สันติชน
นาย วรนันท์ มูฮัมหมัด รอมฎอน บุนนาค

เราจะพัฒนาตัวเรา ให้มี จิตสำนึกสาธารณะ ได้อย่างไร


จิตสาธารณะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าแก่ โบราณ ที่ผู้อาวุโส รุ่นเก่าแก่ได้สังคมไว้และถ่ายทอดให้เรา สมัยเรียน มหาวิทยาลัยปี 2519 มีรุ่นพี่หลายคนแลกเปลี่ยนกับผมเรื่อง คนจนในเมือง ความอดอยากยากไร้ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อการมาขายแรงงาน มาหางานทำ และต้องมาอยู่ในสลัมรถไฟ สล้มมักะสัน สลัมเกาะลอย ฯลฯ เขาปลุกจิตสำนึกให้เราเข้าใจคนจน เห็นใจคนจน จนเกิดสำนึกที่จะลงไปช่วยเหลือเกื้อกูลคนเหล่านี้ ได้พ่อฮัก ได้แม่ฮัก พี่ฮักมากมายอบอุ่น และก็ยังหนุนช่วยกันอยู่จนทุกวันนี้

            การพัฒนาคนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกิดกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องสร้างลักษณะของผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนให้มีพฤติกรรมมุ่งมั่นกระตือรือร้นใส่ใจต่อการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม นั่นก็ต้องให้เขาได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความจริง คุณธรรม และการดำรงชีวิตที่มีค่า ให้เขารู้จักตนเองและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตที่เห็นแก่ผู้อื่นเป็นอันดับแรก เห็นแก่ตนเองและครอบครัวเป็นรอง ให้เขามีความรู้เกิดความเข้าใจสังคมและสามารถปรับปรุงพฤติกรรมและคุณลักษณะเฉพาะของตนเองให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความอดทนอดกลั้นและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในชีวิต ให้เขามีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาทั้งของตนเองและผู้อื่นโดยยึดพิ้นฐานความสมัครสมานสามัคคี เน้นการอนุรักษ์และมีจิตอยากช่วยเหลือกูลอย่างสุดจิตสุดใจต่อผู้อื่นเสมือนญาติของตน การฝึกจิตให้มีนิสัยใฝ่ดี เป็นการสร้างคุณสมบัติให้กับผู้ขัดเกลาจิตสำนึกสาธารณะ ที่เน้นความรูความเข้าใจที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างลึกซึ้งถูกต้องตามทำนองคลองธรรม มีความเชื่ออย่างฝังใจว่าจิตสำนึกที่เป็นสาธารณะเป็นจิตที่ดี เที่ยงแท้และต้องให้เด็ดเดี่ยวมั่นคงในตัวตนอยู่ให้ได้ เช้น การให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ สงเคราะห์ผู้อื่นให้ยึดมั่นต่อการกระทำความดี ยกย่องให้เกียรติต่อผู้อื่นตามศักดิ์ศรีของมนุษย์ ประพฤติมั่นคงต่อกรรมดี งดเว้น กรรมชั่ว เห็นคุณค่าของเวลา กระทำดีอย่างต่อเนื่อง สร้างบุญกุศลให้จิตจใจสบาย งดงาม อิ่มเอมใจ กตัญญูรู้คุณต่อบิดา มารดาและผู้มีพระคุณ อนุเคราะห์แก่ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าตนเองเป็นประจำ กระทำแต่ความดีโดยไม่หวังผลตอบแทนจากผลแห่งความดี ไตร่ตรองใคร่ครวญและตัดสินด้วยปัญญา ปลุกจิตสำนึกของเราให้งดเว้นอบายมุขทุกชนิด รักษาเบญจศีล เบญจธรรมให้เป็นปกติวิสัย ปฏิบัติตามหลักธรรมที่สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสภาพสังคมที่ดำรงอยู่ ตลอดศาสนธรรมที่เรายึดถือเหล่านี้แหละคือการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะที่เป็นรูปธรรม ขอเรามาสรุปบทเรียนตนเองกันเพื่อให้เราเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกแห่งการมีคุณธรรมจริยธรรมในหัวใจกันเถอะ

 

หมายเลขบันทึก: 82191เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นี่คือประเด็นใหญ่เลยนะครับสำหรับการพัฒนา ไม่ใช่แค่เพียงภายในตัวตนเท่านั้นแต่ยังผลไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศเลยทีเดียว ตรงนี้ผมเองก็กำลังสนใจอยู่เช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้น่าจะอยู่ที่ความมั่นคงขั้นพื้นฐาน เช่น ด้านอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย สุขภาพกาย ใจ ที่พร้อม ถ้าทำตรงนี้ได้ คิดว่าบ้านเมืองคงสงบสุข อยู่ด้วยกันอย่างเอื้ออาทรแบ่งปัน 

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เด็กที่ดีที่สุดของเรา

จิตสาธารณะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องเก่าแก่ โบราณ ที่ผู้อาวุโสรุ่นเก่าแก่ได้สังคมไว้และถ่ายทอดให้เรา สมัยเรียนมหาวิทยาลัยปี 2519 มีรุ่นพี่หลายคนแลกเปี่ยนกับผมเรื่อง คนจนในเมือง ความอดอยากยากไร้ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อการมาขายแรงงานมาหางานทำและต้องมาอยู่ในสลัมรถไฟ สลัมมักะสัน สลัมเกาะลอย ฯลฯ เขาปลุกจิตสำนึกให้เราเข้าใจคนจน เห็นใจคนจน จนเกิดสำนึกที่จะลงไปช่วยเหลือเกื้อกูลคนเหล่านี้ ได้พ่อฮัก ได้แม่ฮัก พี่ฮักมากมายอบอุ่น และก็ยังหนุนช่วยกันอยู่จนทุกวันนี้

ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการขัดเกลาจิตสาธารณะตั้งแต่เยาว์วัย

ต่อด้วยโรงเรียนนะคะที่จะพร่ำสอน...เด็กสมัยนี้จิตสาธารณะต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อนจริงๆค่ะ เมือ่เรามีความสุขแล้วเราก็อยากให้คนอื่นมีความสุขเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท