ม่วนซื่นโฮแซว กับผู้สูงอายุ ที่พื้นที่เขตอุบลฯ (8) เครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน


กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยนั้น ก็มีหน้าที่ที่จะดูแลเรื่อง สุขภาพปากและฟันของประชาชนโดยตรง

 

ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย ผู้อำนวยการกองทันตสาธารณสุข ร่วมบรรยายค่ะ ... ประเด็นก็คือ เรามาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ให้กับผู้สูงอายุได้อย่างไร

เพราะว่ากองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยนั้น ก็มีหน้าที่ที่จะดูแลเรื่อง สุขภาพปากและฟันของประชาชนโดยตรงละค่ะ ท่านได้นำเรื่องราวไว้ในหลายๆ ประเด็นก็คือ

  • มีข้อมูลระดับประเทศว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุทั่วประเทศประมาณ 10 ล้านคน และอีก 10 กว่าปีข้างหน้า คาดว่า ... จะมีจำนวนผู้สูงอายุอีกเท่าตัว ประมาณ 20% ก็จะเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของประชากร คล้ายๆ กับทางยุโรป เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เพราะว่าประชากรของเขาจะเป็นผู้สูงอายุ
  • ข้อเท็จจริง คือ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ก็จะมีสุขภาพที่เสื่อมโทรมลงไป เพราะฉะนั้นก็จะมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่แข็งแรงดี มีจำนวนหนึ่งที่ป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้อง และช่วยดูแล
  • ข้อดีของชมรมผู้สูงอายุ คือ เป็นสถานที่สำหรับการพูดคุยกัน ปรับทุกข์กัน กิจกรรมออกกำลังกาย
  • ในเรื่องของฟัน ถ้าต้องใส่ฟันเทียม (ตอนนี้เราขอปรับให้ใช้คำว่า ฟันเทียม แทนคำว่า ฟันปลอม เพราะว่า เราใช้คำพูดในเรื่องอื่นๆ กันว่า ตาเทียม ขาเทียม ลิ้นหัวใจเทียม และฟัน ... ปลอม ก็ขอปรับเป็นฟันเทียม) มีโครงการฟันเทียมพระราชทาน ซึ่งมีการสำรวจฟันทั่วประเทศ ทุก 5 ปี พบว่า ผู้สูงอายุไม่มีฟันเลยประมาณ 480,000 ราย แต่ที่ยังไม่ได้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก 300,000 ราย
  • และเรื่องของฟัน จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของการกิน เวลาไม่มีฟันก็พูดไม่ชัด ... จากพระราชดำรัสของในหลวง เมื่อปี 2547 ที่ว่า "เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง" เป็นเรื่องที่ตรงกับความเป็นจริงของผู้สูงอายุ
  • เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหา เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ... ก็ต้องมาคุยกัน ว่า ชมรมผู้สูงอายุกันเองจะช่วยกันเองได้อย่างไร ที่จะดูแลฟันผู้สูงอายุ และให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนอย่างไร ที่จะทำให้เรามีฟันใช้ไปได้นานๆ ด้วย
  • เครือข่ายที่มาจะสนับสนุนผู้สูงอายุได้ จะมีหลายๆ หน่วยงาน เช่น เทศบาล อบต. ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ รพ. หรือ สสจ. และให้โอก่าผู้สูงอายุได้ใช้ความสามารถ ที่จะขยายผลไปยังกลุ่มอื่นๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ พวกเราก็จะกลายเป็นผู้ที่มีสุขภาพปากและฟันที่ดีได้
  • ผมพบว่า ผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีศักยภาพ ท่านหนึ่ง เป็นครู ปรากฏว่า หลังเกษียณท่านทำงานมากกว่าก่อนเกษียณมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ที่สามารถใช้ศักยภาพ ที่สะสมความรู้ สะสมภูมิปัญญา มาช่วยเหลือกันได้ และทุกคนก็มีความพร้อม ทำให้เมื่อไปอยู่ที่ชมรม ก็จะมีความเข้าใจกัน และได้รับความช่วบเหลือ จากทั้ง อบต. เทศบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ที่พื้นที่ของเขตอุบลฯ มีผู้สูงอายุ 80 ปีฟันดี ที่มาเข้าร่วมประชุมกันในครั้งนี้ด้วย ก็คือ คุณตาเผย จาก ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ และ คุณตาสมพงษ์ และคุณตาโสภา จากอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • ถ้าชมรมผู้สูงอายุได้มาคุยกัน ในเรื่องของการดูแลช่องปาก และถ้ามีผู้สูงอายุมีตาที่ไม่ค่อยดี หูไม่ค่อยดี ก็จะคุยกันไปถึง มีรูปแบบอะไรไหมที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รู้เรื่องสุขภาพช่องปากด้วยสื่อต่างๆ ที่เอื้อกันระหว่างชมรม และหน่วยงานรอบๆ ที่จะเข้ามาช่วยกันสนับสนุน เพื่อให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ซึ่งร่วมไปกับขยายเข้าไปสู่เด็ก ด้วยความร่วมกัมือภาคีเครือข่าย ทั้งหลาย เช่น รพ. อบต. อบจ. ตลอดจนพระสงฆ์ และอื่นๆ
  • สุดท้ายคงอยู่ผู้สูงอายุเอง ที่อยู่ในชมรม ที่จะคิดจะทำกิจกรรมอย่างไร ที่จะทำให้ตัวเองมีความรู้มากขึ้น มีพฤติกรรมดีขึ้น ขยายผลไปในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และชมรมฯ จะมีส่วนไปช่วยให้เกิดการดูแลเด็กๆ ของเราให้มีสุขภาพฟันดีได้ และเครือข่ายจะมาช่วยเหลือ ร่วมมือกันอย่างไร ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ... ซึ่งผลประโยชน์สุดท้าย ก็จะทำให้สุขภาพปากและฟันของเราเป็นสุขภาพที่ดีไปตลอดชีวิต

 

หมายเลขบันทึก: 81874เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท