นักศึกษาต่างชาติ มาจากที่ไหนบ้าง


คนพม่านิยมส่งลูกไปเรียนสิงคโปร์ โดยเฉพาะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง เรียนจบแล้วก็หางานทำที่นั่นเลย ไม่ค่อยกลับไปทำงานที่บ้าน(พม่า)

           

ปี 2549 ผู้เขียนมีโอกาสไปพักที่วัดแฌมเย่ เมืองย่างกุ้ง พม่า... กรรมการวัดท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ลูกสาวของท่านเรียนสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยมหิดล ฟังแล้วปลื้มใจมากทีเดียวที่ท่านให้เกียรติส่งลูกมาเรียนเมืองไทย

หนังสือพิมพ์อิระวดีออนไลน์ฉบับหนึ่ง (www.irrawaddy.org) รายงานว่า คนพม่านิยมส่งลูกไปเรียนสิงคโปร์ โดยเฉพาะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง เรียนจบแล้วก็หางานทำที่นั่นเลย ไม่ค่อยกลับไปทำงานที่บ้าน(พม่า)

Computing

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์รายงานสถิตินักศึกษาต่างชาติในไทย ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง...

นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในไทยปี 2548 มาจากจีน พม่า และลาวมากที่สุดดังตาราง (ตารางที่ 1)

    ตารางที่ 1: จำนวนนักศึกษาต่างชาติในไทยปี 2547-2548

ประเทศ

2547

2548

จีน

1,189

1,615

พม่า

346

489

ลาว

229

436

เวียดนาม

308

408

ญี่ปุ่น

219

307

อเมริกา

331

290

อินเดีย

227

246

ไต้หวัน

155

180

กัมพูชา

150

168

บังคลาเทศ

120

164

นักศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เข้ามาเรียนปริญญาตรี รองลงไปเป็นปริญญาโทดังตาราง(ตารางที่ 2)

    ตารางที่ 2: แสดงระดับการศึกษาที่นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษา

ระดับ

ปี 2547

ปี 2848

ปริญญาตรี

2,939

3,902

ปริญญาโท

1,017

1.395

ปริญญาเอก

113

161

ต่ำกว่าปริญญาตรี

265

143

มหาวิทยาลัยที่นักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนมากที่สุด 10 อันดับแรกในปี 2547-2548 ได้แก่ ม.อัสสัมชัญ (1,772 > 2,248), ม.มหิดล (308 > 476) ม.ธรรมศาสตร์ (296 > 170) ม.เว็บสเตอร์(ประเทศไทย) ม.ชิลเลอร์-สแตมฟอร์ด ม.เกษตรศาสตร์ ม.มิชชั่น จุฬาฯ ม.เชียงใหม่ และ ม.กรุงเทพ

ตัวเลขในวงเล็บท้ายชื่อมหาวิทยาลัยแสดงจำนวนนักศึกษาในปี 2547, 2548 ตามลำดับ น่าสังเกตว่า จำนวนนักศึกษากว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

       

สาขาวิชาที่นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษามากที่สุดได้แก่ บริหารธุรกิจ การตลาด ภาษาไทย ศิลปศาสตร์ ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริหารจัดการทั่วไปตามลำดับ

ปัจจัยที่นักศึกษาต่างชาติเลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติในไทยได้แก่

  1. ค่าเล่าเรียนถูกกว่าประเทศอื่น และค่าครองชีพไม่สูง
  2. คุณภาพการศึกษาของไทยใกล้เคียงกับต่างประเทศ
  3. การเดินทางสะดวก
  4. คนไทยมีอัธยาศัยดี และให้การต้อนรับ
  5. บางแหล่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล-รัฐบาล หรือได้รับทุนจากรัฐบาล / บริษัท
  6. ย้ายตามครอบครัว
  7. ต้องการค้นพบสิ่งใหม่ และเรียนรู้วัฒนธรรมไทย
  8. มีอาจารย์คุณภาพสูงจากต่างประเทศมาสอน

        

ผู้เขียนขอเรียนเสนอว่า ประเทศไทยน่าจะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า ลาว กัมพูชา โดยการจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาล-สาธารณสุขข้ามชาติ (transnational colleges) ที่จังหวัดชายแดน หรือจังหวัดใกล้ชายแดน

วิทยาลัยนี้น่าจะเปิดสอน 2 ระดับได้แก่ ปริญญาตรี 5 ปี(พยาบาลศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์) โดยทำการสอนร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลที่มีอยู่เดิม รับนักศึกษาจากไทยและเพื่อนบ้านฝ่ายละครึ่ง

       

เหตุผลที่หลักสูตรน่าจะเป็น 5 ปีก็เพื่อให้มีเวลาปรับตัว 1 ปี... ปีแรกให้เรียนภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้านก่อน

ถ้าเป็นนักศึกษาเพื่อนบ้าน... ปีแรกให้เรียนภาษาอังกฤษและไทยเพิ่ม ถ้าเป็นนักศึกษาไทย... ปีแรกให้เรียนภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านเพิ่ม ใกล้ประเทศอะไรให้เรียนภาษาประเทศนั้นเพิ่ม(พม่า ลาว หรือเขมร)

       

นักศึกษาไทยที่ผ่านหลักสูตรนี้น่าจะเก่งภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาอังกฤษ มีประสบการณ์วัฒนธรรมข้ามชาติ และมีเพื่อนจากประเทศเพื่อนบ้าน

นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านหลักสูตรนี้น่าจะเก่งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีประสบการณ์วัฒนธรรมข้ามชาติ และมีเพื่อนเป็นคนไทย

ถ้าระบบสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้านเราดี... ปัญหาโรคติดต่อข้ามชาติ เช่น มาลาเรีย ฯลฯ น่าจะลดลง หรือถึงแม้จะไม่ลดลง... การได้มิตรภาพหรือ "ได้ใจ" ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเดียวก็คุ้มเกินคุ้มแล้ว

    แหล่งที่มา:

  • ขอขอบพระคุณ (thank / courtesy of...) > จับทิศทาง กศ.นานาชาติ ปี’50 เปิดเฉพาะทาง-ต่างชาติแห่เรียน. ผู้จัดการรายสัปดาห์. 19-25 กุมภาพันธ์ 2550. ปี 19 ฉบับ 1055. หน้า D6.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > ๓ มีนาคม ๒๕๕๐.

    เชิญอ่าน:

  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
  • บ้านสาระ > http://gotoknow.org/blog/talk2u
  • อ่านบันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก หรือเลือกอ่านจากป้าย (คำหลัก) ทางขวามือของบล็อก > เลือก "มีต่อ" และเลือกคลิกป้าย (คำหลัก) ที่สนใจ






หมายเลขบันทึก: 82208เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 เรียนคุณหมอ

          บ้านราณีเคยมีนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศออสเตรเลียมาอยู่หลายครั้งค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ Ranee และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ขอแสดงความยินดีที่มีนักศึกษาแลกเปลี่ยนมาพักครับ...
  • การเป็นเจ้าบ้านที่ดีสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ

นักศึกษาต่างชาติ...

  • การมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนช่วยให้คนไทยตื่นตัว กล้าถาม กล้าสงสัย ขยันขึ้น และภาษาเก่งขึ้น

ขอขอบคุณครับ...

อืม.. ในระแวกประเทศเพื่อนบ้าน ผมก็สนใจที่จะไปเรียนต่อที่เวียดนาม เหมือนกันนะครับ ตอนแรกคิดว่าจะไปเรียนภาษาฝรั่งเศส จากที่นั่น ไม่ทราบว่าอาจารย์หมอ พอจะมีคำแนะนำ บ้างหรือเปล่าครับ ผม

ขอขอบคุณ... คุณสาทิตย์และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ผมไม่มีข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาต่อในเวียดนามมากพอที่จะตอบได้ครับ

ได้ยิน...

  • ได้ยินมาว่า ภาษาเวียดนามยากมาก และมีระดับวรรณยุกต์ เสียงสูง-ต่ำ ซับซ้อนถึง 7 ระดับ (ไทยมี 5 ระดับ พม่ามี 4 ระดับ)
  • คนเวียดนามขยันมากๆ มีอาจารย์หมอท่านหนึ่งมีเชื้อสายเวียดนาม เก่งและขยันมาก ท่านเล่นเปิดคลินิกคนเดียว 3 แห่ง ทำเอาคนทึ่งไปหมดเลย
  • ผมเองก็ทึ่งว่า ทำไมไม่รู้จักคำว่าเหน็ดว่าเหนื่อยอะไรทำนองนี้
  • อย่าถือผมเป็นประมาณ เพราะผมค่อนไปทางขี้เกียจ และเรียนไม่เก่ง...

ขออภัยครับ...

  • เรียนเสนอให้ลองค้นจาก search engine เช่น Google ดู เช่น เรียนต่อ+ฝรั่งเศส ฯลฯ
  • บางทีอาจจะได้สถานที่ที่น่าเรียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท