นิทรรศการชีวิต “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ มหาวิทยาลัยอุบลฯ


เป็นงานที่ถ้าใครพลาดแล้วนับว่า “น่าเสียดาย” เป็นอย่างยิ่ง พอๆกับ มวยคู่เอกชิงแชมป์โลกประมาณนั้นเลยครับ เพราะเป็นการเปรียบมวยที่สูสี ยิ่งใหญ่ และสมศักดิ์ศรี ที่ปกติ มักเป็นข้อกังขาของกองเชียร์ทั้งสองฝ่าย ว่างานนี้ใครจะเหนือใคร
 เมื่อวานนี้ (๔ มีนาคม ๕๐) ผมได้ไปประชุมเริ่มงานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่จังหวัดอุบลราธานีในระดับแปลง และกลุ่มเกษตรกร รวม ๒ เรื่อง พร้อมๆกัน คือ
  1. โครงการจัดการน้ำเพื่อระบบเศรษฐกิจพอเพียง ในหัวข้อ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยเทคนิควิธีการต่างๆ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาและชุดความรู้ใหม่ เปรียบเทียบกัน
  2. โครงการพัฒนาการใช้วัสดุดินเหนียวเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการผลิตของดินทราย

 บังเอิญการประชุมเสร็จสิ้นเร็ว และทราบข่าวว่ามีการจัดนิทรรศการในงานเกษตรแห่งชาติ ในบริเวณมหาวิทยาลับอุบลราชธานี ก็เลยแวะไปดูพร้อมๆกับครูบาสุทธินันท์ และ นักศึกษาปริญญาเอกด้านเศรษฐกิจพอเพียงอีก ๒ ท่าน คือ อาจารย์อุทัย และอาจารย์หลง  

พอไปถึงงานก็พบว่ามีการประชันการจัดนิทรรศการกันทั้ง ๒ แบบ คือ แบบมีชีวิตจริง โดยกลุ่มสันติอโศก ที่เริ่มงานเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน มาเป็นเวลากว่า ๔ เดือน

 และ นักวิชาการ จากหน่วยงานต่างๆ ที่ปักหลักจัดทำแปลงสาธิตมากว่า ๒ เดือน

การจัดนิทรรศการที่มีชีวิตนี้เป็นการแช่งขันการทำงานอย่างสร้างสรรค์จริงๆ เนื่องจากได้ทราบว่า แต่เดิมก็เป็นการเตรียมการอย่าง ธรรมดา แต่วันนี้การเตรียมการที่เห็น ไม่ธรรมดา เลยครับ 

ทั้งสองแบบ มีการเตรียมการ วางแผน ทุ่มเท ระดมความคิด และศักยภาพทุกรูปแบบ และทุกระดับ บนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่เป็นดินทรายจัด และมีไม้พุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เพื่อให้เห็นว่าการทำงานตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวคิดของตนนั้นมีความละเอียด ชัดเจนอย่างไร จากฐานทรัพยากรที่ใกล้เคียงกันในแทบทุกด้าน และจัดอยู่กันคนละฟากถนนที่เปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนมากที่สุด เท่าที่เคยเห็นมา 

ทางกลุ่มสันติอโศกนั้นได้เน้น การเปลี่ยนแปลงแนวคิด การรวมกลุ่ม ความสามัคคี ความหลากหลายในรูปแบบ ที่มีการระดมกำลังมาจากทั่วประเทศไทย แบ่งเป็นกลุ่มๆ ย่อย บนพื้นที่ ๓๐๐ ไร่ ที่มีระบบการผลิตเพื่อการยังชีพ และทำบุญ และเน้นการแจกเอกสารขยายแนวคิดการทำการเกษตรตามแนวพุทธ ที่การยังชีพ และพึ่งตนเอง 

ในขณะที่ทางฝ่าย วิชาการ ก็ระดมพล เน้นการนำเสนอ เทคโนโลยี ที่สนับสนุน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพัฒนาระบบการผลิตที่สอดคล้องกับทรัพยากรและทำให้เกิด รายได้ ที่นำไปสู่เป้าหมาย เศรษฐกิจพอเพียง  

งานนี้เป็นงานที่ถ้าใครพลาดแล้วนับว่า น่าเสียดาย เป็นอย่างยิ่ง พอๆกับ มวยคู่เอกชิงแชมป์โลกประมาณนั้นเลยครับ เพราะเป็นการเปรียบมวยที่สูสี ยิ่งใหญ่ และสมศักดิ์ศรี ที่ปกติ มักเป็นข้อกังขาของกองเชียร์ทั้งสองฝ่าย ว่างานนี้ใครจะเหนือใคร งานนี้ถือว่าเริ่มต้นพร้อมกัน และงัดกลยุทธ์ทุกอย่างที่ตนมีมาโชว์อย่างสุดฝีมือ อย่างที่เห็นในรูปแหละครับ 

ผมไปดูมาแล้ว พบว่า ณ วันนี้ มีจุดเด่นทั้งสองฝ่ายอย่างก้ำกึ่งกันแบบที่ภาษาแข่งม้าว่าต้องดูรูปถ่าย และประมาณว่า เฉือนกันที่ปลายจมูก จริงๆ และวัดกันว่า ใครจะยืนระยะได้นานกว่ากันเท่านั้นแหละครับ 

ถ้าฝ่ายใดแผ่วแรงลงไปละก็ มีโอกาส พลาดทันที ครับ 

การพลาดมีทั้งในสนามแข่งที่มหาวิทยาลัยอุบลฯ และสนามระยะยาวที่แข่งกันในสังคมจริงๆอีกด้วย 

ผมจึงขอแนะนำและเชิญชวนท่านไปร่วมชม พลาดคราวนี้ ไม่ทราบเมื่อไหร่จะมีอีก

 จะรอการจัดงานแบนี้ในปีหน้า ก็ไม่ยุติธรรมแล้วครับ เพราะกลุ่มสันติอโศกก็จะยืนหยัดก้าวหน้าไปอีกไกล ที่ทางฝ่ายวิชาการที่มาตั้งต้นเตรียมการใหม่ ก็ยากจะตามไปเปรียบมวยได้ทัน

จะรอดูสนามอื่นก็ไม่ทราบจะมีอีกหรือเปล่า  

วันนี้ นิทรรศการที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงถือว่าน่าชมมากที่สุดครับ   

หมายเลขบันทึก: 81964เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2007 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อยากไปดูจังเลยครับอาจารย์ ว่าเค้าแข่งกันยังไง น่าสนุกตื่นเต้นลุ้นระทึก  คืออยากเห็นนวตกรรมใหม่ๆ ที่ผ่านการทดลองปฏิบัติกันมาได้สำเร็จแล้ว เห็นเค้าประชาสัมพันธ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตอยู่เหมือนกัน น่าสนใจครับ แล้วเค้าจัดงานกันจนถึงวันที่เท่าไรครับ  ไฮไลท์ สำคัญๆอาจารย์คิดว่าน่าจะอยู่ตรงประเด็นไหนเหรอครับ    (แฮ่ะๆๆ  หลอกถามอาจารย์  เพราะผมคงไปเยี่ยมชมงานได้ยากเพราะอยู่ไกลเหลือเกิน ได้แต่หวังเรียนรู้ผ่านบล็อกของอาจารย์นี่แหล่ะครับ)
เรียนอาจารย์แสวง เข้ามาร่วมชื่นชมค่ะ แต่ราณีไม่พลาดเสียทีเดียวค่ะ อย่างน้อยอาจารย์ก็นำภาพ และบรรยากาศมาบอกให้ร่วมชื่นชมไปด้วยค่ะขอบคุณนะค่ะ
  • ส-อ หนิงไปขอนแก่นอ่ะค่ะ  วิ่งคนละทางกับอาจารย์เลย  
  • ใช่ค่ะ  เสียดายแต่ไม่เสียใจ   ติดตามผ่าน blog ของอาจารย์ได้เยอะเลยค่ะ
  • น่าสนใจอยากไปจังเลยครับ
  • แนวทางปฏิบัติของชาวอโศกน่าศรัทธาเหลือเกินครับ

ขอแจมความคิดเห็นด้วยคนนะครับ

งานวันเกษตรแห่งชาติที่ ม.อุบลฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่
2-11 มีนาคม 2550 นับเป็นการประชันความพอเพียงระหว่างความพอเพียงแบบมีชีวิต และความพอเพียงแบบบอกคนอื่นให้พอเพียง ดังนั้น หากท่านมีโอกาสอย่าลืมอย่าพลาดนะครับ บรรยากาศที่สดๆ แบบนี้หาดูไม่ง่ายนัก

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

  • ขอบพระคุณมากเลยค่ะอาจารย์  กำลังสนใจงานนี้พอดี
  • ท่านอาจารย์ก็ได้นำมาให้เห็นภาพ..เห็นท่านครูบาพูดถึงชาวสันติอโศก
  • ว่าทำงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมในระยะเวลาเพียง 4  เืดือนเท่านั้นเอง
  • รู้สึกชื่นชมมากเลยค่ะ

เป็นโอกาสที่ดีมากเลยครับถ้าใครมีโอกาสไปชม เห็นการแข่งขันที่สร้างสรรค์มากๆ และอยากเห็นบ่อยๆ ครับ

ประเด็นก็คือความแตกต่างของแนวคิดในการทำงานเพื่อตนเอง และทำแทนคนอื่น ในรูปแบบคล้ายๆกับ KMธรรมชาติ กับ KM ที่มีผู้สนับสนุน นั่นแหละครับ

ผมอยากทราบว่าถ้าเรียนจบ เศรษฐกิจพอเพียง ที่มหาลัยอุบลราชธานี แล้ว พอจะสามารถได้โอกาสมีงานอะไร ทำบ้างคับ มีที่รับรองให้งานทำหรือเปล่าคับ ช่วยตอบ

ปัญหาผมด้วยคับ

ผมอยากทราบว่าถ้าเรียนจบ เศรษฐกิจพอเพียง ที่มหาลัยอุบลราชธานี แล้ว พอจะสามารถได้โอกาสมีงานอะไร ทำบ้างคับ มีที่รับรองให้งานทำหรือเปล่าคับ ช่วยตอบ

ปัญหาผมด้วยคับ ตอบเร็วๆนะคับ

ต้องขอโทษล่วงหน้านะครับ

คำถามที่ถามมานั้น

"แบบสุดขั้ว" จนตกขอบไปสู่การศึกษาเพื่อความเป็น ทาส แบบสุดๆ

ผมจึงจำเป็นต้องตอบแบบสุดขั้วเหมือนกันว่า

การ "จบ" หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงนั้น

  1. ท่านจะไม่มีโอกาสเป็นทาสใครเลย
  2. แม้จะทำงานกับใครในสภาพใด ท่านก็จะไม่มีทางยอมเป็นทาสใครง่ายๆ

ดังนั้น

ผู้รับรองที่แท้จริงคือ ตัวท่านเอง

ว่าท่านรู้จริงไหม

ถ้าไม่รู้จริง แสดงว่ายังไม่จบ

ถ้าจบ ท่านสามารถรับรองตัวเองได้เลย

เพราะท่านเท่านั้น ที่รู้ว่าท่านรู้ หรือ ไม่รู้

และมีผลงานที่เกิดกับท่านและหรือครอบครัวของท่าน หรือชุมชนของเองเป็นเครื่องพิสูจน์

ถ้าท่านทำแล้วยังคิดที่จะให้คนอื่นรับรองท่าน

นั่นคือ เริ่มคิดก็ผิดแล้ว

แสดงว่าท่านยังไม่พอเพียง

และยังไม่จบ

นี่คือการตอบชัดๆ แบบสุดขั้วและกระตุกหนวดเสือ

ถ้าถามมาแบบนิ่มๆ ผมก็ตอบแบบนิ่มๆ ครับ

สรุปว่า เมื่อท่านพอเพียง ท่านเท่านั้นที่รู้ และถ้าท่านไม่รู้ ก็ไม่มีใครรู้

ไม่มีใครรับรองท่านได้ จึงไม่ต้องมีใครรับรอง

และเมึ่อรู้ว่าท่าน "พอเพียง" แล้ว ท่านยังจะต้องการอะไรมากกว่า

  • ความพอเพียง และ
  • รู้ว่าทำอย่างไร จึงจะพอเพียง

ในชีวิตของท่านอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงจะเรียกว่าจบการศึกษาในวิชานี้

 

ถ้า ไม่เข้าใจ ถามมาใหม่นะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท