BARCODE หรือ รหัสแท่ง


เทคโนโลยีบาร์โค้ดถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล

คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน แถบที่มีสีและความกว้างที่แตกต่างกันนี้จะมีค่าเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันและมาตรฐานสากลได้กำหนดค่าไว้

.....เทคโนโลยีบาร์โค้ดถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล (Data Entry) การบันทึกด้วยคีย์บอร์ดมีอัตราความผิดพลาดอยู่ประมาณ 1 ใน 100 หรือบันทึกข้อมูลผิดพลาด 1 ตัวอักษรในทุกๆ 100 ตัวอักษร และเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบบาร์โค้ดแทนในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล อัตราการเกิดความผิดพลาดจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10,000,000 ตัวอักษร

ประวัติความเป็นมาของบาร์โค้ด
เริ่มในปี ค.ศ. 1970 สหรัฐอเมริกามีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐาน และสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม ค.ศ. 1973 คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้จัดพิมพ์ระบบ UPC (Uniform Product Code) ขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับติดบนสินค้าต่างๆใช้สำหรับ ควบคุมยอดการขายและสินค้าคงคลัง ค.ศ. 1975 กลุ่มประเทศทางยุโรปจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการขึ้น เพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN (European Article Number) และปี ค.ศ. 1977 สมาคม EAN ถูกจัดตั้งขึ้นครอบคลุมประเทศในยุโรปและประเทศอื่นๆ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น IANA (International Article Numbering Association) แต่อักษรย่อยังคงใช้ EAN

ประเทศไทยนำระบบ EAN มาใช้ในปี พ.ศ. 2530 โดย Thai Product Numbering Association - TPNA ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนในการรับสมัครสมาชิกระบบบาร์โค้ด ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสมาชิกบาร์โค้ดในระบบ EAN ทั้งนี้เพื่อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศได้มาตรฐานสากล และเพื่อประโยชน์แก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้ซื้อ ผู้ค้าปลีก จนปี พ.ศ. 2536 TPNA ได้โอนสิทธิ์การเป็นนายทะเบียนให้กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รหัสประจำของประเทศไทยคือ 885 ระบบ EAN ตามระบบสากล ของ EAN International ภายใต้การบริหารงานของสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย EAN Thailand สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ส่วนประกอบของบาร์โค้ด

.....สัญลักษณ์ของบาร์โค้ดที่ใช้กันมีการกำหนดขึ้นมาหลายรูปแบบ ตามมาตรฐานของแต่ละองค์กร และตามจุดประสงค์ของการใช้งาน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วบาร์โค้ดจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.Quiet Zone เป็นบริเวณที่ว่างเปล่าไม่มีการพิมพ์ข้อความใดๆ โดยจะอยู่ก่อนและหลังบาร์โค้ด
2.Start/ Stop Character เป็นบริเวณแถบแท่งหรือช่องว่าง
3.Data เป็นบริเวณแถบแท่งหรือช่องว่างที่แทนข้อมูลต่างๆ ที่เราต้องการ
4.Check Digit เป็นบริเวณแถบแท่งที่ไว้สำหรับเก็บค่าตัวเลข เพื่อตรวจสอบในข้อมูลส่วน Data เพื่อเตรียมสั่งให้เซนเซอร์เริ่มต้นหรือหยุดบาร์โค้ด เพื่อให้มั่นใจว่าถูกต้องแม่นยำ

หลักการทำงาน

1.ส่วนลายเส้น ซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งแสง) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด
2.ส่วนข้อมูลตัวอักษร เป็นส่วนที่แสดงความหมายของชุดข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจ
3.ส่วนแถบว่าง เป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มข้องการสะท้อนแสงในสีของพื้นผิวแต่ละชนิดที่ใช้แทนสีขาว) โดยทุกเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา
.....แถบสีทั้งสีขาวและสีดำที่มีความกว้างจะแทนค่าเป็น 1 และแถบสีที่มีความแคบ (หรือมองด้วยตาเหมือนเป็นเส้นตรงเล็กๆ) ทั้งขาวและดำจะมีค่าเป็น 0 แถบขาวและดำที่มีลักษณะและชื่อที่ใช้คือ
แถบสีดำที่มีความกว้างมากกว่าเรียกว่า Wide Bar ถ้ามีความกว้างน้อยเรียกว่า Narrow Bar
ช่องว่างหรือแถบสีขาวที่มีความกว้างมากกว่าเรียกว่า Wide Space ถ้ามีความกว้างน้อยเรียกว่า Narrow Space

ความสำคัญของบาร์โค้ดต่อองค์กรธุรกิจ
ด้านผู้ผลิต
1.ช่วยในการควบคุมคลังสินค้า
2.ช่วยในการติดตามสินค้าที่อยู่ระหว่างผลิต
3.ได้ตัวเลขยอดขายที่แน่นอน แม่นยำ ทำให้ขจัดปัญหาสินค้าขาดได้
4.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการสั่งซื้อให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ
5.ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า ขนาดโกดัง และดอกเบี้ยสินค้าคงคลัง
6.สร้างเอกลักษณ์ด้วยตัวเลขที่เป็นสากล สำหรับการค้าระหว่างประเทศ
7.สามารถเปิดโอกาสและช่องทางการค้าได้อย่างกว้างขวางขึ้น

ด้านผู้ค้าส่ง
1.สามารถนำรายการสินค้าต่างๆ เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และหลังการขายสินค้าออกไป
2.สามารถทราบยอดขายและยอดคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
3.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งซื้อสินค้า

ด้านผู้ค้าปลีก
1.ลดความสูญเสียขั้นตอนในการค้าปลีก
2.ทันต่อเหตุการณ์ในช่วงส่งเสริมการขาย
3.เปลี่ยนแปลงราคาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเปลี่ยนฉลากสินค้า
4.สะดวกต่อการควบคุมสต็อกสินค้ารวมทั้งการสั่งสินค้าครั้งต่อไป
5.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้าที่รวดเร็วให้เป็นที่น่าพอใจ
6.ทำให้ระบบการเก็บเงินถูกต้อง และควบคุมการเงินไว้ได้
                                       b27.jpg

ที่มา : http://www.student.chula.ac.th/~46801474/index.html

คำสำคัญ (Tags): #barcode#บาร์โค้ด
หมายเลขบันทึก: 82220เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท