"จังหวัดหนองคาย"จังหวัดบูรณาการเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข รอบที่ 1 พบปะพูดคุย


“หนองคายเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก”

      

สำหรับการดำเนินการพัฒนาจังหวัดบูรณาการเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ในกลุ่มจังหวัดที่ 5 ผู้ประสานงาน คือนายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล และทีมงานนั้น ได้ดำเนินงานมาทั้งหมดรวม 4 จังหวัด ได้แก่ สตูล พัทลุง สระแก้ว หนองคาย ยังเหลืออีก 2 จังหวัดได้แก่ ภูเก็ต และ นครพนม บางจังหวัดดำเนินไปแล้ว 2 ครั้ง ค่อนข้างออกเป็นรูปธรรมที่ค่อนข้างชัดเจน รวมทั้งมีการทำงานเป็นระบบอย่างชัดเจน ได้ทีมประสานงานกลาง และคณะทำงานแล้ว ซึ่ง จังหวัดหนองคาย ทางทีมงาน ได้ลงเป็นครั้งแรก ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้มีการประสานงานล่วงหน้ากับทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ผ่านคุณไพโรจน์ จันทรมณี และ คุณรติวัน  พิสัยพันธ์ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย คุณไพโรจน์ เราเคยร่วมงานกันมาก่อน ไม่เป็นการยากนัก ที่ได้เพื่อนร่วมพัฒนา จังหวัดหนองคาย ประมาณ 9.00 ของวันที่ 27 กพ.50 ได้รับความเอื้อเฟื้ออย่างสูงจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคายสำหรับพาหนะ พาทีมงานไปลงพื้นที่ ทางทีมได้ถึงจังหวัดหนองคายตามกำหนดการพบผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เวลาประมาณ 15.00 น. อีกครั้งหนึ่งที่ประทับใจนักพัฒนาระดับจังหวัด ท่านทำงานพัฒนามาตลอด ไม่แปลกใจที่ท่านเข้าใจการพัฒนาจังหวัดบูรณาการได้อย่างไม่ยาก เนื่องจากการทำงานต้องมีความชัดเจน ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า ทางทีมงาน ศอ.สส และสาธารณสุขจังหวัดจะทำอะไร แตกต่างจากหน่วยงานอื่นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการทับซ้อนในการปฏิบัติงาน

     วันนั้นทางทีมงานเข้าพบผู้ว่าฯคนเก่งของจังหวัดหนองคาย พร้อมกัน 4 คนได้แก่คุณสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล คุณไพโรจน์ จันทรมณี คุณทิษฏยา โภชนา และดิฉัน เป็นการพบผู้ว่าที่นานที่สุดเท่าที่ทางทีมงานได้มีโอกาสพบผู้ว่าฯ จังหวัดอื่นๆ เป็นโอกาสอันเหมาะอย่างยิ่ง  เราพบว่า เราได้พบนักพัฒนาจริงๆ ของหนองคาย และไม่แปลกที่

      จังหวัดหนองได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Modern Maturity ว่าเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองติดอันดับสถานที่ดีที่สุดในโลก สำหรับผู้สูงอายุชาวอเมริกัน ที่แนะนำให้ผู้อ่านพิจารณาเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองนอกจากบ้านตนเอง จากการสำรวจแหล่งพักผ่อนทั้งหมด 40 แห่ง โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 12 ตัว ได้แก่ลักษณะภูมิอากาศ, ค่าครองชีพ, วัฒนธรรม, สาธารณูปโภค, สถานที่พัก, ระบบการขนส่ง, การบริการด้านสาธารณสุข, สภาพแวดล้อม, กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ, ความปลอดภัย, ความมั่นคงทางการเมือง และเทคโนโลยี สำหรับเมืองที่ได้รับการจัดอันดับ 10 เมืองแรก มีดังนี้ค่ะ

1. เมืองคอสตาเดลโซล ประเทศสเปน
2. เมืองแซงค์เทียร์ ประเทศอิตาลี
3. เมืองโพรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
4. เมืองบูแกต ประเทศปานามา
5. เมืองวิเซนต์ เกรนาดีน
6. เมืองเคาร์ตี้แคร์ ประเทศไอร์แลนด์
7. จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
8. เมืองครีท ประเทศกรีซ
9. เมืองแอมแบร์กริส เคร์     ประเทสเบลิตซ์
10. เมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย

   

        การจัดอันดับข้างต้นถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในแมกกาซีน Modern Maturity ฉบับเดือนพฤษภาคม มิถุนายน นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงอย่างมาก ให้แก่จังหวัดหนองคายและประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะดำเนินการประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคายผ่านสำนักงานสาขาในต่างประเทศ และร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน และภาครัฐในจังหวัด เพื่อรักษาความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด และคงไว้ซึ่งการเป็นแหล่งพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับพลเมืองผู้สูงอายุ แมกกาซีน Modern Maturity เป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์โดยสมาคมชาวอเมริกันผู้เกษียณอายุ อันเป็นสมาคมที่มิได้หวังผลกำไร แต่มุ่งเสริมสร้างความรู้ และประสบการณ์ให้แก่พลเมืองอเมริกัน อายุ 50 ปี ขึ้นไป  ที่มา : www.nongkhaicity.netสำหรับกระบวนของจังหวัดหนองคาย ไว้โอกาสหน้าจะเล่าให้ฟังต่อนะคะว่าเป็นอย่างไร แต่ประทับใจจังหวัดหนองคายที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ผสมกับ เมืองธรรมะอันดับ 3 รองจากนครศรีธรรมราช และพระนครศรีอยุธยา  

 

หมายเลขบันทึก: 81857เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณทีมงานศอสส ที่ให้โอกาสชาวหนองคาย ได้เป็น  เมือง....  "หนองคายอยู่เย็นเป็นสุข" เริ่มจากการสร้างความเป็น "เรา" เป็น "พวกเรา" ของชาวหนองคาย  โดยรวมแล้วคิดว่าน่าจะไม่ยากเกินควร

ภาคีหนองคาย เข้มแข็งมาก อยากให้คนหนองคาย มองทุกอย่างเป็นของพวกเรา เราจะทำอย่างไรกันต่อไป การขับเคลื่อนจังหวัดหนองคายอยู่เย็นเป็นสุข จะไม่ยากเลย ถ้า เรา พวกเราช่วยกันทำคะ

เป้่าหมายของ ศอสส อยากเห็นการร่วมกันทำงานพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ โดยมีคนในจังหวัดเป็นเจ้าของเรื่องอยู่แล้วครับ

จังหวัดไหนภาคีเข้มแข็ง เราก็ยิ่งดีใจครับ 

ความรู้ ที่ Capture ได้จากการอ่านบันทึกฉบับนี้

  1. การพัฒนาจังหวัดบูรณาการเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ศอ.สส. ให้การสนับสนุนโดย มีผู้ประสานและทีมงานสนับสนุนเป็นกลุ่มจังหวัด

  2. "บางจังหวัดดำเนินงานไปแล้ว 2 ครั้ง" คงจะหมายถึง การจัดการประชุมร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายต่าง ๆ โดยมีเจ้าภาพหลัก คือ สสจ.

  3. "ออกมาเป็นรูปธรรมที่ค่อนข้างชัดเจน" คือ มีทีมประสานงานกลาง, มีคณะทำงาน

  4. ทีมงาน ศอ.สส. และ สสจ. มีการเข้าพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า "จะทำอะไร? แตกต่างจากหน่วงานอื่นอย่างไร ? เพื่อไม่ให้มีการทับซ้อนในการปฏิบัติงาน"

จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางของ จ.ชุมพร ต่อไป ขอบคุณครับ.

    หลักการเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากหัวหน้าทีม คือ คุณสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ประสานงานกลุ่มจังหวัดที่ 5  ในกลุ่มจังหวัดที่ 5 ของเราค่อนข้างโชคดี ซึ่งก็แล้วแต่บริบทในการพัฒนาจังหวัดนั้นๆ เราได้ประสานกับทีมงานของ สสจ. เพราะเรามีเพื่อนเคยทำงานร่วมกันมาก่อน การพัฒนาจังหวัดบูรณาการเป็นงานเชิงรุก มีเงื่อนไขของเวลาในการขับเคลื่อน จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องหาภาคีร่วมจัด   ที่เรียกว่ามิตรภาพที่ปลายทาง อาศัยความศรัทธาและเชื่อมั่น ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน จึงทำงานสานต่อกันได้คะ

ถ้าอย่างไรลองไปติดตาม blog ของคุณสุทธิพงษ์ได้นะคะ ที่ http://gotoknow.org/blog/Network-Happily

       อันนี้ต้องขอขอบคุณ ศอ.สส มากกว่าที่ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ และจะไม่รู้เลยว่า โลกกว้างแค่ไหน ถ้าหากเราไม่ลงมือทำ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท