อยๆ แล้วไปช่วยจุดไฟให้เพื่อนๆ ที่อยู่ใกล้เคียงด้วย

  •  ก่อนอื่นพี่โต้งต้องขอชื่นชมมากๆ เลยค่ะ กับการบันทึกการทำ PA ในครั้งนี้ สมกับที่รอคอยจริงๆเป็นบันทึกที่ละเอียด และมีคุณค่ามาก
  • อ่านบันทึกแล้วนึกถึงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนในวันนั้น สนุกและเป็นกัลยาณมิตรทุกคนได้เล่าถึงสิ่งดีๆที่ตัวเองทำนำมาซึ่งขุมความรู้ที่เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่นำไปขยายพันธุ์ได้
  • และดีใจที่ทีมผู้ให้ของ รพ.พุทธฯ ได้ช่วยจุดไฟการพัฒนาให้กับเพื่อนของเรา ธาตุพนม
  • ขอบคุณกับการเตรียมความพร้อมการศึกษาดูที่ดีของทีมธาตุพนมสมกับเป็นทีมผู้ใฝ่รู้จริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท