ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน ดูอากาศรายวันและล่วงหน้า ด้วย VirtualWeather3D


โปรแกรม VirtualWeather3D เป็นโปรแกรมแสดงผลสภาพอากาศสามมิติครอบคลุมพื้นที่ประเทศ โดยผ่านการคำนวณด้วย MM5 Model

สวัสดีครับ

      วันนี้ขอเสนอ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน Virtual Weather 3D โปรแกรม VirtualWeather3D เป็นโปรแกรมแสดงผลสภาพอากาศสามมิติครอบคลุมพื้นที่ประเทศ โดยผ่านการคำนวณด้วย MM5 Model ซึ่งกรมอุตุจะรันโมเดลอากาศทุกวันทำการและใช้โปรแกรม VirtualWeather3D แสดงผลทุกวัน โดยตัวโปรแกรมแสดงผลได้รับพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง สมพร ช่วยอารีย์ มอ.ปัตตานี กับ ดร. วัฒนา กันบัว จากกรมอุตุนิยมวิทยา

      การแสดงผลอาจจะเป็นประโยชน์กับชาวประมงในการออกเรือ ตลอดจนนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปครับ ก้อนสีขาวๆที่ลอยนั้นคือ เมฆที่อยู่ในอากาศครับ โดยแสดงผลตามค่าของ Isosurface ที่แสดงในภาพ

      โปรแกรม VirtualWeather3D ถูกพัฒนาและเขียนโปรแกรมด้วย Delphi ผสมกับการใช้ไลบรารี่ OpenGL (Open Graphic Library) ในการวาดภาพสามมิติ

      ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมพัฒนา http://www.marine.tmd.go.th 

 (สำหรับภาพเคลื่อนไหวด้านล่างนี้หากมันมาช้า กรุณารอจนข้อมูลโหลดมาจนหมดแล้วภาพเคลื่อนไหวจะต่อเนื่องครับ)

สำหรับภาพในมุมมองอื่นไปดูได้ที่ กรมอุตุนิยมพัฒนา http://www.marine.tmd.go.th  

หากมีคำถามใดๆ กรุณาเขียนเสนอไว้นะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

สมพร ช่วยอารีย์

 

หมายเลขบันทึก: 82142เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับ เม้ง

         พี่ขออนุญาตเรียกชื่อเล่นเลยก็แล้วกันนะครับ เห็นเขียนไว้หน้าชื่อจริง :-)

        โปรแกรมน่าสนใจมากครับ เดี๋ยวจะขอตามไปดูรายละเอียดแล้วกลับมาพร้อมคำถาม 

        พี่สนใจอุตุนิยมวิทยามาก ตอนที่ทำรายการวิทยาศาสตร์ให้กับ Nation Channel ก็เคยไปสัมภาษณ์คนที่กรมอุตุหลายครั้ง (โดยเฉพาะคุณจรูญ เลาหเลิศชัย) & เขียนบทความไปลง นสพ. ก็หลายบทความ (ดูตัวอย่างเรื่อง พายุฤดูร้อน  เมฆจานบิน และ เอลนีโญ  ได้ครับ)

        เขียนเข้ามากๆ เลยได้หนังสือเล่มเล็กๆ ออกมาได้เล่มหนึ่งเลย ชื่อ Know How & Know Why ลมฟ้าอากาศ โดย สนพ. สารคดี

       อย่างไรก็ดี พี่ยังอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมาก เอาไว้มีประเด็นอะไรจะขอเขียนถามไปนะครับ (ตอนนี้ กำลังสงสัยว่า ทำไมเมฆจึงลอยตัวอยู่เป็นชั้นๆ เกี่ยวกับการไหลของกระแสอากาศหรืออย่างไรครับ)

ขอบคุณครับ

บัญชา (พี่ชิว)

สวัสดีครับ พี่บัญชา

  • ขอบคุณมากๆ นะครับสำหรับผมตอนนี้ ทำร่วมอยู่กับ ดร.วัฒนา กันบัวครับ ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทางทะเลครับ http://www.marine.tmd.go.th
  • ส่วนตัวผมเป็นคณิตศาสตร์ประยุกต์ครับ เน้นในเรื่องการสร้างเครื่องมือ โมเดลทางคณิตศาสตร์ การจำลองแบบและการแสดงผลครับ ตอนนี้งานทางอุตุเป็นงานอดิเรกของผม แต่ทำเพื่อการนำไปใช้จริงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปครับ
  • ผมช่วยในส่วนของโปรแกรมการแสดงผลนะครับ ความรู้ผมในทางอุตุเองยังน้อยอยู่มากครับ ยังต้องศึกษาอีกเยอะเลยครับผม
  • สำหรับรูปแบบของเมฆนั้น ได้ใช้ตัวสร้างพื้นผิวด้วยวิธีการ Isosurface ในการดูบริเวณเมฆครับ ซึ่งเป็นการคำนวณค่าความชื้นในอากาศครับ 
  • โปรแกรมตัวอื่นๆ ที่ได้ทำ ก็ดูได้ตามเว็บไซต์ด้านบนนะครับ
  • ผมอยากให้เมืองไทย คิดและสร้างโปรแกรมเหล่านี้ขึ้นมาเอง สร้างระบบการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาไปเรื่อยๆ ครับ วันหนึ่งเราก็คงมีโปรแกรมที่ใช้ให้เหมาะกับบ้านเราครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • คุณเม้งเก่งจัง  ทำได้ไงครับ
  • เรื่องคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  เออ!!!  มีอีกอย่างคือภาษาอังกฤษ  นี่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับผมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว 
  • ตอนนี้เลยเกิดปัญหาเพราะผมไม่เปิดใจรับมันตั้งแต่ต้น  สุดท้ายก็ต้องหวานอมขมกลืน ถูลู่ถูกังเรียนภาษาเพื่อให้ทันโลกอยู่นี่แหละครับ.....
  • ผมก็ไม่ได้เก่งไรครับ ลองมั่วไปเรื่อยๆครับ ลองผิดลองถูกครับ พอคลำถูกทางบ้าง ก็หาหนังสือมาอ่านต่อครับ
  • อาจจะลองกัดไม่ปล่อยดูซักพักครับแล้วใส่ความต่อเนื่องเข้าไปครับ ก็อาจจะได้เห็นอะไรดีๆครับ
  • สู้ๆ นะครับผม

มันมองอยากไปนิดนึงนะคะ อาจเป้นเพราะดินกับ พื้นห่างกันไม่เยอะ......น่าจะมีแบบ ให้เลือกดูเป็นมิติๆ ไป ได้ หรือไม่ก็ หมุนดูได้ อยากดูแนวไหน เพราะดูแบบนี้แล้วมันมีทั้งทิศทางลม ทั้ง ภาคพื้นดิน....เลยดูอยาก(แต่ก็ยังดูรู้นะคะ).....ถ้ามันช้าปรับสเกลไม่ได้เหรอคะ ให้มันละเอียดมากน้อย ผู้ใช้เป็นคนกำหนดอะไรประมาณนี้.....(คอมเม้นเท่าที่เห็นตรงนี้นะคะ...ถ้าเกิดไปคอมเมนที่มีอยู่แล้วต้องขอโทษด้วยนะคะที่ดูข้อมูลไม่ครบ) ....... ทำได้ขนาดนี้สุดยอดแล้วคะ ....เมืองไทยเราน่าจะมีคนเก่งๆ แล้วคิดอย่าพี่เม้งเยอะๆ เนอะ เราจะได้ไม่ต้องเป็นนักลงทุน(อย่างเดียวเนอะ)....แล้วจะติดตามผลงานต่อนะคะ....และจะเป็นกำลังใจและเอาใจช่วยให้ผลงานออกมายอดเยี่ยมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

  • น้อง Ms.J. ต้องเข้าไปชมที่ http://www.marine.tmd.go.th  ครับ ตรงนั้นจะมีหลายมุมมองนะครับ พอดีในหน้านี้ เกรงใจคนใช้โมเด็มครับ หากดึงมาหลายภาพเดี๋ยวจะอืดไปกันใหญ่ครับ
  • อยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ ทุกรุ่นหันมาลองเรียนรู้สิ่งเหล่านี้กันนะครับ คงเกิดประโยชน์กับบ้านเรามาๆ เลยครับ เราจะได้ไม่ต้องเป็นทาสต่างชาติไปทุกๆ เรื่องครับ
  • อย่างที่เราเคยเกิดสึนามิ ใบ้กินกันทั้งประเทศครับ พี่เองก็จุกครับ จุกในความที่เราก็ไม่ได้เรื่อง ไม่มีความรู้ หากรู้บ้างก็คงทำได้บ้างครับ
  • อยากให้ร่วมทำกันเป็นทีมมากกว่าด้วยครับ จะได้เข้าใจร่วมกัน เพราะหากคนหนึ่งตายอีกหลายคนยังอยู่ครับ แล้วสร้างรุ่นต่อรุ่นให้เกิด ภูมิต้านทานก็คงเกิดในประเทศนะครับ
  • ขอบคุณทุกความเห็นครับผม

เคยไปคุยกับ ดร.วัฒนา และได้เห็น SiTProS ทำงานด้วยครับ ดร.วัฒนา เล่าให้ฟังว่ามีมือดีคนหนึ่งที่ มอ.ร่วมกันทำงานกับแก ต้องเป็นคุณสมพรแน่ๆ เลย

เรียนตามตรงนะครับว่าภูมิใจมากสำหรับคุณภาพงานที่เห็น เมืองไทยมียอดฝีมือซ่อนอยู่เต็มไปหมด

วิถีชีวิตของคนไทย ผูกพันอยู่กับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก หากสามารถทำนายสภาพลมฟ้าอากาศได้ถูกต้องมากขึ้น และบ่อยขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ครับในเว็บ ผมชอบการทำนายขนาดคลื่นที่สุดครับ เป็นประโยชน์ต่อเรือประมง และการท่องเที่ยวที่สุด

MM5 ก็อายุมากแล้ว ไม่ทราบว่าโมเดลต่อไปจะเป็นอะไรครับ

เก่งมากครับ

สงสัยต้องสมัครเป็นศิษย์ซะแล้ว

ขอสะกิดนิดเดียวว่าอย่าให้เป็นแค่ "game' เหมือนที่เคยเห็นนะครับ (พอเอาจริงก็มี assumption เพียบ จนก้าวขาไม่ออก)

ไม่ทราบเมื่อไหร่เราจะได้เห็นของจริงครับ

กราบขอบพระคุณ

P
มากๆนะครับ
  • ผมพยายามทำและวิ่งไปสู่การที่ให้คนไทยเริ่มทำ เริ่มใช้เอง แล้วพัฒนาไปสู่สิ่งที่ต้องการเอง ด้วยระเบียบวิถีของไทยเองครับ เพราะว่าต่างชาติเค้าก็ต้องมาถามคนไทยอยู่ดีครับ หากเราไปจ้างเค้ามาทำวิจัยให้เรา
  • ดังนั้นสิ่งที่ผมเน้นคือให้เกิดทีมวิจัยดีๆ ขึ้นมาแล้วนำไปสู่การใช้ได้จริงในอนาคต ให้มากที่สุดครับ เพราะปัญหาที่จะเกิดในอนาคตมันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆครับ
  • ผมอยากจะให้มีหลักสูตรทำกันจริงๆ จังๆ โดยเฉพาะเรื่องซอฟแวร์และการวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างเอกชนและนักวิจัย นักวิชาการ หลายส่วนต้องทำกันจริงๆ งบประมาณสนับสนุนการวิจัยผมมองว่า หากทำร่วมกับผู้ที่มีปัญหา น่าจะยั่งยืนที่สุด เพราะงบที่รัฐมีให้บางทีผลวิจัยอาจจะไม่ได้นำไปใช้จริงเท่าที่ควร แต่หากทำกับเอกชนผลงานเราต้องมีคุณค่ากับเค้า หากเกิดขึ้นก็จะมีความเชื่อมั่น เอกชนก็ไม่ต้องไปซื้อ Knowhow จากต่างชาติ
  • อีกอย่างเรื่องซอฟท์แวร์นี่ มันเป็นเหมือนธุรกิจ หากเค้าได้หากินกับเราแล้ว เค้าก็จะมาขูดเราตลอดไปครับ พูดง่ายๆ เค้าจะจูงเราให้เดินไปทางไหนก็ได้ครับ
  • อย่างวินโดวส์ที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้กันอยู่นะครับ ต่อไปอาจจะออกวินโดวส์อะไรก็ได้ เราก็ต้องเป็นเหมือนถั่วงอกครับ ที่เค้าจะเอาแสงไฟเลื่อนไปทางไหนก็ได้ครับ ยอดถั่วงอกก็จะวิ่งตามไปทางนั้น แต่ยังดีที่ถั่วงอกกระโดดไม่ได้ครับ
  • สำหรับตัวโมเดล ผู้เชี่ยวชาญคือ ดร.วัฒนา ครับ ผมเองทำได้ในเรื่องการแสดงผลจากตัวเลขให้เป็นสิ่งที่เห็นนะครับ ให้คนเข้าใจมากยิ่งขึ้นหรือว่า เสพข้อมูลได้ง่ายขึ้นนะครับ หาก MM5 ยังใช้ได้ดีอยู่ก็คงใช้ต่อไปได้ครับ ผมเองก็อยากให้คนไทยมีโมเดลของเราบ้างครับ เหมือนสึนามิที่พวกเราทำกันตอนที่เริ่มต้นทำเหมือน โยนหินลงน้ำจริงครับ ไม่เกี่ยวกับความลึกเลย ใส่เพิ่มเติมแต่งจนพอจะสู้กับชาวบ้านเค้าได้ ที่แน่ๆ คือต้องคำนวณให้เร็วครับ
  • สำหรับตัวโปรแกรมอาจจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมอีกเยอะครับ ผมก็เรียนรู้สิ่งนี้เป็นงานอดิเรก แต่อยากให้งานอดิเรกเกิดประโยชน์ครับ
  • พรุ่งนี้ (7 มีนาคม 2550) จะมีทีวีมาดูและทำงานในเยอรมันเหมือนกันครับ เกี่ยวกับโปรแกรมอีกตัวครับ ชื่อ VirtualCloud3D ผมนึกว่าจะจบตรงแค่ออกหนังสือพิมพ์
  • กราบขอบพระคุณมากเกี่ยวกับข้อคิดเห็นดีๆ และการให้กำลังใจครับ ผมกะว่าจะสื่อการสอนชวนเด็กไทยมาเขียนโปรแกรมกันครับ ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นไง คงต้องกลับไปก่อนครับ ถึงจะได้ทำให้เป็นรูปธรรมและต้องปรึกษาหลายๆ ฝ่ายก่อนครับ

กราบเรียนท่าน

P
ที่เคารพครับ
  • ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อคิดครับผม โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เล่นเกมส์ครับ แต่ผมจะศึกษาที่มาว่าแต่ละเกมส์เป็นไง แต่ผมจะมองถึงว่าเค้าสร้างกันอย่างไร คือไม่ได้คล้อยตามวิธีการเล่นแต่คิดไปถึงวิธีการสร้างครับ
  • เกมส์หน่ะครับ ใช้เทคโนโลยีและความรู้เยอะมากครับ แบบคณิตศาสตร์นี้เนื้อๆ เลยครับ แล้วแต่ว่าจะเป็นเกมส์ในด้านใด เกมส์เป็นศาสตร์แห่งการบูรณาการครับ แต่ในเชิงผู้สร้างนะครับ
  • ส่วนสิ่งที่พวกเราทำกันอยู่ อันนี้ก็ใช้อยู่ที่กรมอุตุนะคับ ลองคลิกเข้าไปเล่นๆ ได้ที่ลิงก์ด้านบนนะครับ http://www.marine.tmd.go.th  อันนั้นก็รายงานรายวันทำการอยู่นะครับ ส่วนสึนามิก็ได้รับการตอบรับดีเลยครับ ตอนนี้มีคนมาดาวโหลดโปรแกรมไปทดลองใช้กันหลายคนจากหลายๆ ประเทศด้วยครับ สนใจเข้าไปดูได้ที่ http://www.schuai.net/SiTProS และได้รับการยอมรับในงานประชุม IEEE ที่จะเกิดขึ้นที่ภูเก็ตปลายเดือนนี้นะครับ AMS2007
  • ผมถึงเน้นว่า การตีพิมพ์ในต่างชาติก็จำเป็นเพราะป้องกันไม่ให้คนอื่นมาเขกหัวเรา แล้วนำไปสู่การใช้จริงในบ้านเรา หรือเพื่อนร่วมโลกเป็นหัวใจหลักครับ
  • แต่สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ผมยังลงเต็มตัวไม่ได้ครับ เพราะต้องเอางานหลักให้เรียบร้อยก่อนครับ กลับไปคงลุยเต็มปอดครับ คงต้องติดตามดูและให้กำลังใจกันต่อไปครับ มีหลายๆ อย่างที่ผมวางแผนไว้ แต่คงไม่เกิดในช่วงชีวิตผมทั้งหมดหรอกครับ สิ่งที่ผมฝันคือ การรวมดินฟ้าอากาศ มารวมกับงานด้านเกษตร การเจริญเติบโตของต้นไม้ให้ได้ครับ ปัจจัยเยอะอย่างที่ ดร.แสวงว่านะครับ อีกอย่างเครืองมือวัดเราก็ต้องพัฒนาเองกันครับ บางทีใช้ไม่บรรทัดมาวัดความยาวสูงต่ำของต้นไม้นี่ มันเยอะมากๆครับ
  • ตอนผมทำงาน ป โท นะครับ มานั่งวัดต้นไม้ ผมทำต้นถั่วเหลือง เชียงใหม่ 60 ครับ แรกๆ ต้นเล็ก วัดไปเร็ว วัดได้เป็นสิบๆ ต้น หลังมาก ต้นถั่วเหลืองมันใหญ่ขึ้น ผมใช้เวลาต้นละชั่วโมงครับ วันๆ ไม่ต้องไปไหนเลยครับ ผมถึงมีมุกคุยกันเล่นๆ เวลาเพื่อนถามว่าไปไหน ผมบอกว่าไปวัด  เพื่อนงง ผมว่าไปวัดต้นถั่วเหลืองงานวิจัยนะครับ
  • งานแบบนี้มีคนทำมากไหมครับเมืองไทย ผมไปขอข้อมูล หายากมากครับ เพราะว่าไม่มีข้อมูล ทำให้เราต้องทำเองในสิ่งที่เราอยากได้ เพราะองค์กรอื่นเค้าสนใจแต่ว่าออกดอกเท่าไหร่ ออกฝักเข้าไหร่ ฝักละกี่เมล็ด แต่สำหรับผม ผมคิดว่าการจะมีฝักที่ดีได้นั้น ต้องมีสุขภาพในขั้น vegetative stage ที่ดีก่อน ถึงจะได้ reproductive state ที่ดี
  • ผมพยายามจะทำทุกอย่างให้เหนือคำว่าเกมส์ที่นำไปสู่ความเพลิดเพลินอย่างเดียวครับ ต้องติดตามและร่วมกันทำงานด้วยกันครับ
  • ผมก็ต้องการข้อมูลในเชิงลึกจาก ดร.แสวงด้วยครับ ในเรื่องว่าพืชแต่ละชนิดเป็นอย่างไร โตอย่างไร อะไรทำนองนี้ครับ และท่านผู้อื่นที่ทำทางด้านนี้เช่นกัน ดังนั้นผมพร้อมจะเปิดรับทุกความคิด ที่นำไปสู่การต่อยอดที่ดีครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจมากนะครับเรื่อง KM หรือตัวย่ออะไรมากมายเพราะยังใหม่กับผม แต่ตัวความหมายที่แท้จริงมัน ผมอาจจะทราบครับ เหมือนกับไม่รู้ว่าชื่อทฤษฏีเรียกกว่าอะไร แต่รายละเอียดในทฤษฎีเราพอรู้นะครับ
  • มีไรเล่าสู่กันฟังนะครับผม กราบขอบพระคุณมากๆ ครับ

เข้ามาอ่าน เชียร์ และ ชื่นชมครับ

  • สวัสดีครับพี่บ่าว
  • ผมยังเป็นหนี้แผ่นดินนี้อยู่มากครับ โดยเฉพาะพี่น้องคนไทยที่ส่งผมเรียนครับ ชีวิตนี้ไม่รู้จะทำงานให้ได้คุ้มค่าหรือเปล่าครับ แต่ยินดีจะทำเต็มที่ครับผม
  • ขอบคุณมากครับ
  • ตามมาขอบคุณ
  • อยากมีความรู้แบบนี้บ้าง
  • ตอนนี้ได้แต่การศึกษาและภาษาแค่นั้นเอง
  • น้องบ่าวเยี่ยมมากครับ
  • ขอบคุณพี่บ่าวด้วยเช่นกันครับผม
  • เราเอาความรู้มาแบ่งปันกันครับ ให้คำแนะนำ กำลังใจ ก็ถือว่าเป็นการช่วยกันสร้างสรรค์งานแล้วครับ
  • พี่ทำในส่วนการศึกษาและการถ่ายทอดได้ดีมากครับ เรื่องภาษาก็สำคัญครับผม
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม สำหรับมิตรภาพที่มิวันเสื่อมสลาย ตลอดไปครับ

สวัสดีครับคุณสมพร

โมเดลนี้ยอดเยี่ยมมากเลยครับ ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจจริงๆครับ

ขออนุญาตเรียนถามครับ

  1. พยากรณ์ล่วงหน้า สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้กี่วันครับ
  2. โมเดลตัวนี้ใช้การพยากรณ์จาก Database ที่เก็บไว้ หรือเป็นแบบ Real Time จากดาวเทียมครับ

ขออนุญาตต่อยอดนิดหนึ่งนะครับ

ในขณะที่เกษตรกรไทย รวมไปถึงชาวประมงนั้นต้องพึ่งฟ้าลมฝนเป็นอย่างมาก ผมมองว่าเทคโนโลยีตัวนี้ถ้าทำนายสภาพอากาศได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จะสามารถยกระดับการบริหารการจัดการด้านการเกษตรของประเทศไทยไปได้อย่างก้าวใหญ่ๆทีเดียวครับ

เมื่อเกษตรกรไม่จำเป็นต้องรอคอยด้วยความหวังว่าฝนจะตกหรือไม่ตก ถ้าสามารถพยากรณ์ได้ถึงหนึ่งปี ผมว่ารัฐสามารถใช้ประโยชน์จากโมเดลนี้ในการช่วยเกษตรกรวางแผนการปลูกพืชในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้พืชผลมีราคาดี รวมไปถึงการเตรียมการชลประทานและการเก็บน้ำสำหรับเกษตรกรครับ

แล้วถ้ายิ่งเรามองไปในสเกลระดับประเทศ โมเดลนี้นั้นคงช่วยให้ประเทศไทยสามารถวางแผนการจัดเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเยอะขึ้นครับ

มันก็เลยมาถึงคำถามที่สำคัญอีกคำถามครับว่า แล้วเทคโนโลยีตัวนี้จะราคาสูงมากขนาดไหน แล้วจะสามารถแพร่หลายไปถึงเกษตรกรได้หรือเปล่าครับ

ในโลกนี้ไม่มีอุตสาหกรรมที่โลว์เทคครับ มีแต่วิธีการที่โลว์เทค เท่านั้น

สวัสดีครับคุณ

P
ผมจะมาให้ข้อมูลต่อนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ สำหรับรายละเอียดและความเห็นเพิ่มเติมผมจะมาเขียนให้อีกทีนะครับ
  • เขียนเพิ่มไว้ได้เต็มที่ครับ สิ่งที่คุณได้เขียนมาล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
  • และจะมาตอบอีกรอบครับ ไปจัดการเรื่องทีวีมาสัมภาษณ์ก่อนนิดหน่อยครับ แล้วจะค่อยเอาผลมาเล่าครับ เป็นโปรแกรมอีกตัวครับ VirtualCloud3D แสดงภาพเมฆสามมิติครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอชื่นชมเป็นอย่างยิ่งครับ เป็นโปรแกรมที่เยี่ยมมากเลยครับ ภาคภูมิใจที่เรามีโปรแกรมที่มีประโยชน์ใช้งานจริงและแสดงต่อชาวโลกให้เห็นได้ว่าคนไทยเราก็ฝีมือไม่ด้อยกว่าชาติไหนในโลกครับ

ในฐานะโปรแกรมเมอร์ ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผล 3D Visualization ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบและความอดทนอย่างมากทีเดียวครับ

ต้องขอชื่นชมอีกครั้งครับ 

ต้องขอเล่าเพิ่มว่าครั้งหนึ่งผมเคยคิดจะเขียนโปรแกรมใช้ OpenGL นั่งเปิดคู่มืออยู่หลายวันสุดท้ายก็ล้มเลิกความคิดครับ
  • ดีใจและขอบคุณ
    P
    มากๆ นะครับผมสำหรับกำลังใจที่ดีและข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
  • ผมอยากจะเขียนให้แสดงผลสามมิติบนเว็บเหมือนกันครับ โดยให้ผู้ใช้เล่นกับข้อมูลและเรียนรู้กันทาง browser ครับแต่ติดข้อจำกัดหลายๆ อย่างครับ พยายามดูพวก vrml, java, java3d อยู่เหมือนกันครับ
  • ยังเคยคิดจะสร้าง browser เองเลยครับเพื่อสนองต่อตัณหาข้อนี้ หากมีอะไรแนะนำรบกวนอาจารย์ด้วยนะครับผม เผื่อมีอะไรดีๆ ให้เล่นครับ เพื่อคนจะได้เล่นกันต่อไป โดยเฉพาะโปรแกรมสึนามิอย่างง่ายที่ทำอยู่ครับ หากรันผ่านเว็บได้ก็คงจะเกิดประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ แต่ตัวข้อมูลมันยังใหญ่โตครับ เพราะต้องโหลดกริดพื้นที่เข้าไปด้วยครับ เนทความเร็วในไทยก็ยังต้องรออีกระยะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ
  • ผมนั่งต่อต้านในครั้งแรกอยู่หกเดือนครับ อ่านไปต่อต้านไปครับ เพราะต้องศึกษาเองครับ ตั้งแต่ ป โทครับ จนกว่าจะมาถึงตอนที่พอจะใช้ได้ แบบลองผิดลองถูกไปครับ
  • พอถึงวันหนึ่งจะเสถียรครับ แต่ก็ต้องยังศึกษาเพิ่มครับ เพราะตอนนี้มันวิ่งไปในระดับที่เขียนไปให้คำนวณบนการ์ดจอเพราะความเร็วจะเร็วกว่า ซีพียูเป็นสิบเท่าครับสำหรับการ์ดรุ่นๆ เทียบกับซีพียูรุ่นใหม่ๆครับ
  • ตอนนี้ยังเป็นเพียงแค่ผู้ตามอยู่เลยครับ แล้วศึกษาเอามาพัฒนาเป็นเครื่องมือของเราโดยให้งานวิ่งอยู่บน OpenGL อยากสอนเด็กไทยเหมือนกันครับ อาจจะเป็น community เล็กๆ ครับ เริ่มมาเขียนอะไรกันในเมืองไทย แล้วค่อยๆ ขยายไปสำหรับกลุ่มที่สนใจ
  • ผมชื่นชมในกลุ่มพัฒนาของอาจารย์นะครับ จากเมื่อก่อนผมเคยทำฐานข้อมูลเหมือนกันครับ แต่มาหลังๆ เดินมาอีกทางครับ มีอะไรให้สนใจเยอะทีเดียวครับในโลกนี้
  • ผมบอกตัวเองเสมอว่า เราไม่ได้อยากรวย แต่ทำไมตัวเราช่างกระหายและละโมภความรู้ขนาดนี้ ไม่รู้เป็นกิเลสหรือเปล่าครับ ความอยากรู้อยากเห็นนี่นะครับ

เพื่อการทำงานผ่าน browser ในช่วงนี้ผมได้ข่าวพูดถึง 3D ด้วย AJAX กันอยู่ แต่ไม่ได้มีโอกาสตามรายละเอียดครับ ถ้าเขียน AJAX แล้ว plot 3D ได้นี่จะน่าสนุกมากทีเดียว

แต่ดูเหมือนถ้าจะทำซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญอย่างการพยากรณ์อากาศนั้นเขียนด้วย Java จะได้รับความเชื่อถือในวงการมากที่สุด ผมคิดว่านะครับ

แต่ผมไม่ค่อยชอบ Java นะ ผมคิดว่ามันเทอะทะ สำหรับงานที่ผมทำ Ruby หรือ Python จะคล่องตัวกว่าครับ

ในเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ ผมอยากชักชวนอาจารย์พัฒนาแล้ว open source ครับ ผมเชื่อว่า model นี้จะสำคัญมากในอนาคต โดยเฉพาะซอฟต์แวร์สำคัญๆ นั้น ผมเชื่อว่าอีกไม่นาน open source จะเป็น requirement เลยครับ

ผมเชื่อว่าความรู้ช่วยให้เราหลุดพ้นครับ Knowledge brings freedom and awakening.

  • ขอบคุณมากครับ ดร.ธวัชชัย
  • กลับไปคงได้ทำอะไรสนุกๆ บ้างครับ ผมกะว่าอาจจะย้ายงานไปเน้นบนลีนุกซ์แล้วค่อย Open Source ครับ เพราะตอนนี้ที่ทำอยู่ไม่รู้ว่าคนเอา source ไปดูแล้วจะสับสนหรือเปล่าครับ และอีกอย่างตัวภาษาที่ใช้ผมใช้ Delphi ซึ่งเอาไปแล้วต้องไปคอมไพล์เองครับ เลยคิดว่าหากย้ายทุกอย่างลงไปอยู่บนลีนุกซ์หรือ C, C++ คงเหมาะกับคนที่จะพัฒนาต่อได้ดีกว่าครับ
  • คงต้องร่วมมือกัน เพราะผมอยากจะให้เด็กๆที่สนใจ พวก เกมส์ กราฟิคเหล่านี้มาลองเล่นกันดูครับ สร้างเป็น library กันแล้วใช้กันในสิ่งที่มีอยู่แล้วครับ แล้วค่อยต่อยอดขึ้นไปครับ
  • สำหรับจาวาก็คงเป็นทางออกหนึ่งครับ ผมเองก็ต่อต้านสำหรับโค๊ดของจาวาอยู่เหมือนกันครับ
  • สำหรับ Ruby ลองโหลดมาแล้วแต่ยังไม่เคยใช้เลยครับ จริงๆแล้ว Python มันเขียนสามมิติได้ด้วยครับ แต่บนเว็บผมไม่แน่ใจว่าต้องทำไงครับ
  • ขอบคุณมากนะครับผม คงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์อีกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท